พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Charles II of England.jpeg
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
ราชวงศ์ ราชวงศ์สจวต
ระยะครองราชย์ ค.ศ. 1649ค.ศ. 1651 (สกอตแลนด์)
ค.ศ. 1660ค.ศ. 1685 (อังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์)
รัชกาลก่อนหน้า (สมัยสาธารณรัฐอังกฤษ)
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Charles II of England) (29 พฤษภาคม ค.ศ. 16306 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชวงศ์สจวตของราชอาณาจักรอังกฤษ, ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และ ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และ สมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย ทรงเสกสมรสกับพระราชินีแคทเธอรีน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651[1] และ อังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660[2] ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวท์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินและผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย อังกฤษจึงเข้าสู่สมัยไร้กษัตริย์ (English Interregnum) แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระห์ และทรงทำพิธีบรมราชาภิเศกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ในส่วนที่เป็นของสเปน

หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาร์ลส์ให้กลับมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “สมัยฟื้นฟูราชวงศ์” พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ และ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660

รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านเพียวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเร็นดอน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาร์ลส์ ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่เป็นระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าพระเจ้าชาร์ลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาร์ลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่างๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชประกาศการผ่อนผัน (Royal Declaration of Indulgence) ในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679

ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การคบคิดพ็อพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลยกเว้นต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุคแห่งยอร์คพระอนุชาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุคแห่งยอร์คขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การคบคิดรายเฮาส์” (Rye House Plot) ที่จะปลงพระองค์เองและดยุคแห่งยอร์คในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร

พระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงมีพระราชโอรสธิดากับพระราชินีแคทเธอรีนแห่งบราแกนซา เพราะพระราชินีแคทเธอรีนทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มเพียวริตัน

เนื้อหา

[แก้] เบื้องต้น

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงยืนข้างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พระราชบิดา พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียทรงอุ้มดยุคแห่งยอร์ค พระอนุชา
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เมื่อทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์โดย วิลเลียม ดอบสัน (William Dobson) ราว ค.ศ. 1642 หรือ ค.ศ. 1643

พระเจ้าชาร์ลส์ สจวตพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสกอตแลนด์และไอร์แลนด์และสมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังเซนต์เจมส์เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 และทรงรับศีลจุ่มที่ชาเปลรอยัลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนโดยบาทหลวงอังกลิคันวิลเลียม ลอดผู้ขณะนั้นเป็นบาทหลวงแห่งลอนดอน และทรงได้รับการเลี้ยงดูโดยแมรี แซ็ควิลล์ เคานเทสแห่งดอร์เซ็ท (Mary Sackville, Countess of Dorset) ผู้เป็นโปรเตสแตนต์ แต่ก็ทรงมีพ่อแม่ทูลหัวที่เป็นโรมันคาทอลิกที่เป็นพระประยูรญาติทางพระมารดาซึ่งรวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสและพระราชมารดาของพระเจ้าหลุยส์พระพันปีมารี เดอ เมดิชิ[3] พระองค์ทรงได้รับตำแหน่งดยุคแห่งคอร์นวอลล์และดยุคแห่งรอธเซย์ (Duke of Rothesay) เมื่อประสูติในฐานะที่ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โตของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีพระชนมายุได้ 8 พรรษาก็ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์แต่มิได้มีพิธีแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ[4]

ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1640 เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระราชบิดาทรงต่อสู้กับกองทัพของฝ่ายรัฐสภาและกลุ่มเพียวริตันในสงครามกลางเมืองอังกฤษ เจ้าชายชาร์ลส์ทรงติดตามพระราชบิดาในยุทธการเอ็ดจฮิลล์ เมื่อมีพระชนมายุได้ 14 พรรษาก็ทรงเข้าร่วมในการรณรงค์ใน ค.ศ. 1645 และทรงได้รับแต่งตั้งแต่ในนามให้เป็นผู้บังคับบัญชาทหารแห่งเวสต์คันทรี[5] ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1646 พระราชบิดาก็พ่ายแพ้สงคราม เจ้าชายชาร์ลส์จึงเสด็จหนีจากอังกฤษเพื่อความปลอดภัย โดยเสด็จไปหมู่เกาะซิลลีย์ก่อนที่จะเสด็จต่อไปเจอร์ซีย์ และในที่สุดก็ไปถึงฝรั่งเศสเพื่อไปสมทบกับพระราชมารดาประทับลี้ภัยอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว พร้อมกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา[6]



ในปี ค.ศ. 1648 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 เจ้าชายชาร์ลส์ก็ทรงย้ายไปเฮกในเนเธอร์แลนด์ไปประทับกับพระพระเชษฐภคินีเจ้าหญิงแมรีและพระสวามีวิลเลียมที่ 2 เจ้าชายแห่งออเรนจ์เพราะทรงเชื่อว่าทั้งสองพระองค์อาจจะทรงสนับสนุนฝ่ายนิยมกษัตริย์มากกว่าพระญาติทางฝรั่งเศส[7] เมื่อทรงพยายามยกกองทัพไปช่วยพระราชบิดาแต่กองทัพภายใต้การนำของพระองค์ไปถึงสกอตแลนด์ไม่ทันที่จะสมทบกับกองกำลัง “Engagers” ที่สนับสนุนพระราชบิดาที่นำโดยเจมส์ แฮมมิลตัน ดยุคแห่งแฮมมิลตันที่ 1 ก่อนที่จะพ่ายแพ้ในยุทธการเพรสตันในปี ค.ศ. 1648[8] ระหว่างที่ประทับอยู่ที่กรุงเฮกเจ้าชายชาร์ลส์ทรงมีความสัมพันธ์กับ ลูซิ วอลเตอร์ (Lucy Walter) อยู่พักหนึ่งผู้ต่อมาถึงกับอ้างว่าได้เจ้าชายชาร์ลส์ทรงแต่งงานอย่างลับๆ ด้วย[9] ทรงมีพระโอรสกับลูซิ วอลเตอร์คนหนึ่งคือเจมส์ ครอฟต์ส (ต่อมาเป็นเจมส์ สกอตต์ ดยุคแห่งมอนม็อธที่ 1 ผู้ต่อมากลายมามีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของอังกฤษ

พระราชบิดาของพระองค์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงถูกจับกุมในปี ค.ศ. 1647 ทรงหลบหนีจากการคุมขังได้แต่ก็มาทรงถูกจับอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1648 แม้ว่าเจ้าชายชาร์ลส์จะทรงพยายามหาทางช่วยทางการทูตในการปลดปล่อยพระองค์แต่ก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ก็ทรงถูกปลงพระชนม์ในข้อหากบฏต่อแผ่นดินเมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม ค.ศ.1649 หลังจากนั้นอังกฤษก็เข้าสู่สมัยสาธารณรัฐ

[แก้] ปัญหาและการหลบหนี

ทันทีที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เสด็จสวรรคตรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ก็ประกาศแต่งตั้งให้เจ้าชาย ชาร์ลส์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 แต่ทรงต้องยอมรับข้อแม้บางประการ พระเจ้าชาร์ลส์ทรงจำยอมตามเงื่อนไขของรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ใน สนธิสัญญาเบรดา (Treaty of Breda) ในปี ค.ศ. 1650 ที่สนับสนุน “Solemn League and Covenant” ในการใช้การปกครองโดยสถาบันเพรสไบทีเรียน (Presbyterian polity) ทั่วดินแดนอังกฤษ เมื่อเสด็จมาถึงสกอตแลนด์ในวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1650 พระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงตกลงตามข้อสัญญาอย่างเป็นทางการ แม้ว่าการละทิ้งการปกครองโดยสถาบันเอพิสโคพัล (Episcopal polity) จะทำให้ทรงเป็นที่นิยมในสกอตแลนด์แต่ก็ทำให้ความนิยมพระองค์ในอังกฤษลดถอยลง แต่ต่อมาพระองค์เองก็ทรงไม่พอพระทัยกับ “ความหน้าไหว้หลังหลอก” ของ กลุ่มคัฟเวอร์นันเตอร์ (Covenanters)[10]

