ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย)
ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย
TrueAF.jpg
สัญลักษณ์ของรายการ ทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย
รูปแบบ เรียลลิตี้โชว์
พิธีกร เศรษฐา ศิระฉายา
(ฤดูกาลที่ 1-6)
ประกาศิต โบสุวรรณ
(เฉพาะฤดูกาลที่ 5 สัปดาห์ที่ 1)
ต้นกำเนิด Flag of ไทย ประเทศไทย
จำนวนซีซัน 6
จำนวนตอน ฤดูกาลที่ 1 : 9 สัปดาห์
ฤดูกาลที่ 2 : 12 สัปดาห์
ฤดูกาลที่ 3 : 10 สัปดาห์
ฤดูกาลที่ 4 : 13 สัปดาห์
ฤดูกาลที่ 5 : 12 สัปดาห์
ฤดูกาลที่ 6 : 12 สัปดาห์
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้าง อรรถพล ณ บางช้าง
สถานที่ โครงการบ้านสาริน ซิตี้
(ฤดูกาลที่ 1-2)
โครงการบ้านแมกโนเลียส์
(ฤดูกาลที่ 3-5)
Whizdom Condominium
(ฤดูกาลที่ 6)
มูนสตาร์สตูดิโอ
(คอนเสิร์ตฤดูกาลที่ 1-2)
อินดอร์สเตเดียม
(คอนเสิร์ตฤดูกาลที่ 1, 4)
ธันเดอร์โดม
(คอนเสิร์ตฤดูกาลที่ 2-6)
อิมแพ็ค อารีน่า
(เฉพาะคอนเสิร์ตรอบชิงชนะเลิศ)
(ฤดูกาลที่ 3-6)
ความยาวตอน 24 ชั่วโมง
การออกอากาศ
เครือข่าย/สถานี ทรูวิชั่นส์
(ถ่ายทอดตลอด 24 ชั่วโมง)
ไอทีวี
(คอนเสิร์ตฤดูกาลที่ 2)
โมเดิร์นไนน์ทีวี
(คอนเสิร์ตฤดูกาลที่ 3-6)
ออกอากาศ 21 มิถุนายน 2547 – ปัจจุบัน
รายการที่เกี่ยวข้อง
รายการอื่นที่เกี่ยวข้อง เดอะมาสเตอร์, ทำดีให้พ่อดู
เว็บไซต์ทางการ
http://trueaf.truelife.com

ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย (อังกฤษ: True Academy Fantasia) (ชื่อเดิม : ยูบีซี อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย) หรือในชื่อภาษาไทยว่า ปฏิบัติการล่าฝัน เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ ที่สามารถปลุกกระแสความสนใจต่อรายการประเภทนี้ ได้ในประเทศไทย โดยรายการนี้มีจุดประสงค์เพื่อค้นหานักล่าฝันที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพื่อรับรางวัลมากมายพร้อมกับโอกาสที่จะได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง ซึ่งลิขสิทธิ์ของรายการนี้ บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้ทำการซื้อลิขสิทธิ์และรูปแบบของรายการ La Academia จากประเทศเม็กซิโก ซึ่งมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับรายการ Star Academy ที่แพร่หลายไปทั่วโลกแต่ปรับเปลี่ยนมาเป็นเรียลลิตี้ 24 ชั่วโมง เป็นลำดับที่ 3 ถัดจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย รูปแบบรายการจะเป็นการคัดเลือก 12-20 นักล่าฝันจากทั่วประเทศเข้ามาเพื่อให้ครูในบ้านในแต่ละสาขา ไม่ว่าจะเป็น Voice Trainer, Acting Trainer หรือ Dance Trainer ได้ขัดเกลาเพื่อให้นักล่าฝันแต่ละคนฝึกซ้อมพร้อมกับรับโจทย์ในแต่ละสัปดาห์เพื่อขึ้นทำการแสดงคอนเสิร์ตในวันเสาร์ ท่ามกลางบ้านที่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อถ่ายทอดให้เห็นทุกสิ่งตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดทั้งฤดูกาล ซึ่งจะใช้วิธีการตัดสินผ่านการโหวตจาก SMS จากผู้ชมทั่วประเทศ ผู้ที่ได้คะแนนโหวตน้อยที่สุดในแต่ละสัปดาห์เมื่อจบคอนเสิร์ตในวันเสาร์จะต้องเป็นผู้ที่เดินออกจากบ้านไป

