สงครามเวียดนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สงครามเวียดนาม
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น
UH-1combatmission1970.jpg
เฮลิคอปเตอร์ UH-1 ของสหรัฐบินเหนือเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในปี พ.ศ. 2513
วันที่ พ.ศ. 2500 - 2518
สถานที่ เวียดนาม กัมพูชา และลาว
สาเหตุ รวมชาติเวียดนาม (เวียดนามเหนือ)
ทฤษฎีโดมิโน (สหรัฐอเมริกา)
ผลลัพธ์ สนธิสัญญาสันติภาพเพื่อให้ทหารอเมริกาถอนทัพใน พ.ศ. 2516
ชัยชนะของเวียดนามเหนือ
เวียดนามใต้สิ้นสภาพประเทศและการรวมชาติเวียดนาม
ความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร
ผู้ร่วมสงคราม
ฝ่ายโลกเสรี
Flag of South Vietnam.svg เวียดนามใต้
Flag of the United States.svg สหรัฐอเมริกา
Flag of South Korea (bordered).svg เกาหลีใต้
Flag of Australia.svg ออสเตรเลีย
Flag of New Zealand.svg นิวซีแลนด์
Flag of the Philippines.svg ฟิลิปปินส์
Flag of กัมพูชา สาธารณรัฐเขมร
Flag of ไทย ไทย
Flag of ลาว ราชอาณาจักรลาว
ฝ่ายคอมมิวนิสต์
Flag of North Vietnam.svg เวียดนามเหนือ
FNL Flag.svg เวียดกง
Flag of the People's Republic of China.svg จีน
Flag of the Soviet Union.svg สหภาพโซเวียต
Flag of North Korea.svg เกาหลีเหนือ
Flag of กัมพูชา เขมรแดง
Flag of ลาว ขบวนการปะเทดลาว
ผู้บัญชาการ
Flag of ประเทศเวียดนามใต้ เหวียนวันเทียว
Flag of ประเทศเวียดนามใต้ ลัมกวางที
Flag of ประเทศเวียดนามใต้ เหวียนเกากี
Flag of ประเทศเวียดนามใต้ โงยินห์เสี่ยม
Flag of ประเทศเวียดนามใต้ โงกวางเจื่อง
Flag of the United States ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์
Flag of the United States จอห์น เอฟ. เคนเนดี
Flag of the United States ลินดอน บี. จอห์นสัน
Flag of the United States Robert McNamara
Flag of the United States วิลเลียม เวสต์มอร์แลนด์
Flag of the United States ริชาร์ด นิกสัน
Flag of the United States เจอรัลด์ ฟอร์ด
Flag of the United States Creighton Abrams
Flag of the United States Frederick Weyand
Flag of the United States เอลโม ซุมวอลท์
Flag of the United States จอห์น พอล แวนน์
Flag of the United States โรบิน โอลด์ส
Flag of กัมพูชา ลอน นอล
Flag of เกาหลีใต้ ปักจุงฮี
Flag of ไทย ถนอม กิตติขจร
Flag of ออสเตรเลีย แฮโรลด์ โฮลท์
Flag of นิวซีแลนด์ Keith Holyoake
Flag of the Philippines เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ โฮจิมินห์
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ เลหย่วน
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ เจื่องชินห์
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ เหงียนจีแทงห์
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ วอเหวียนยาป
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ ฝ่ามฮุง
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ Văn Tiến Dũng
FNL Flag.svgFlag of ประเทศเวียดนามเหนือ Trần Văn Trà
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ เลดึ๊กเถาะ
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ Đồng Sỹ Nguyên
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ Nguyễn Hữu An
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ เลดึ๊กแอง
FNL Flag.svgFlag of ประเทศเวียดนามเหนือ Tran Do
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ Nguyen Van Toan
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ Hoang Minh Thao
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ Nguyen Minh Chau
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ Tran The Mon
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ ชูฟองโด่ย
Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ เจื่องมุก
FNL Flag.svg วอมินห์เจียต
Flag of กัมพูชา พอล พต
Flag of the People's Republic of China เหมาเจ๋อตุง
Flag of the Soviet Union นิกิตา ครุสชอฟ
Flag of the Soviet Union เลโอนิด เบรสเนฟ
ความสูญเสีย
Flag of ประเทศเวียดนามใต้ เวียดนาม ตาย: 220,357;[1] บาดเจ็บ: 1,170,000
Flag of the United States สหรัฐฯ ตาย: 58,159;[1] สูญหาย 2,000; บาดเจ็บ: 303,635[2]
Flag of เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ ตาย: 4,960; บาดเจ็บ: 10,962
Flag of ไทย ไทย ตาย: 1,351[1]
Flag of ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ตาย: 520;[1] บาดเจ็บ: 2,400*
Flag of นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ ตาย: 37; บาดเจ็บ: 187