พระเจ้าชาลส์

เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1650 กลุ่มคัฟเวอร์นันเตอร์ก็พ่ายแพ้ในยุทธการดันบาร์ต่อกองทหารที่มึกำลังน้อยกว่าที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ฝ่ายสก็อตถูกแบ่งเป็นสองฝ่าย -- ฝ่าย “Engagers” และฝ่ายเพรสไบทีเรียน “คัฟเวอร์นันเตอร์” ซึ่งบางครั้งก็สู้กันเอง -- พระเจ้าชาร์ลส์ทรงไม่พอพระทัยในกลุ่มคัฟเวอร์นันเตอร์หนักขึ้นจนต้องทรงพยายามทรงม้าหลบหนีไปสมทบกับฝ่าย “Engagers” ในเดือนตุลาคมในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า “การเริ่มต้น” แต่เพียงสองวันต่อมากลุ่มเพรสไบทีเรียนก็ตามมาไปนำพระองค์กลับมา[11] แต่จะอย่างไรก็ตามสกอตแลนด์ก็ยังเป็นหัวใจสำคัญในโอกาสที่จะกู้ราชบัลลังก์อังกฤษคืน พระเจ้าชาร์ลส์ทรงเข้าพิธีบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ที่สโคนเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 เมื่อทรงเห็นว่ากองทัพของครอมเวลล์เป็นปัญหาต่อความมั่นคงของสกอตแลนด์พระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงตัดสินพระทัยยกกองทัพไปรุกรานอังกฤษ แม้ว่าชาวสกอตและฝ่ายนิยมกษัตริย์หลายคนจะไม่ยอมร่วมมือ พระองค์ทรงนำทัพลงอังกฤษแต่ก็ไปทรงพ่ายแพ้ที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 หลังจากนั้นก็ทรงต้องหลบหนีและครั้งหนึ่งทรงไปซ่อนพระองค์อยูในโพรงต้นโอ้คที่คฤหาสน์บอสโคเบล (Boscobel House) พระเจ้าชาร์ลส์ทรงหลบหนีอยู่หกอาทิตย์ก่อนที่ออกจากอังกฤษได้ และทรงไปขึ้นฝั่งนอร์มังดีในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม แม้ว่าจะมีค่าพระเศียรถึง £1,000 และการปลอมพระองค์หลบหนีก็ไม่ใช่ง่ายๆ เพราะทรงสูงกว่า 6 ฟุต (185 ซม.) แต่ก็ไม่มีผู้ใดทรยศส่งตัวพระองค์ให้ฝ่ายรัฐสภา[12][13]

ทางด้านอังกฤษการแต่งตั้งครอมเวลล์ให้เป็น“เจ้าผู้พิทักษ์” ของเกาะอังกฤษก็เท่ากับเป็นการทำให้อังกฤษตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้เผด็จการทหาร เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงมีรัฐบาลสนับสนุนพระองค์ก็ไม่ทรงมีทางที่หาทุนพอที่จะต่อต้านรัฐบาลของครอมเวลล์อย่างมีประสิทธิภาพได้ แม้ว่าจะทรงมีความเกี่ยดองกับเจ้าหญิงแมรีแห่งออเรนจ์และพระราชมารดาพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย แต่ทั้งเนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศสก็หันมาเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลของครอมเวลล์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1654 ซึ่งทำให้ทรงต้องหันไปขอความช่วยเหลือจากสเปนซึ่งขณะนั้นปกครองเนเธอร์แลนด์ตอนใต้ (Southern Netherlands) พระเจ้าชาร์ลส์ทรงพยายามรวบรวมกองทัพอีกแต่ก็ไม่ทรงประสบความสำเร็จเพราะการขาดทุนทรัพย์[14]

[แก้] การฟื้นฟูราชวงศ์

ดูบทความหลักที่ การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1660

หลังจากครอมเวลล์ถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658 ในระยะแรกก็ดูเหมือนว่าโอกาสในการที่พระเจ้าชาร์ลส์จะได้กลับมาครองราชบัลลังก์อังกฤษก็เหมือนจะไม่มีเพราะริชาร์ด ครอมเวลล์สืบตำแหน่งในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” ต่อจากบิดา แต่ริชาร์ดไม่มีสมรรภาพทั้งทางการปกครองและทางทหารในที่สุดก็ต้องลาออกในปี ค.ศ. 1659 รัฐบาลผู้พิทักษ์จึงถูกยุบเลิก หลังจากนั้นบ้านเมืองก็เกิดความระส่ำระสาย จนจอร์จ มองค์ ดยุคแห่งอาลเบอมาร์ลข้าหลวงแห่งสกอตแลนด์มีความหวาดกลัวว่าบ้านเมืองจะกลายเป็นอนาธิปตัย[15] มองค์จึงยกทัพลงมานครหลวงลอนดอนและบังคับให้รัฐสภารัมพ์ (Rump Parliament) เรียกสมาชิกรัฐสภายาวกลับมาทำหน้าที่ตามเดิมยกเว้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1648 ระหว่าง การยึดรัฐสภาของไพรด์ (Pride's Purge) ในที่สุดรัฐสภายาวก็ยุบตัวเองหลังจากที่อยู่ในสมัยประชุมมากว่ายี่สิบปีโดยไม่มีการปิดประชุม และเปิดการเลือกตั้งทั่วไป[16] ก่อนที่รัฐบาลจะลาออกก็ได้ออกกฎการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเพื่อที่จะพยายามให้ได้เสียงข้างมากเป็นฝ่ายเพรสไบทีเรียน[17]

ถึงจะมีกฏเกี่ยวกับผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ก็ไม่มีผู้สนใจปฏิบัติตามข้อจำกัดที่มาจากฝ่ายนิยมกษัตริย์เท่าใดนัก ผลของการเลือกตั้งของสมาชิกรัฐสภาระหว่างฝ่ายกษัตริย์นิยมและฝ่ายสภานิยม (Parliamentarian) จีงมีจำนวนพอๆ กัน และทางศาสนาระหว่างอังกลิคันและเพรสไบทีเรียนก็เช่นกัน[17] สภาใหม่ที่รู้จักกันในชื่อรัฐสภาคอนเว็นท์ชั่นเริ่มสมัยประชุมแรกเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1660 และไม่นานหลังจากนั้นก็ได้ข่าวการลงพระนามของพระเจ้าชาร์ลส์ในสนธิสัญญาเบรดาที่ในข้อหนึ่งระบุว่าจะทรงพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ที่เคยเป็นปฏิปักษ์ต่อพระราชบิดา รัฐสภาอังกฤษจึงอนุมัติให้ประกาศพระเจ้าชาร์ลส์เป็นพระมหากษัตริย์และอัญเชิญพระองค์กลับมาจากการลี้ภัย พระองค์ทรงได้รับข่าวนี้ที่เบรดาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1660[18] ส่วนในไอร์แลนด์ก็มีการเรียกประชุมตอนต้นปีและในวันที่ 14 พฤษภาคม ไอร์แลนด์ก็ประกาศให้พระเจ้าชาร์ลส์เป็นกษัตริย์ของราชอาณาจักรไอร์แลนด์[19]