เนื้อหา

[แก้] รูปแบบรายการ

รูปแบบของรายการ La Academia จากประเทศเม็กซิโก ซึ่งมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับรายการ Star Academy ที่แพร่หลายไปทั่วโลกแต่ปรับเปลี่ยนมาเป็นเรียลลิตี้ 24 ชั่วโมง เป็นลำดับที่ 3 ถัดจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย รูปแบบรายการจะเป็นการคัดเลือก 12-20 นักล่าฝันจากทั่วประเทศเข้ามาเพื่อให้ครูในบ้านในแต่ละสาขา ได้แก่ สาขาการใช้เสียง สาขาการแสดงท่าทาง และสาขาการเต้น ขัดเกลาเพื่อให้นักล่าฝันแต่ละคนฝึกซ้อมพร้อมกับรับโจทย์ในแต่ละสัปดาห์เพื่อขึ้นทำการแสดงคอนเสิร์ตในวันเสาร์ ท่ามกลางบ้านที่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อถ่ายทอดให้เห็นทุกสิ่งตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดทั้งฤดูกาล ซึ่งจะใช้วิธีการตัดสินผ่านการโหวตจาก SMS จากผู้ชมทั่วประเทศ ผู้ที่ได้คะแนนโหวตน้อยที่สุดในแต่ละสัปดาห์เมื่อจบคอนเสิร์ตในวันเสาร์จะต้องเป็นผู้ที่เดินออกจากบ้านไป

เมื่อจบการแข่งขันในทุกซีซั่น นักล่าฝันทุกคนจะได้รับการเซ็นต์สัญญาเข้าสู่สังกัด ทรู แฟนเทเชีย เป็นเวลา 5 ปี เพื่อดูแลงานศิลปินและสร้างผลงานบันเทิงในด้านต่างๆ โดยจะอ้างอิงตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยในฤดูกาลที่ 5 คุณ กิติกร เพ็ญโรจน์ กรรมการผู้จัดการในขณะนั้น ได้ให้สัมภาษณ์มีใจความว่า “การสร้างศิลปินจากนักล่าฝันจะเน้นสร้างคาแร็กเตอร์ให้แตกต่างกันมากขึ้น และไม่จำเป็นที่ว่าทุกคนจะได้ออกอัลบั้มเดี่ยว” [1]

[แก้] ยุทธวิธีทางการตลาด

รายได้ของรายการทรู อคาเดมี่ แฟนเทเชีย หลักๆ มาจาก ค่าสปอนเซอร์และค่าสปอนโฆษณาและยอดโหวต SMS โดยยอดโหวตจากทุกๆ ฤดูกาลที่เพิ่มมากขึ้นมาจากช่องทางรับชมที่เพิ่มมากขึ้น ที่ดูได้ทางอินเทอร์เน็ต ฟรีทีวี และโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งการกระตุ้นรายการอย่างเช่น โหวตคัด 12 คน จาก 20 คน โหวตเลือก Most Popular ในสัปดาห์ถัดจากคอนเสิร์ตรอบชิงชนะเลิศ เป็นต้น โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาถ่ายทอดสดคอนเสิร์ตทุกวันเสาร์ ซึ่งออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ทีวี พบว่า 40% ของยอดโหวตมาจากผู้ชมทางโมเดิร์นไนน์ทีวี