รวมยอดผู้เสียชีวิต: 285,831
รวมยอดผู้บาดเจ็บ: ~1,490,000

Flag of ประเทศเวียดนามเหนือ FNL Flag.svg เวียดนามเหนือและเวียดกง ตาย/สูญหาย: 1,176,000;[1]
บาดเจ็บ: 600,000+[3]
Flag of the People's Republic of China สาธารณรัฐประชาชนจีน ตาย: 1,446; บาดเจ็บ: 4,200
Flag of the Soviet Union สหภาพโซเวียต ตาย: ไม่ทราบ, คาดว่าไม่เกิน 24 คน

รวมยอดผู้เสียชีวิต: ~1,177,446
รวมยอดผู้บาดเจ็บ: ~604,000+

พลเรือนเวียดนามใต้ตาย: 1,581,000*[1]
พลเรือนกัมพูชาตาย: ~700,000*
พลเรือนเวียดนามเหนือตาย: ~3,000,000*
พลเรือนลาวตาย: ~50,000*


* = จำนวนโดยประมาณ

สงครามเวียดนาม (Vietnam War, ค.ศ. 1957-1975) เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ที่สนับสนุนโดยสหรัฐอเมริกา เพื่อตัดสินว่าควรรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียวตามข้อตกลงเจนีวา ค.ศ. 1954 หรือไม่ สงครามจบลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ และรวมประเทศเวียดนามทั้งสองเข้าด้วยกัน ซึ่งปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเวียดนาม ในประเทศเวียดนามเองเรียกสงครามนี้ว่า สงครามปกป้องชาติจากอเมริกัน หรือ สงครามอเมริกัน

เนื้อหา

[แก้] สาเหตุของสงครามเวียดนาม

[แก้] กำเนิดขบวนการใต้ดิน

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการเวียดมินห์ ได้ถือกำเนิดขึ้น โดย โฮจิมินห์ เป็นผู้นำ ระยะแรก การดำเนินการนั้น เพียงเพื่อหวังว่าจะขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศไปเท่านั้น แต่ครั้นในปี ค.ศ. 1944 พวกเวียดมินห์ได้ตั้งกองบัญชาการกองโจรขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนกำลังและอาวุธจากสหรัฐอเมริกา แต่กำลังการรบของเวียดมินห์นั้นยังเป็นกองกำลังเล็กๆ ยังไม่สามารถที่จะไปต่อต้านพวกญี่ปุ่นได้
ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป คือ ญี่ปุ่นได้ปลดอาวุธและขังทหารฝรั่งเศสประจำอินโดจีน จึงเป็นเหตุทำให้ฝรั่งเศสนั้นเสียศักดิ์ศรีไปมาก เพราะขณะเกิดเรื่องนี้ ญี่ปุ่นกำลังจะแพ้สงคราม ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวเวียดนามกลุ่มต่างๆ ที่ดิ้นรนเพื่อเป็นเอกราช ได้เริ่มดำเนินการทันที ซึ่งผู้นำนั้นก็คือ เบาไต๋ ซึ่งเคยเป็นจักรพรรดิแคว้นอันนัม ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็น "จักรพรรดิแห่งเวียดนาม" และต่อมาทำให้กลุ่มของเบาไต๋ มีความหวังยิ่งขึ้น คือ นายพลเดอโกลล์ ได้กล่าวคลุมเครือว่าอยากให้เวียดนามปกครองตนเอง ซึ่งทำให้พวกชาตินิยมในเวียดนามต่างก็มีความหวังในเรื่องเอกราชโดยสันติวิธียิ่งขึ้นไปอีก แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาได้ทำลายความหวังลงไป เพราะกลุ่มเวียดมินห์ได้สั่งให้ประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น แต่คำสั่งนี้มีเจตนาแอบแฝง ไว้เพื่อหวังผลอีกทางหนึ่ง โดยมีเจตนาหาทางป้องกันไม่ให้ฝรั่งเศสกลับมามีอำนาจในเวียดนามอีก