พระเจ้าชาร์ลส์จึงเสด็จกลับอังกฤษและเสด็จขึ้นฝั่งที่โดเวอร์เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จมาถึงลอนดอนเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นวันแรกของ “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” และเป็นวันเดียวกับวันครบรอบวันพระราชสมภพครบ 30 พรรษา แม้ว่าพระเจ้าชาร์ลส์และรัฐสภาจะให้อภัยโทษแก่ผู้สนับสนุนครอมเวลล์ใน “พระราชบัญญัติการให้อภัยโทษแก่ผู้คิดร้ายต่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1” (Act of Indemnity and Oblivion) แต่ไม่มีผลต่อผู้ปฏิปักษ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ 50 คน[20] ในที่สุด 9 คนในบรรดาผู้มีชื่อในรายนามผู้ปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1ก็ถูกประหารชีวิต[21] โดยการแขวนคอ ควักใส้และผ่าสี่ซึ่งเป็นบทการลงโทษฐานกบฏต่อแผ่นดิน ผู้อื่นในรายการถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือถูกปลดจากหน้าที่ราชการตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่ตายไปแล้วก็ถูกขุดร่างขึ้นมาลงโทษซึ่งรวมทั้งร่างของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์, เฮนรี ไอร์ตัน (Henry Ireton) และจอห์น แบรดชอว์ (John Bradshaw)[22]

พระเจ้าชาร์ลส์ทรงยอมเลิกระบอบศักดินา (Feudalism) ต่างๆ ที่ถูกนำกลับมาใช้โดยพระราชบิดา เพื่อเป็นการตอบแทนรัฐบาลก็อนุมัติค่าใช้จ่ายให้แก่พระองค์เป็นจำนวน £1,200,000 ต่อปี ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากการเก็บภาษีศุลกากรที่เก็บมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐบาล แต่เงินจำนวนที่ว่านี้ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายของพระองค์จนตลอดรัชสมัย จำนวนดังกล่าวเป็นจำนวนที่ระบุไว้ว่าเป็นจำนวนสูงสุดเท่าที่จะทรงเบิกได้จากรัฐบาล แต่ตามความเป็นจริงแล้วรัฐบาลมีรายได้น้อยกว่าจำนวนที่ระบุมากซึ่งเป็นการทำให้เกิดการสร้างหนี้อย่างมหาศาลซึ่งเป็นผลให้รัฐบาลต้องพยายามหากลวิธีต่างๆ ในการหารายได้เพิ่มรวมทั้งการเรียกเก็บภาษีท้องถิ่น ภาษีที่ดิน และ ภาษีปล่องไฟ (Chimney money) เป็นต้น

ในครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1660 ความสุขของพระเจ้าชาร์ลส์ในการที่ได้กลับมาครองราชบัลลังก์ก็ต้องมาหยุดชะงักลงเมื่อเฮนรี สจวต ดยุคแห่งกลอสเตอร์ (Henry Stuart, Duke of Gloucester) พระอนุชาองค์สุดท้องและเจ้าหญิงแมรีพระขนิษฐามาสิ้นพระชนม์ไม่นานจากกันนัดด้วยฝีดาษ ในขณะเดียวกันแอนน์ ไฮด์บุตรสาวของอัครมหาเสนาบดีเอ็ดเวิร์ด ไฮด์ก็ประกาศว่ามีครรภ์กับเจ้าชายเจมส์พระอนุชาและทั้งสองได้แต่งงานกันอย่างลับๆ เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ผู้ไม่ทราบทั้งเรื่องการแต่งงานและการมีครรภ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอิร์ลแห่งแคลเร็นดอน (Earl of Clarendon)[23]

รัฐสภาคอนเว็นท์ชั่นถูกยุบเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1661 รัฐสภาที่สองของรัชสมัยก็เริ่มสมัยประชุม รัฐสภานี้เรียกว่า “รัฐสภาคาวาเลียร์” เพราะสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้นิยมกษัตริย์และเป็นอังกลิคัน จุดหมายก็เพื่อเพิ่มความมั่นคงและความมีอิทธิพลของอังกลิคันโดยการผ่านพระราชบัญญัติหลายฉบับ รวมทั้งฉบับสำคัญสี่ฉบับที่ได้แก่:

พระราชบัญญัติการชมรมและพระราชบัญญัติห้าไมล์บังคับใช้ตลอดรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ พระราชบัญญัติทั้งสี่เรียกรวมกันว่า “ประมวลกฎหมายแคลเร็นดอน” ตามชื่อเอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเร็นดอนแม้ว่าแคลเร็นดอนจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกพระราชบัญญัติก็ตามและนอกจากนั้นก็ยังปราศัยต่อต้านพระราชบัญญัติห้าไมล์ด้วย[25]

[แก้] กาฬโรคและเพลิงไหม้

ดูบทความหลักที่ โรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน และ เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน

ภาพวาดเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666 โดยจิตรกรนิรนามแสดงเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในช่วงเย็นวันอังคาร โดยมองจากเรือที่อยู่ใกล้ๆ อู่เรือแคธารีน หอคอยลอนดอนอยู่ด้านขวาและสะพานลอนดอนอยู่ด้านซ้าย ในภาพจะเห็นมหาวิหารเซนต์พอลอยู่ท่ามกลางวงล้อมของเปลวเพลิงที่สูง

ในปี ค.ศ. 1665 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงต้องประสพวิกฤติกาลสองอย่าง: โรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตในช่วงที่สูงที่สุดในอาทิตย์ที่ 17 กันยายนถึง 7,000 คน[26] พระเจ้าชาร์ลส์และครอบครัวเสด็จหนีการระบาดของโรคจากลอนดอนไปประทับที่ซอลท์สบรีทางใต้ของอังกฤษในเดือนกรกฎาคม; ส่วนรัฐสภาย้ายไปตั้งอยู่ที่อ็อกฟอร์ด[27] ความพยายามต่างๆ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะหยุดยั้งการเผยแพร่ของโรคระบาดล้มเหลว โรคก็ยังระบาดอย่างไม่หยุดยั้งต่อไป[28]จนกระทั่งเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่

นอกไปจากการระบาดของกาฬโรคแล้วลอนดอนก็ยังประสพความเสียหายอย่างหนักจากเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่เป็นที่รู้จักกันว่า “เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน” ที่เริ่มเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1666 ซึ่งเป็นการหยุดยั้งการระบาดของกาฬโรคไปในตัว ไฟใหม้บ้านเรือนไปทั้งสิ้น 13,200 หลังและวัดอีก 87 วัดรวมทั้งมหาวิหารเซนต์พอล[29] พระเจ้าชาร์ลส์และพระอนุชาเจมส์ทรงบริหารและช่วยในการหยุดยั้งเพลิงไหม้ด้วยพระองค์เอง ประชาชนกล่าวโทษว่าโรมันคาทอลิกมีส่วนในการทำให้เกิดเพลิงไหม้[30] แต่อันที่จริงแล้วสาเหตุที่แท้จริงไฟเริ่มที่ร้านอบขนมปังที่ซอยพุดดิง[29]

[แก้] นโยบายการต่างประเทศและการอาณานิคม

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1662 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงเสกสมรสที่มหาวิหารพอร์ทสมัธกัยเจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งบราแกนซาจาก[4]โปรตุเกส ผู้ที่ทรงมากับสินสมรสที่ประกอบด้วยอาณานิคมบอมเบย์ และ ทานเจียร์ ในปีเดียวกันพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงขายดังเคิร์คซึ่งขัดกับความนิยมโดยทั่วไปเพราะดังเคิร์คเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ที่จุดยุทธศาตร์สำคัญของอังกฤษบนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป แต่เป็นเมืองที่ต้องทรงเสียค่าบำรุงรักษาสูง[31]ที่ต้องทรงจ่ายให้แก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสเป็นจำนวน £375,000 ต่อปี[32]