ส่วนสถิติที่น่าสนใจอื่น ใน AF4 เช่น 80% ของจำนวนคนโหวตมาจากผู้ใช้โทรศัพท์ทรูมูฟ ระบบ Prepaid ,70-80% ของคนโหวต ไม่ใช่ลูกค้าทรูมูฟ, 15,000 บาทต่อสัปดาห์ คือเงินที่มีผู้มียอดโหวตสูงสุด[1] ,รายได้ 1 ล้านบาทมาจากค่าแชตสดๆ ผ่านจอ [2] ในฤดูกาลที่ 5 เฉพาะค่าสปอนเซอร์ ก็สร้างรายได้ให้กับทรูไปแล้ว 140 ล้าน [2] นอกจากนี้ในฤดูกาลนี้ยังเพิ่มวิธีการโหวตวิธีใหม่คือ ผ่านซิมใหม่ที่เรียกว่า Touch Sim[1]

ยอดการโหวตในแต่ละฤดูกาล

  • AF1 = 9 ล้านโหวต
  • AF2 = 11.5 ล้านโหวต
  • AF3 = 13 ล้านโหวต
  • AF4 = 20 ล้านโหวต
  • AF5 = 22 ล้านโหวต

ในฤดูกาลที่ 6 ทางทรูได้ประชาสัมพันธ์ว่าจะเป็นการออกอากาศในระบบสามมิติ แต่เมื่อมีเสียงท้วงติงจากผู้ชมรายการในเรื่องความผิดพลาดระหว่างการถ่ายทอดสด จึงได้มีการยกเลิกไป[ต้องการอ้างอิง] ส่วนในฤดูกาลที่ 7 เป็นครั้งแรกที่ทรูใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก) ในการประชาสัมพันธ์รายการร่วมกับเว็บไซต์หลัก[ต้องการอ้างอิง] โดยมีการรับสมัครผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2553 และจะมีการประกาศผลผู้เข้ารอบสุดท้าย ในวันที่ 23 มิถุนายน 2553

[แก้] สถานที่ถ่ายทำ

[แก้] สถานที่พักของนักล่าฝัน

  • โครงการบ้านสาริน ซิตี้ (AF1 , AF2)
  • โครงการบ้านแม็กโนเลีย บางนา (AF3 , AF4)
  • สตูดิโอแม็กโนเลีย บางนา (AF5)
  • วิสซ์ดอมคอนโดมิเนียม (AF6)

[แก้] สถานที่แสดงคอนเสิร์ต

  • สตูดิโอมูนสตาร์ (AF1 สัปดาห์ที่ 1 - สัปดาห์ที่ 6, AF2 สัปดาห์ที่ 1 - สัปดาห์ที่ 4)
  • อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก (AF1 สัปดาห์ที่ 7 - สัปดาห์ที่ 9 , AF4 รอบการกุศล)
  • ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี (AF2 สัปดาห์ที่ 5 - สัปดาห์ที่ 12 , AF3 , AF4 , AF5 , AF6)
  • อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี1 (คอนเสิร์ตรอบชิงชนะเลิศ AF3 , AF4 , AF5, AF6)

หมายเหตุ 1: ใช้เฉพาะในการจัดคอนเสิร์ตรอบสุดท้ายเท่านั้นและรายได้จากการจำหน่ายบัตรคอนเสริตจะนำไปมอบให้กับการกุศล