[แก้] ประกาศเอกราชในเวียดนาม

ซึ่งการที่กลุ่มเวียดมินห์นั้นได้สั่งให้ประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น ได้ผลดีมากในทางภาคเหนือของประเทศ จักรพรรดิเบาไต๋ได้สละตำแหน่งประมุขของประเทศแล้วจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น แล้วประกาศเอกราชในเวลาต่อมา ความสำเร็จในการยึดอำนาจครั้งนี้ ทำให้พวกคอมมิวนิสต์ที่ปะปนอยู่ในหมู่ชาตินิยมเวียดนามสามารถตั้งตนในหมู่คณะชั้นนำของขบวนการปฏิวัติได้

[แก้] ต่างชาติเข้าแทรกแซง

ฝรั่งเศสยังมีความพยายามที่จะยึดครองเวียดนามอยู่ แต่โอกาสยังไม่อำนวยเพราะขาดกำลังทหารและพาหนะลำเลียง แต่เวียดนามก็ยังคงตกอยู่ในสภาพดังเดิม เพราะมหาอำนาจฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามได้เข้ามายึดครองแทน โดยมีอังกฤษเข้ายึดครองภาคใต้ของเวียดนาม จีนคณะชาติยึดครองทางภาคเหนือของเวียดนาม ชาวเมืองต่างไม่พอใจในการกระทำของอังกฤษ นายพลเกรซี่ย์ ผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษในเวียดนาม ได้ประกาศกฎอัยการศึกในเขตที่ยึดครอง สำหรับฝรั่งเศสมีทหารจำนวนเล็กน้อยได้มาถึงไซง่อนแล้ว ไปยึดตึกที่ทำการของรัฐบาล รื้อฟื้นอำนาจของฝรั่งเศสใหม่

[แก้] ขบวนการผู้รักชาติ

โฮจิมินห์เริ่มเล็งเห็นถึงความเสียเปรียบ พยายามที่จะเอาชนะฝรั่งเศส ซึ่งกระทำได้ก็โดยการรวบรวมชาวเวียดนามที่มีหัวชาตินิยมไปเป็นพวก และเพื่อเป็นการปกปิดการหนุนหลังคอมมิวนิสต์ พร้อมกับแสดงให้ประชาชนเห็นว่าเป็น ขบวนการผู้รักชาติ โดยสั่งยุบพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย และจัดตั้ง แนวแห่งชาติ ขึ้นแทน ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์นั้นได้กลายเป็นองค์กรใต้ดิน ดำเนินการอย่างลับๆต่อมาเป็นเวลานาน

[แก้] ข้อตกลงระหว่างจีนคณะชาติกับฝรั่งเศส

ภาคเหนือของเวียดนาม เป็นที่มั่นของขบวนการเวียดมินห์แต่มีกองทัพจีนคณะชาติอยู่ ฝรั่งเศสอยากให้จีนคณะชาติถอนตัวไปเพื่อจะได้ปราบพวกเวียดมินห์ และยึดภาคเหนือคืนได้สะดวกขึ้น ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 ฝรั่งเศสจึงได้ตกลงกับเจียงไคเซ็ค ยอมยกเลิกสิทธพิเศษในจีนเพื่อแลกกับการถอนทหารจีนออกไปจากภาคเหนือของเวียดนาม โฮจิมินห์พอเข้าใจถึงผลจากข้อตกลงนี้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้ต้องปะทะกับฝรั่งเศสและจีน จึงต้องยอมให้ฝรั่งเศสยึดที่มั่นบางแห่งในภาคกลางและภาคเหนือ เพราะขณะนี้ โฮจิมินห์ ยังไม่พร้อมที่จะรบหรือต่อต้านกับชาติใดๆทั้งสิ้น