เพื่อเป็นการแสดงความขอบใจในการที่ขุนนางบางคนช่วยให้พระองค์ได้ราชบัลลังก์คืนพระเจ้าชาร์ลส์ทรงพระราชทานดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือในบริเวณที่ขณะนั้นเรียกว่าแคว้นแคโรไลนา (Province of Carolina) ที่ขนานนามตามพระราชบิดาให้แก่ขุนนางแปดคนที่รู้จักกันในชื่อ “Lords Proprietors” ในปี ค.ศ. 1663

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เสียผลประโยชน์ทางการค้าเป็นอันมากจากการที่อังกฤษบังคับใช้พระราชบัญญัติการใช้เรือในการค้าขายกับอาณานิคม (Navigation Acts) ที่ออกในปี ค.ศ. 1650 ที่จำกัดการใช้ต่างประเทศในการค้าขายกับอาณานิคม ซึ่งทำให้อังกฤษมีเอกสิทธิในการใช้เรือของตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่หนึ่ง (First Anglo-Dutch War) Dutch War ระหว่างปี ค.ศ. 1652 ถึงปี ค.ศ. 1654 ส่วนสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง (Second Anglo-Dutch War) ระหว่างปี ค.ศ. 1665 ถึงปี ค.ศ. 1667 เริ่มด้วยการที่อังกฤษพยายามขยายอำนาจในดินแดนที่เป็นของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ในทวีปอาฟริกาและทวีปอเมริกาเหนือ ความขัดแย้งเริ่มด้วยดีสำหรับฝ่ายอังกฤษโดยการยึดนิวอัมสเตอร์ดัม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์กเพื่อเป็นเกียรติแก่พระอนุชาเจมส์ผู้ทรงมีตำแหน่งเป็น “ดยุคแห่งยอร์ค”) และชัยชนะในยุทธการโลว์สตอฟต์ (Battle of Lowestoft) แต่ในปี ค.ศ. 1667 ฝ่ายเนเธอร์แลนด์โจมตีอังกฤษในการจู่โจมที่เม็ดเวย์ (Raid on the Medway) โดยที่ฝ่ายเนเธอร์แลนด์ล่องเรือขึ้นแม่น้ำเทมส์ขึ้นมาตรงจุดที่กองเรืออังกฤษเทียบ เรือเกือบทั้งหมดถูกล่มยกเว้นแต่เรือธง “เรือรบหลวงพระเจ้าชาร์ลส์” (HMS Royal Charles) ที่ถูกนำกลับไปตั้งแสดงที่เนเธอร์แลนด์[33] สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สองจบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเบรดา (Treaty of Breda (1667)) ในปี ค.ศ. 1667

หลังจากแพ้สงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สองพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงใช้เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลแห่งแคลเร็นดอนเป็นแพะรับบาปโดยทรงปลดจากตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี[34] และตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดินซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต แคลเร็นดอนจึงหลบหนีไปฝรั่งเศส อำนาจการเมืองจึงตกไปเป็นของกลุ่มนักการเมืองห้าคนที่เรียกว่า องคมนตรีคาบาล (Cabal Ministry) ที่ประกอบด้วยทอมัส คลิฟฟอร์ด บารอนคลิฟฟอร์ดที่ 1 (Thomas Clifford, 1st Baron Clifford), เฮนรี เบ็นเน็ท เอิร์ลแห่งอาร์ลิงตันที่ 1 (Henry Bennet, 1st Earl of Arlington), จอร์จ วิลเลียรส์ ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 2, แอนโทนี แอชลีย์ คูเปอร์ เอิร์ลแห่งชาฟส์บรีที่ 1 (Anthony Ashley Cooper, 1st Earl of Shaftesbury) และ จอห์น เมทแลนด์ ดยุคแห่งลอเดอร์เดลที่ 1 (John Maitland, 1st Duke of Lauderdale) องคมนตรีคาบาลมิได้ประสานการทำงานกันอย่างดีเสมอไป ราชสำนักมักจะแบ่งเป็นสองฝ่ายๆ หนึ่งนำโดยเอิร์ลแห่งอาร์ลิงตันและอีกฝ่ายหนึ่งโดยดยุคแห่งบัคคิงแฮม โดยที่อาร์ลิงตันมีภาษีดีกว่า[35]

ในปี ค.ศ. 1668 อังกฤษไปเป็นพันธมิตรกับสวีเดนและเนเธอร์แลนด์ศัตรูเก่าในการเป็นต่อต้านพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสในสงครามขยายดินแดนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (War of Devolution) พระเจ้าหลุยส์ทรงทำสัญญาสันติภาพกับกลุ่มสามพันธมิตร ใน ค.ศ. 1668 แต่ก็ยังทรงมีความเป็นปฏิปักษ์ต่อเนเธอร์แลนด์

ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงพยายามแก้ปัญหาทางการเงินของพระองค์โดยการลงพระนามตกลงในสนธิสัญญาโดเวอร์ (Treaty of Dover) กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ระบุว่าพระเจ้าหลุยส์ต้องจ่ายเงินให้พระองค์เป็นจำนวน £160,000 ต่อปีเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่ทรงส่งกองทหารให้พระเจ้าหลุยส์และการประกาศว่าจะทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก “ทันทีที่สถานะการณ์ในพระราชอาณาจักรของพระองค์เปิดโอกาสให้ทรงทำ”[36] และพระเจ้าหลุยส์ทรงตกลงที่จะส่งกองทหารจำนวน 6,000 คนไปกำหราบผู้ขัดแย้งต่อการเปลี่ยนศาสนาของพระองค์ พระเจ้าชาร์ลส์ทรงกำชับให้เก็บสนธิสัญญาเป็นความลับโดยเฉพาะในส่วนที่ทรงตั้งใจที่จะเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก[37] แต่ก็ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนว่าพระเจ้าชาร์ลส์จะทรงตั้งพระทัยที่จะเปลี่ยนนิกายจริงหรือไม่[19]

ขณะเดียวกันพระเจ้าชาร์ลส์ทรงพระราชทานลิขสิทธิ์ให้แก่ บริษัทบริติชอีสต์อินเดีย (British East India Company) ในการแสวงหาอาณานิคม, ในการพิมพ์เงิน, ในการรักษาป้อมและกองทหาร, ในการสร้างพันธมิตร, ในการสร้าสงครามและสันติภาพและในการมีอำนาจทางด้านการศาลทั้งทางคดีแพ่งและคดีอาญาในบริเวณการปกครองที่ได้มาในอินเดีย[38] เมื่อต้นปี ค.ศ. 1668 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงให้เกาะบอมเบย์เช่าเป็นจำนวนเพียง £10 ที่จ่ายด้วยทองคำ[39] ดินแดนในการยึดครองของโปรตุเกสในอินเดียที่พระราชินีแคทเธอรีนแห่งบราแกนซานำมาเมื่อทรงเสกสมรสก็แพงเกินกว่าที่จะบำรุงรักษาได้ ในที่สุดก็ทรงละทิ้งทานเจียร์[40]

ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาร์ลส์ก็พระราชทานใบอนุญาตในการก่อตั้งบริษัทฮัดสันเบย์ (Hudson's Bay Company) ซึ่งกลายมาเป็นบริษัทที่เก่าที่สุดในประเทศแคนาดา ที่เริ่มด้วยกิจการการค้าขายขนสัตว์ที่ทำเงินได้ดีกับชนพื้นเมือง และในที่สุดก็ได้เป็นเจ้าของปกครองที่ดินอาณานิคมในบริเวณประมาณ 7,770,000 ตารางกิโลเมตร (3,000,000 ตารางไมล์) ของทวีปอเมริกาเหนือ[41]