[แก้] เวทีคอนเสิร์ตในแต่ละฤดูกาล

  • AF1 - จอภาพลักษณะแป้นวงกลมกลางเวที
  • AF2 - ฉากคล้ายโรงละครในยุโรป มีตัวอักษร A ขนาดใหญ่ด้านบนสุดของฉาก ด้านในเวทีแบ่งออกเป็นสองชั้น ชั้นล่างสำหรับวงดนตรี และชั้นบนสำหรับนักล่าฝันปรากฎตัว นอกจากนี้ในบางสัปดาห์ ยังมีการติดตั้งจอภาพที่ชั้นบนด้วย
  • AF3 - ฉากรูปประตูแบบยุโรป
  • AF4 - แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนสำหรับวงดนตรีด้านหลัง และส่วนการแสดงด้านหน้าซึ่งมีพื้นที่มาก จนผู้ชมบางรายตั้งฉายาว่า "เวทีมวย" ซึ่งในบางสัปดาห์จะมีการปรับเปลี่ยนเวทีด้านหน้าให้เหมาะสมกับธีมเพลง เช่น การติดตั้งน้ำพุ นั่งร้านขนาดใหญ่ เป็นต้น
  • AF5 - มีกรอบเสาสูงเป็นเอกลักษณ์ ส่วนเวทีแบ่งเป็นชั้นบนกับชั้นล่างคล้ายในซีซั่นที่สอง แต่ไม่มีกรอบเวที ในสัปดาห์ท้ายๆ จะมีการติดตั้งจอแอลอีดีแนวตั้งที่กรอบเสาสูงด้วย
  • AF6 - เส้นสีแดงพาดผ่านเวทีในแนวตั้ง ตรงกลางเวทีจะสลับระหว่างไฟส่องสว่างกลมสีเหลืองกับจอแอลอีดี และในบางครั้งด้านหลังจะมีบลูสกรีนเพื่อรองรับกราฟฟิกที่ใช้เฉพาะภาพถ่ายทอดสดด้วย

[แก้] สถานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

  • โรงแรมโซฟีเทล เซนทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว (AF1)
  • โรงภาพยนตร์ House RCA (การประกาศผลผู้เข้ารอบสุดท้าย AF2 - AF4)
  • โรงละครอักษรา คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ (การประกาศผลผู้เข้ารอบสุดท้าย AF5, AF6)

[แก้] การออกอากาศ

[แก้] ถ่ายทอดสด

[แก้] รายงานความเคลื่อนไหว

  • True Moment ประมวลภาพเหตุการณ์ประจำวัน ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 20:00 - 21:00 ทางช่อง True Inside (True Visions 61) และเวลา 17:10 - 17:35 ทางช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี
  • True Moment Weekly ประมวลภาพตลอดสัปดาห์ วันอาทิตย์เวลา 20:00 - 21:00 ทางช่อง True inside (True Visions 61) และเวลา 21:00 - 22:00 ทางช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี
  • Secret of True Academy Fantasia สัมภาษณ์นักล้าฝันคนล่าสุดที่ต้องออกจากบ้าน ทุกวันพุธเวลา 21:00 - 22:00 ทางช่อง True inside (True Visions 61)

[แก้] เพลงนักล่าฝัน

เพลง นักล่าฝัน เป็นเพลงประจำรายการ True Academy Fantasia ที่นักล่าฝันจะต้องร้องเปิดคอนเสิร์ตและปิดคอนเสิร์ตในทุกวันเสาร์ที่มีคอนเสิร์ตประจำสัปดาห์ โดยภัคศรณ์ ลีนุตพงษ์ (ลินา) ได้แต่งเนื้อร้องไว้ ใจความของเพลงแสดงถึงเส้นทางฝัน ที่ "...ไม่มีพรมแดงปูทาง อุปสรรคขวากหนามมากมายเหลือเกิน..." แต่นักล่าฝันก็ไม่เคยย่อท้อ กลับสู้ด้วยใจที่มุ่งมั่น เพื่อให้ได้ "...เป็นดาวโดดเด่นบนฟากฟ้า..." และก็เพราะเชื่อเสมอว่า "...ฝันนั้นไม่เคยยิ่งใหญ่เกินใจ ของคนอย่างฉัน จะให้ฝันของฉันกลายเป็นจริงให้ได้..." ทำให้นักล่าฝันพร้อมที่ก้าวเผชิญไปบนเส้นทางฝันของเขาเอง นั่นคือเส้นทางของ "...Academy Fantasia..." ทั้งนี้ในแต่ละซีซั่นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทำนองเพลงให้เข้ากับ Theme หลักของซีซั่นนั้นด้วย


