พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
ข้อมูล
วันประสูติ 3 กันยายน พ.ศ. 2386
วันสิ้นพระชนม์ 25 มีนาคม พ.ศ. 2441
พระอิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระบิดา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
พระมารดา หม่อมกลีบ
หม่อม 8 คน
บุตร 11 คน
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี

พลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (3 กันยายน พ.ศ. 2386 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441) พระนามเดิม หม่อมเจ้าขจร อดีตผู้บัญชาการกรมทหารเรือระหว่าง 8 เมษายน พ.ศ. 2430 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441 และทรงเป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือในสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรณีพิพาท ร.ศ. 112อีกด้วย

หม่อมเจ้าขจร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ประสูติแต่หม่อมกลีบ ต่อมาทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ ทรงเป็นผู้กำกับกรมช่างสิบหมู่ กรมพระคชบาล เป็นผู้ออกแบบสร้างพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข เพื่อเป็นที่ประทับในคราวเสด็จประพาสต้น เมื่อปี พ.ศ. 2433 ประดิษฐานอยู่ที่ถ้ำพระยานคร ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ประจวบคีรีขันธ์ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทรงยกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง

พระองค์รับราชการในหน้าที่ต่าง ๆ จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์[1]

[แก้] พระโอรส-พระธิดา

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ ทรงมีโอรส-ธิดา จำนวน 11 คน จากหม่อมจำนวน 8 คน หม่อมราชวงศ์ทั้ง 11 คน มีชื่อขึ้นต้นด้วย ป ปลา เป็นอักษรพยางค์เดียวทั้งหมด

[แก้] อ้างอิง

สมัยก่อนหน้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ สมัยถัดไป
นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
2leftarrow.png ผู้บัญชาการทหารเรือ
(15 เมษายน พ.ศ. 2433 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441)
2rightarrow.png นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์