[แก้] ความขัดแย้งกับรัฐสภา

พระเจ้าชาร์ลส์ทรงได้รับสับปะรดผลแรกที่ปลูกในอังกฤษ (ค.ศ. 1675 ภาพเขียนโดยเฮ็นดริค ดันเคิรตส์)

แม้ว่าเมื่อเริ่มแรกรัฐสภาจะสนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์แต่นโยบายทางการศาสนาและการสงครามของพระองค์ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1670 ทำให้รัฐบาลคาวาเลียร์เกิดความแตกแยกจากพระองค์ ในปี ค.ศ. 1672 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงออกพระราชประกาศผ่อนผัน (Royal Declaration of Indulgence) ที่หยุดยั้งการลงโทษทางกฎหมายอาญาต่อผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและผู้เป็นปฏิปักษ์ทางศาสนาทั้งหมด ในปีเดียวกันก็ทรงหันไปสนับสนุนฝรั่งเศสโรมันคาทอลิกอย่างเปิดเผยและทรงเริ่มสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม[42]

รัฐบาลคาวาเลียร์มีปฏิกิริยาต่อต้านพระราชประกาศผ่อนผันเพราะเป็นการออกพระราชประกาศที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ (โดยอ้างว่าพระมหากษัตริย์ไม่มีสิทธิในการระงับกฎหมายโดยปราศจากเหตุผล) แทนที่จะขัดกับเหตุผลทางการเมือง พระเจ้าชาร์ลส์ทรงถอนพระราชประกาศและทรงยอมตกลงใน พระราชบัญญัติทดสอบ (Test Act) ซึ่งไม่แต่จะเรียกร้องให้ผู้รับราชการต้องรับยูคาริสต์ตามแบบที่นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ระบุ[43] แต่ยังบังคับให้ประนามคำสอนบางอย่างของโรมันคาทอลิก ว่าเป็น “ความเชื่องมงายและการบูชารูปสัญลักษณ์”[44] บารอนคลิฟฟอร์ดผู้เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกลาออกแทนที่จะยอมปฏิญาณตามกฎที่ออกใหม่ไม่นานก่อนที่จะถึงแก่อสัญกรรม ภายในปี ค.ศ. 1674 อังกฤษก็ไม่มีความคืบหน้าในสงครามกับเนเธอร์แลนด์ ทางฝ่ายรัฐบาลคาวาเลียร์ไม่ยอมออกทุนในการทำสงครามต่อ ซึ่งเป็นการบังคับให้พระเจ้าชาร์ลส์หาวิธีสงบศึก อำนาจขององคมนตรีคาบาลก็เริ่มลดน้อยลงในขณะเดียวกันอำนาจของทอมัส ออสบอร์น ดยุคแห่งลีดส์ที่ 1 หรือลอร์ดแดนบีย์ (Thomas Osborne, 1st Duke of Leeds) ผู้ที่มาแทนบารอนคลิฟฟอร์ดก็เพิ่มมากขึ้น

ในด้านส่วนพระองค์พระราชินีแคทเธอรีนแห่งบราแกนซาไม่ทรงสามารถมีพระราชโอรสธิดาได้ ทรงมีครรภ์สี่ครั้งแต่ก็จบลงด้วยการแท้งหรือสิ้นพระชนม์ในพระครรภ์ในปี ค.ศ. 1662, กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1666, พฤษภาคม ค.ศ. 1668 และมิถุนายน ค.ศ. 1669[4]รัชทายาทโดยสันนิษฐาน” จึงเป็นเจมส์ ดยุคแห่งยอร์คพระอนุชาผู้ที่เป็นโรมันคาทอลิกผู้ที่ไม่ทรงเป็นที่นิยมแก่ประชาชน เพื่อที่จะบรรเทาความระแวงของประชาชนว่าราชสำนักเอียงไปทางโรมันคาทอลิกมากเกินไปพระเจ้าชาร์ลส์จึงทรงจัดการเสกสมรสระหว่างเจ้าหญิงแมรีพระธิดาองค์โตของดยุคแห่งยอร์คกับเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเร้นจ์ผู้เป็นโปรเตสแตนต์[45]

ในปี [[ค.ศ. 1678, ไททัส โอตส์ผู้เคยเป็นทั้งอังกลิคันและอดีตนักบวชเยซูอิดสร้างข่าวลือเรื่อง “การคบคิดโพพพิช” ที่เป็นข่าวลือที่กล่าวว่าเป็นแผนการที่จะปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ และกล่าวพาดพิงว่าพระราชินีแคทเธอรีนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนนี้ แต่พระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงเชื่อข่าวลือและทรงมีพระราชโองการให้ลอร์ดแดนบีย์สืบสวน แม้ว่าลอร์ดแดนบีย์จะมีความสงสัยว่าจะเป็นเพียงข่าวลือแต่รัฐบาลคาวาเลียร์ถือว่าเป็นเรื่องจริงจัง[46] ข่าวลือทำให้ประชาชนตกอยู่ในความรู้สึกต่อต้านผู้นับถือโรมันคาทอลิกอย่างรุนแรง[47] และมีการจับกุมผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการคบคิดกันกันทั่วประเทศ บ้างก็ถูกลงโทษบ้างก็ถูกประหารชีวิตโดยไม่มีความผิด[48]

ต่อมาในปี ค.ศ. 1678 ลอร์ดแดนบีย์ก็ถูกปลดจากตำแหน่งโดยสภาสามัญชนในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน แม้ว่าทั้งประเทศจะต้องการทำสงครามกับฝรั่งเศสพระเจ้าชาร์ลส์ทรงเจรจาต่อรองอย่างลับๆ กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เพื่อที่จะตกลงว่าอังกฤษจะทำตัวเป็นกลางเป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินทดแทน ลอร์ดแดนบีย์ประกาศตัวว่าเป็นศัตรูกับฝรั่งเศสแต่ในทางส่วนตัวก็ตกลงทำตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าชาร์ลส์ แต่สภาสามัญชนไม่เชื่อว่าข่าวลือที่ว่าลอร์ดแดนบีย์มีส่วนร่วมโดยไม่เต็มใจและแต่เป็นผู้เขียนนโยบายด้วยตนเอง พระเจ้าชาร์ลส์ทรงยุบสภาคาวาเลียร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1679[49] เพื่อที่จะช่วยลอร์ดแดนบีย์

รัฐสภาใหม่เริ่มประชุมในเดือนมีนาคมปีเดียวกันเป็นรัฐบาลที่ไม่เป็นปรปักษ์ต่อพระเจ้าชาร์ลส์ เมื่อไม่รับการสนับสนุนจากรัฐสภาลอร์ดแดนบีย์ก็ลาออกจากตำแหน่งเจ้ากรมพระคลัง (Lord High Treasurer) แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระเจ้าชาร์ลส์ แต่รัฐสภาไม่ยอมและประกาศว่าการยุบสภามิได้ระงับการไต่สวนของลอร์ดแดนบีย์ฉะนั้นการพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นโมฆะ เมื่อสภาขุนนางพยายามลงโทษลอร์ดแดนบีย์โดยการเนรเทศ—ซึ่งสภาสามัญชนถือว่าน้อยไป—การไต่สวนจึงหยุดชะงักลงเพราะสองสภาตกลงกันไม่ได้ ในที่สุดพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงยอมฝ่ายตรงข้ามโดยทรงสั่งจำขังลอร์ดแดนบีย์ที่หอคอยแห่งลอนดอน ลอร์ดแดนบีจึงถูกจำขังอยู่ห้าปี[50]

