สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. เป็นตัวแทนของประชาชน ที่เข้าไปทำหน้าที่ ออกกฎหมาย และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา

ตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยปัจจุบัน กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรของไทย มีส.ส.จำนวนทั้งสิ้น 480 คน

ส.ส. บางส่วนอาจต้องไปทำหน้าที่รัฐมนตรี กรณีนี้สมาชิกภาพของส.ส.ผู้นั้นก็จะหมดไป ทำให้ตำแหน่งส.ส.ในสภาว่างลง ในกรณีที่เป็น ส.ส. ระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งซ่อม หรือหากเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ก็ให้เลื่อนลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อพรรคขึ้นมาเป็นส.ส.แทน เพื่อให้จำนวนส.ส.ทั้งหมดครบ 480 คน

เนื้อหา

[แก้] อำนาจ

  • อำนาจนิติบัญญัติ
  • อำนาจบริหาร (บางโอกาส เพราะผู้มีอำนาจบริหารอย่างแท้จริงคือ นายกรัฐมนตรีและ ค.ร.ม)

[แก้] หน้าที่

[แก้] การเลือกเข้าไปทำงาน

  1. พรรคการเมืองลงสมัคร รับหมายเลขพรรค
  2. พรรคการเมืองจัด ส.ส. ลงแข่งขันในระบบเขต 400 เขต (แบ่งตามจำนวนประชากร) และแบบสัดส่วนไม่เกิน 80 คน (เดิมเป็นแบบบัญชีรายชื่อ ไม่เกิน 100 คน)
  3. คณะกรรมการการเลือกตั้ง คัด กลั่นกรองผู้สมัครถึงสิทธิ์การเป็น ส.ส.
  4. ประกาศการเลือกตั้งทั่วไปทั่วประเทศ
  5. ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกา (X) บัตรสองใบ ใบละหมายเลข แล้วหย่อนในหีบบัตร
  6. ปิดหีบ นับคะแนน ผู้ชนะแบบแบ่งเขตแต่ละเขตเข้าสภา รวม 400 คน
  7. นับคะแนนบัญชีรายชื่อทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ เช่น พรรค ก. ได้ 519,000 เสียง และ พรรค ข ได้ 317,000 พรรค ก. จะได้คนที่ส่งชื่อ 51 คนเรียงตามลำดับ และถ้าเศษของ % ของพรรคไหนมากที่สุดพรรคนั้นก็ได้ไป และพรรค ข จะได้เพียง 31 คนเท่านั้นเพราะเศษไม่ถึง
  8. ประกาศผลการเลือกตั้ง
  9. พรรคที่มี ส.ส. มากที่สุดได้เป็นรัฐบาล เลือกพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อเพิ่มอำนาจในสภา โดยหากฝ่ายค้านมีไม่ถึง 125 คนจะตั้งกระทู้ถามได้ยาก
  10. ส.ส. ใหม่เข้ารายงานตัว และเข้านั่งเป็นส.ส. ในสภา ดำรงตำแหน่งไปสี่ปีหรือจนกว่าจะประกาศยุบสภา

[แก้] ข้อมูลอื่นๆ

คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ม.106)

  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
  3. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เว้นแต่เคยเป็น ส.ส. หรือ ส.ว.
  4. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน
  5. ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตรับเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะหนึ่งลักษณะใด ดังต่อไปนี้
    • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป้นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัคร
    • เคยเป็น ส.ส. ของจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
    • เป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดนั้น
    • เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัคร เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
    • เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัคร เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี

ลักษณะต้องห้าม (ม.109)

  1. ติดยาเสพติดให้โทษ
  2. เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี
  3. เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ตาม ม.106 คือ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช
  4. หรืออยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
  5. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
  6. เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุก ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้ทำโดยประมาท
  7. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
  8. เคยต้องคำพิพากษา หรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
  9. เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมือง
  10. เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  11. เป็นสมาชิกวุฒิสภา
  12. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น
  13. เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
  14. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  15. เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งและยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง

[แก้] ดูเพิ่ม