[แก้] ผลการแข่งขัน

ฤดูกาลที่ ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 รองชนะเลิศอันดับ 2 ผู้เข้าชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันตัวจริงที่ถูกคัดออกก่อนรอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ผ่านการคัดเลือก จำนวนผู้เข้าแข่งขัน
AF1 วิทย์ V2
พชรพล จั่นเที่ยง
จีน V1
ธัญนันท์ มหาพิรุณ
อ๊อฟ V6
ปองศักดิ์ รัตนพงษ์
V9ซีแนม(อันดับ4),น้ำตาล V7 (อันดับ5),
เค V4 (อันดับ6)
V5จุ้มจิ้ม, V10ปอ,แนน V3, V12นุ่น,
แหม่ม V11,ท็อป V8 (ติดสัญญากับค่ายอื่น)
ไม่มี 12
(ตัดสิทธิ์ 1)
AF2 อ๊อฟ V4
ศุภณัฐ เฉลิมชัยเจริญกิจ
พัด V6
พัดชา เอนกอายุวัฒน์
บอย V8
พิษณุ นิ่มสกุล
(ได้รับการโหวตกลับ)
V9พาส (อันดับ4), V2เปรี้ยว (อันดับ5) V12โจ,V1ลูกตาล ,กุ๊กไก่ V7, V3ว่าน,
V11มาย, V5มิว,V10โอ๋
ไม่มี 12
AF3 ตุ้ย V12
เกียรติกมล ล่าทา
ต้า V1
สักกทัศน์ กุลไพศาล
บอย V8
สิทธิชัย ผาบชมพู
V5,มิ้นท์ (อันดับ4),ซาร่า V4 (อันดับ5) ก้อ V9, V7,โด่ง, V6,ตูน ,แอปเปิ้ล-เชอร์รี่V3,
V11,บรูน่า เพชร V2, V10ลูกตาล
ไม่มี 13
AF4 นัท V1
ณัฐ ศักดาทร
ต้อล V9
วันธงชัย อินทรวัตร
พะแพง V3
ศุภรดา เต็มปรีชา
V8มิวสิค (อันดับ4), V17ลูกโป่ง (อันดับ5), V19ปอง (อันดับ6 - ได้รับการเลือกกลับ) V11แคท,V12ตี๋, V6อิ๋งอิ๋ง, V18ปุยฝ้าย,
V2แจ็ค, V16โจ้
V5บอมบ์, V7เอี่ยว,V13แมน, V15ดิว,น้ำฝน V10,V20เดียร์,V14แอนตี้,แอ้ V4 20
AF5 นัท V13
ณัฎฐ์ ทิวไผ่งาม
(ได้รับการโหวตกลับ)
รอน V12
ภัทรภณ โตอุ่น
ปั๊ม V8
สหรัส นฤคุปต์ชาญชัย
V10กู๊ด (อันดับ4),กี๋ V14 (อันดับ5) V16กรีน, V6มิกกี้,V5โบว์ V3แต๊บ,
V1พริ้ง, V15ว่าน,V9หนิม
เบียร์ V2,เบ๊นซ์ V4แนน V7,เดียร์ V11, 16
AF6 ซานิ V6
นิภาภรณ์ ฐิติธนการ
แอน V10
ศิริพรรณ นำเจริญสมบัติ
ที V5
ทีป์ชลิต พรหมชนะ
V8แม็ค(อันดับ4) V3กุญแจซอล, V9นุกนิก,นิวตี้ V4,อ๊อฟ V2, V1อิช์ค,อิชย์ V12,แท๊บบี้ V11, V7กฤษ ไม่มี 12
AF7

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 1.2 อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์ ,อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ฮิตติดจอ 5 ปี ไม่เสื่อม positioningmag.com
  2. ^ 2.0 2.1 นิตยสาร Positioning ฉบับที่ 40 เดือน ตุลาคม 2550

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons
ภาษาอื่น