[แก้] บั้นปลาย

เหรียญครึ่งคราวน์สมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2, ค.ศ. 1683 มีคำจารึก “CAROLUS II DEI GRATIA” (พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 โดยพระพรจากพระเจ้า)

ปัญหาใหญ่ทางการเมืองต่อมาของพระเจ้าชาร์ลส์คือปัญหาเรื่องรัชทายาท แอนโทนี แอชลีย์ คูเปอร์ เอิร์ลแห่งชาฟส์บรีเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อการมีพระเจ้าเจ้าแผ่นดินที่เป็นโรมันคาทอลิก (ก่อนหน้านั้นบารอนแอชลีย์เป็นสมาชิกองคมนตรีคาบาล ที่สลายตัวลงในปี ค.ศ. 1673) อำนาจของบารอนแอชลีย์ก็เริ่มแข็งแกร่งขึ้นเมื่อสภาสามัญชนของปี ค.ศ. 1679 เสนอร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติที่พยายามป้องกันไม่ให้เจมส์ ดยุคแห่งยอร์คขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษ บางกลุ่มถึงกับสนับสนุนดยุคแห่งมอนม็อธพระโอรสนอกสมรสองค์โตของพระเจ้าชาร์ลส์ผู้เป็นโปรเตสแตนต์ กลุ่ม “Abhorrers”—ผู้ที่เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติละเว้นเป็นที่น่าเกลียด (abhorrent)—ถูกเรียกว่าทอรี (ตามคำที่ใช้เรียกโจรไอริชโรมันคาทอลิก) ขณะที่ “Petitioners”—ผู้ยื่นคำร้อง (Petitioning campaign) สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ—กลายมาเป็นวิก (ตามคำที่ใช้เรียกผู้ก่อความไม่สงบชาวสกอตแลนด์ที่เป็นเพรสไบทีเรียน).[51]

พระเจ้าชาร์ลส์ทรงหวาดกลัวว่าร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์จะได้รับการอนุมัติและเมื่อทรงเห็นว่ามติมหาชนเริ่มเอนเอียงไปทางการต่อต้านโรมันคาทอลิกซึ่งเห็นได้จากการปล่อยตัวของผู้ที่กล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการคบคิดที่จะปลงพระชนม์พระองค์ พระเจ้าชาร์ลส์จึงทรงตัดสินพระทัยยุบรัฐสภาเป็นครั้งที่สองในปีเดียวกันในฤดูร้อนของ ค.ศ. 1679 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงหวังว่าสภาใหม่จะไม่รุนแรงเหมือนสภาก่อนแต่เหตุการณ์ก็ไม่เป็นไปตามพระราชประสงค์ ภายในเวลาเพียงสองสามเดือนพระองค์ก็ทรงยุบรัฐสภาอีกครั้งหลังจากที่รัฐสภาพยายามผ่านร่างพระราชบัญญัติละเว้นอีกครั้ง เมื่อรัฐสภาใหม่ประชุมกันที่อ็อกฟอร์ดในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1681 พระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงยุบอีกเป็นครั้งที่สี่หลังจากที่ประชุมกันได้เพียงไม่กี่วัน[52] ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1680 มติมหาชนในการสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติก็ลดน้อยลงและพระเจ้าชาร์ลส์ทรงมีความรู้สึกว่าประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระองค์เพิ่มมากขึ้นเพราะมีความเห็นว่ารัฐสภามีความรุนแรงเกินกว่าเหตุ เอิร์ลแห่งชาฟส์บรีถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏจนต้องหนีไปเนเธอร์แลนด์และไปเสียชีวิตที่นั่น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงปกครองอังกฤษโดยปราศจากรัฐสภา[53]

การคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาร์ลส์ทำความไม่พอใจให้แก่ฝ่ายโปรเตสแตนต์บางส่วน ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การคบคิดไรย์เฮาส์” ซึ่งเป็นแผนการปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์และเจมส์ ดยุคแห่งยอร์คขณะที่เสด็จกลับลอนดอนจากการแข่งม้าที่นิวมาร์เค็ต แต่เพลิงไหม้ทำลายที่ประทับของพระเจ้าชาร์ลส์ที่นิวมาร์เค็ตทำให้ต้องเสด็จกลับลอนดอนก่อนกำหนดจึงทำให้รอดพรองค์จากการถูกปลงพระชนม์ ข่าวแผนการปลงพระชนม์ที่ไม่สำเร็จจึงรั่ว[54] นักการเมืองโปรเตสแตนต์เช่น อาร์เธอ แคเพลล์ เอิร์ลแห่งเอสเซ็กส์ (Arthur Capell, 1st Earl of Essex), อาลเกอร์นอน ซิดนีย์ (Algernon Sydney), ลอร์ดวิลเลียม รัสเซลล์ พี (Lord William Russell) และดยุคแห่งมอนม็อธ ถูกจับในข้อหาว่ามีส่วนร่วมในการวางแผน เอิร์ลแห่งเอสเซ็กส์ฆ่าตัวตายขณะที่ถูกจำขังอยู่ที่หอคอยแห่งลอนดอน ซิดนีย์และลอร์ดวิลเลียม รัสเซลล์ถูกประหารชีวิตในข้อหากบฏต่อแผ่นดินโดยมีหลักฐานเพียงเล็กน้อย ส่วนดยุคแห่งมอนม็อธลี้ภัยไปยังราชสำนักของดยุคแห่งออเร้นจ์ ลอร์ดแดนบีและขุนนางโรมันคาทอลิกที่ถูกจำขังอยู่ที่หอคอยแห่งลอนดอนถูกปล่อยและพระอนุชาของพระเจ้าชาร์ลส์ดยุคแห่งยอร์คก็มีอำนาจมากขึ้นในราชสำนัก[55] ไททัส โอตส์ถูกconvicted และจำขังในข้อหา defamation.[56]

พระเจ้าชาร์ลส์ประชวรด้วยapoplectic fit เมื่อเช้าวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 และเสด็จสวรรคตเมื่อเวลา 11:45 สี่วันหลังจากนั้นที่ four days later at พระราชวังไวท์ฮอลล์ เมื่อพระชนมายุได้ 54 พรรษา อาการประชวรคล้ายคลึงกับอาการของ uraemia ซึ่งเป็นอาการที่เกี่ยวกับไตทำงานอย่างไม่ปกติ[57] ขณะที่ประชวรพระเจ้าชาร์ลส์ตรัสกับดยุคแห่งยอร์คว่า “Let not poor Nell Gwyn starve”[58] และกับข้าราชสำนักว่า “I am sorry, gentlemen, for being such a time a-dying.”[59] ค่ำวันสุดท้ายก็ทรงได้รับเข้าสู่โรมันคาทอลิก แต่ก็ไม่ทราบว่าทรงมีพระสติดีพอที่จะทราบถึงเหต์การณ์ดังกล่าวหรือทรงรับรู้เท่าใดหรือผู้ใดเป็นผู้จัดการการกระทำครั้งนี้[60] พระบรมศพถูกฝังไว้ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์ “โดยไม่มีพิธีรีตองอันหรูหรา”[59] เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์[61] ดยุคแห่งยอร์คพระอนุชาขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ, ไอร์แลนด์ และพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์

[แก้] พระราชโอรสธิดาและอนุสรณ์

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1692, รูปปั้นของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ในเครื่องทรงโรมัน (สร้างโดย กรินลิง กิบบอนส์ (Grinling Gibbons) ในปี ค.ศ. 1676 ตั้งอยู่หน้าโรงพยาบาลเชลเซีย

พระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงมีพระราชโอรสธิดาในสมรส แต่ทรงมีพระราชโอรสธิดาสิบสองคนกับพระสนมเจ็ดคน[62]5 คนโดยบาร์บารา พาล์มเมอร์ ดัชเชสแห่งคลีฟแลนด์ที่ 1 (Barbara Palmer, 1st Duchess of Cleveland) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของตำแหน่งดยุคแห่งคลีฟแลนด์ พระสนมคนอื่นๆ ก็ได้แก่ แคทเธอริน เพ็กก์ (Catherine Pegge), ลุย เดอ เคอรูเยลล์ ดัชเชสแห่งพอร์ธมัธ (Louise de Kérouaille, Duchess of Portsmouth), ลูซิ วอลเตอร์ (Lucy Walter), เอลิซาเบธ คิลลิกรูว์ (Elizabeth Killigrew) และ เนลล์ กวิน (Nell Gwyn) โอรสและธิดาหลายคนได้รับตำแหน่งดยุคหรือเอิร์ล; ตำแหน่งดยุคแห่งบูคคล็อยช์ (Duke of Buccleuch), ดยุคแห่งริชมอนด์ (Duke of Richmond), ดยุคแห่งกราฟตัน (Duke of Grafton) และ ดยุคแห่งเซนต์อัลบันส์ (Duke of St Albans) ในปัจจุบันต่างก็เป็นตำแหน่งที่สืบทอดมาจากพระเจ้าชาร์ลส์โดยตรงทางพระโอรส[63] สาธารณชนไม่พึงพอใจในการที่พระเจ้าชาร์ลส์ทรงใช้เงินภาษีในการจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่บรรดาพระสนมและโอรสธิดาต่างๆ[64] จอห์น วิลม็อท เอิร์แห่งโรเชสเตอร์ (John Wilmot, Earl of Rochester) เขียนจดหมายถึงพระเจ้าชาร์ลส์:

Cquote1.svg
Restless he rolls from whore to whore
A merry monarch, scandalous and poor.[65]
Cquote2.svg

ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์เองก็ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระโอรสนอกกฎหมายของพระเจ้าชาร์ลส์สองพระองค์ เฮนรี ฟิทซ์รอย ดยุคแห่งกราฟตันที่ 1 (Henry FitzRoy, 1st Duke of Grafton) และ ชาร์ลส์ เล็นน็อกซ์ ดยุคแห่งริชมอนด์ที่ 1 (Charles Lennox, 1st Duke of Richmond) ผู้เป็นบรรพบุรุษของคามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์พระชายาองค์ที่สองของ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์) ฉะนั้นพระโอรสองค์โตของเจ้าหญิงไดอานาเจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์ผู้ทรงอยู่ในอันดับที่สองของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษถ้าได้เป็นกษัตริย์ก็ได้เป็นก็จะเป็นกษัตริย์องค์แรกที่ทรงสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2

พระโอรสองค์โตของพระเจ้าชาร์ลส์ดยุคแห่งมอนม็อธเป็นผู้นำในการกบฏต่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แต่ไม่สำเร็จและพ่ายแพ้และถูกจับที่ยุทธการเซ็จมัวร์ (Battle of Sedgemoor) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1685 ในที่สุดก็ถูกประหารชีวิต แต่ต่อมาพระเจ้าเจมส์ที่ 2 เองก็ทรงถูกโค่นราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1688 ในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์โดยพระราชธิดาของพระองค์และพระสวามี พระเจ้าเจมส์ทรงเป็นกษัตริย์โรมันคาทอลิกองค์สุดท้ายของอังกฤษ

เมื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ พรรคทอรีมักจะเห็นว่าเป็นรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณธรรมแต่พรรควิกเห็นว่าเป็นรัชสมัยของการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดในทางที่ผิด ในปัจจุบันการเป็นการยากที่จะสรุปโดยไม่คำนึงถึงความไม่เป็นกลางของพระองค์ และมักเห็นกันว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ชอบความสุขสำราญ เช่นที่บรรยายโดยจอห์น เอเวลิน (John Evelyn)ว่า: “a prince of many virtues and many great imperfections, debonair, easy of access, not bloody or cruel”[66]—และทรงเป็นผู้ที่ศิลปินนิยมนำไปเป็นตัวละครในงานเขียนและภาพยนตร์ทรงมีวรรณกรรม

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะและวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นผู้ช่วนในการก่อตั้ง Royal Society ซึ่งเป็นสมาคมของนักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีสมาชิกที่มีชื่อเสียงหลายคนเช่นโรเบิร์ต ฮุค, โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) และ ไอแซ็ค นิวตัน และทรงก่อตั้ง Royal Observatory ที่กรีนนิช พระเจ้าชาร์ลส์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์เซอร์คริสโตเฟอร์ เร็นสถาปนิกผู้ช่วยสร้างลอนดอนหลังจากเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1666 เร็นสร้างโรงพยาบาลเชลเซียซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ทรงก่อสร้างเพื่อให้เป็นบ้านพักทหารที่ปลดเกษียรในปี ค.ศ. 1682 นอกจากนั้นก็ทรงเป็นคนแรกที่อนุญาตให้สตรีแสดงละครบนเวทีได้แทนที่จะไห้เด็กผู้ชายเล่นเป็นผู้หญิงอย่างที่เคยทำกันมา[67]

วันที่ 29 พฤษภาคม ซึ่งเป็นครบรอบวัน “ฟื้นฟูกษัตริย์” ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันประสูติก็เป็นวันที่ฉลองกันมาจนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในชื่อวัน “Oak Apple Day” ตามตำนานต้นไม้ที่พระองค์ทรงใช้ซ่อนตัวขณะที่หลบหนีจากกองทหารของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ แต่ในปัจจุบันเลิกฉลองกันไปแล้ว[68]

โซโฮแควร์ในลอนดอนที่สร้างในปลายคริสต์ทศวรรษ 1670 เดิมเรียกว่า “คิงสแควร์” เพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์และอนุสาวรีย์ของพระองค์ที่สร้างในปี ค.ศ. 1681 ก็ยังตั้งอยู่ตรงกลางจตุรัส[69]


[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ตั้งแต่พระราชบิดาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงถูกประหารชีวิตถึงเวลาที่ทรงพ่ายแพ้ในยุทธการวูสเตอร์
  2. ^ วันเริ่มสมัยฟื้นฟูราชวงศ์ซึ่งเป็นวันเริ่มรัฐสภาของพระเจ้าแผ่นดินเป็นครั้งแรกตั้งแต่การยุบระบบราชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1649 รัฐสภาอังกฤษยอมรับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงแม้ว่าฝ่ายนิยมกษัตริย์ยอมรับพระองค์มาตั้งแต่เมื่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 สวรรคตเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ในรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เอกสารทางกฎหมายทั้งหมดลงวันที่ราวกับว่ารัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เริ่มตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1649
  3. ^ เฟรเชอร์ หน้า 13 และฮัตตัน หน้า 1–4
  4. ^ 4.0 4.1 4.2 Weir, Alison (ค.ศ. 1996). พระราชวงศ์อังกฤษ: รายพระนามพระราชวงศ์ฉบับสมบูรณ์, ฉบับปรับปรุง. แรนดอม เฮาส์. pp. pp.255–257. ISBN 0712674489. 
  5. ^ เฟรเชอร์ หน้า 32 และ ฮัตตัน หน้า 6–7
  6. ^ เฟรเชอร์ หน้า 38–45 และมิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 6
  7. ^ เฟรเชอร์ หน้า 55–56
  8. ^ เฟรเชอร์ หน้า 57–60
  9. ^ เฟรเชอร์ หน้า 65–66, 155, ฮัตตัน หน้า 26, และมิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 5
  10. ^ เฟรเชอร์ หน้า 97 และฮัตตัน หน้า 53
  11. ^ เฟรเชอร์ หน้า 96–97 และฮัตตัน หน้า 56–57
  12. ^ เฟรเชอร์ หน้า 98–128 และ ฮัตตัน หน้า 53–69
  13. ^ จำนวนเงิน £1,000 เป็นจำนวนเงินที่มหาศาลในสมัยนั้น ซึ่งมากกว่าค่าแรงคนธรรมดาที่จะหาได้ในชั่วชีวิต (เฟรเชอร์ หน้า 117)
  14. ^ ฮัตตัน หน้า 74–112
  15. ^ เฟรเชอร์ หน้า 160–165
  16. ^ อนุทินของซามูเอล พีพส์ 16 มีนาคม ค.ศ. 1660
  17. ^ 17.0 17.1 มิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 24–25
  18. ^ ฮัตตัน หน้า 131
  19. ^ 19.0 19.1 ซีวาร์ด, พอล (กันยายน ค.ศ. 2004; ฉบับออนไลน์, พฤษภาคม ค.ศ. 2006), "พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 (ค.ศ. 1630–ค.ศ. 1685)", อ็อกฟอร์ดพจนานุกรมชีวประวัติแห่งชาติ (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด), doi:10.1093/ref:odnb/5144, http://www.oxforddnb.com/view/article/5144, เรียกดูวันที่ 2007-09-07 
  20. ^ เฟรเชอร์ หน้า190
  21. ^ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 (ปกครอง ค.ศ. 1660–85). Web site of the British Monarchy. สืบค้นวันที่ 2007-09-07
  22. ^ เฟรเชอร์ หน้า185
  23. ^ เฟรเชอร์ หน้า 210–202, ฮัตตัน หน้า 155–156 และมิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 43–44
  24. ^ ฮัตตัน หน้า 169
  25. ^ ฮัตตัน หน้า 229
  26. ^ เฟรเชอร์ หน้า 238
  27. ^ มิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 120
  28. ^ Defoe, Daniel (ค.ศ. 1894). ประวัติของการระบาดของกาฬโรคในอังกฤษ. นิวยอร์ก: บริษัทอเมริกันบุ้ค. http://www.gutenberg.org/etext/17221. 
  29. ^ 29.0 29.1 พอร์เตอร์, สตีเฟน (มกราคม ค.ศ. 2007), "เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน", อ็อกฟอร์ดพจนานุกรมชีวประวัติแห่งชาติ (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด), http://www.oxforddnb.com/public/themes/95/95647.html, เรียกดูวันที่ 2007-10-12 
  30. ^ เฟรเชอร์ หน้า 243–247 และมิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 121–122
  31. ^ กรมพระคลังใช้งบประมาณประมาณ £321,000 ต่อปีในการบำรุงรักษา (ฮัตตัน หน้า 184)
  32. ^ มิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 93, 99
  33. ^ ส่วนที่เหลือของเรือยังตั้งแสดงอยู่ที่ Rijksmuseum Amsterdam
  34. ^ ฮัตตัน หน้า 250–251
  35. ^ ฮัตตัน หน้า 254 และมิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 175–176
  36. ^ เฟรเชอร์ หน้า 275
  37. ^ เฟรเชอร์ หน้า 275–276 และมิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 180
  38. ^ “บริษัทอีสต์อินเดีย” (ค.ศ. 1911) สารานุกรมบริตานิคา ฉบับที่ 11, เล่มที่ 8, หน้า 835
  39. ^ Bombay: History of a City. The British Library Board. สืบค้นวันที่ 2007-05-18
  40. ^ ฮัตตัน หน้า 426
  41. ^ “ประวัติของเรา”. บริษัทฮัดสันเบย์. สืบค้นวันที่ 2007-10-12
  42. ^ เฟรเชอร์ หน้า 305–308 และ ฮัตตัน หน้า 284–285
  43. ^ Raithby, John (ed.) (1819), "พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2, ค.ศ. 1672: พระราชบัญญัติเพื่อการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากPopish Recusants", Statutes of the Realm: volume 5: ค.ศ. 1628-80: pp.782–785, http://www.british-history.ac.uk/report.asp?compid=47451, เรียกดูวันที่ 2007-10-08 
  44. ^ Raithby, John (ed.) (ค.ศ. 1819), "พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2, ค.ศ. 1678: (ฉบับ 2) พระราชบัญญัติเพื่อรักษาความมั่นคงของพระมหากษัตริย์และรัฐบาลจากกลุ่มโรมันคาทอลิกในการเข้าเป็นสมาชิกรัฐสภาทั้งสองรัฐสภา", Statutes of the Realmกฎหมายของแผ่นดิน: เล่ม 5: ค.ศ. 1628-80: หน้า 894–896, http://www.british-history.ac.uk/report.asp?compid=47482, เรียกดูวันที่ 2007-10-08 
  45. ^ เฟรเชอร์ หน้า 347–348 และ ฮัตตัน หน้า 345–346
  46. ^ ฮัตตัน หน้า 359–362
  47. ^ เฟรเชอร์ หน้า 360
  48. ^ เฟรเชอร์ หน้า 375
  49. ^ มิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 278, 301–304
  50. ^ ฮัตตัน หน้า 367–374 และมิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 306–309
  51. ^ ฮัตตัน หน้า 373, 377, 391 และมิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 310–320
  52. ^ ฮัตตัน หน้า 376–401 และมิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 314–345
  53. ^ ฮัตตัน หน้า 430–441
  54. ^ เฟรเชอร์ หน้า 426
  55. ^ ฮัตตัน หน้า 420–423 และ มิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 366–368
  56. ^ เฟรเชอร์ หน้า 437
  57. ^ เฟรเชอร์ หน้า 450 และ ฮัตตัน หน้า 443
  58. ^ เฟรเชอร์ หน้า 456
  59. ^ 59.0 59.1 ไบรอันท์, มาร์ค (ค.ศ. 2001). “ชีวิตส่วนตัว” ลอนดอน: คาสเซลล์ ISBN 0304357588 p.73
  60. ^ ฮัตตัน หน้า 443 และ 456
  61. ^ เฟรเชอร์ หน้า 459
  62. ^ เฟรเชอร์ หน้า 411
  63. ^ เฟรเชอร์ หน้า 413
  64. ^ ฮัตตัน หน้า 338
  65. ^ มิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 95
  66. ^ มิลเลอร์ “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2” หน้า 382–383
  67. ^ ฮัตตัน หน้า 185
  68. ^ เฟรเชอร์ หน้า118
  69. ^ “บริเวณโซโฮแควร์: พอร์ทแลนด์เอสสเตท: สวนโซโฮแควร์” ใน “การสำรวจลอนดอน” เล่มที่ 33 และ 34 (ค.ศ. 1966) เซนต์แอนน์โซโฮ, หน้า 51-53. Date accessed: 12 มกราคม ค.ศ. 2008

[แก้] ดูเพิ่ม

Commons
สมัยก่อนหน้า พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ สมัยถัดไป
ราชบัลลังก์ว่างลงในสมัยไร้กษัตริย์อังกฤษ
พระมหากษัตริย์องค์ก่อนหน้าคือสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1
2leftarrow.png England Arms 1603.svg
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ
(ราชวงศ์ทิวดอร์)

(ค.ศ. 1660ค.ศ. 1685)
2rightarrow.png สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
หรือ
สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์
England Arms 1603.svg
พระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์
(ราชวงศ์ทิวดอร์)

(ค.ศ. 1649ค.ศ. 1651
ค.ศ. 1660ค.ศ. 1685)


England Arms 1603.svg
พระมหากษัตริย์แห่งไอร์แลนด์
(ราชวงศ์ทิวดอร์)

(ค.ศ. 1660ค.ศ. 1685)