[แก้] พยายามแสวงหาสันติภาพ

ฝรั่งเศสและเวียดมินห์ต่างก็พยายามจะตกลงกันโดยสันติวิธีโดยโฮจิมินห์ยอมให้ฝรั่งเศสเคลื่อนกำลังเข้ายังฮานอยและไฮฟอง ส่วนฝรั่งเศสก็ตอบแทนด้วยการรับปากว่าจะให้เวียดนามเป็น ประเทศเสรี แต่ผลที่ได้รับจากการตกลงดังกล่าว ได้กลายเป็นสาเหตุแห่งความยุ่งยากร้ายแรงในเวลาต่อมา กล่าวคือ การประชุมเจรจากันระหว่าง 2 ประเทศนั้นไม่ลงรอยกันมากขึ้น เพราะการประชุมส่วนใหญ่เกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไม่ได้กล่าวถึงเสรีภาพเลย ฝรั่งเศสมุ่งที่จะยึดครองด้วยกำลังทหาร ในช่วงเวลานี้ได้เกิดเหตุร้ายในไฮฟองหลายครั้ง ฝรั่งเศสระดมยิงหมู่บ้านไฮฟองเสียหายมากมาย
ผลจากการกระทำดังกล่าว ทำให้ฝ่ายเวียดมินห์เห็นว่า การตกลงโดยสันติวิธีกับฝรั่งเศสคงไม่เป็นผล ดังนั้นจึงได้สั่งเคลื่อนกำลังพลโจมตีกองทหารฝรั่งเศสทั่วประเทศทันทีในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1946

[แก้] ปัญหาระหว่างฝรั่งเศส - เวียดมินห์

เอกราชของเวียดมินห์ที่ชาวเวียดนามแสวงหา กลายเป็นปัญหาสำคัญทางการเมืองที่สำคัญที่สุด และเป็นผลทำให้ชาวเวียดนามที่มีหัวปานกลางที่สังกัดกลุ่มชาตินิยม ซึ่งในระยะแรกคิดจะปรองดองกับฝรั่งเศส โดยจะยอมรับการปกครองของฝรั่งเศสแบบใดแบบหนึ่ง แล้วต้องสัญญาให้เอกราชที่สมบูรณ์ในภายหลัง แต่ฝรั่งเศสไม่สนใจ จึ่งทำให้พวกชาตินิยมกลุ่มนี้พยายามจัดตั้ง แนวสหภาพชาตินิยม เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1947 และได้กลายเป็นพลังการต่อต้านที่สำคัญในเวลาต่อมา

ด้วยเหตุดังกล่าว ฝรั่งเศสจึงได้กลายเป็นที่เกลียดชังของพวกชาตินิยมชาวเวียดนาม แม้แต่พวกไม่เคยต่อต้านฝรั่งเศสและนักการเมืองก็ต้องให้ความร่วมมือกับพวกปฏิวัติ หรือหนีไปนอกประเทศ ต่อมาในภายหลังฝรั่งเศสได้เสนอต่อเวียดนาม ให้มีเสรีภาพในวงกรอบแห่งสหภาพฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ให้ความแน่ชัดในทางปฏิบัติ จึงเป็นเหตุให้พวกเวียดมินห์ที่ไม่พอใจฝรั่งเศส ทำการกวาดล้างชาวเวียดนามด้วยกันเองที่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวของฝรั่งเศส

ปี ค.ศ. 1948 โงดินห์เตียมได้เสนอให้ฝรั่งเศสยกฐานะเวียดนามขึ้นเป็นประเทศในเครือจักรภพ แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับ แต่อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสก็พยายามที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดของตนด้วยการเชิญเบาไต๋ ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล แต่ก็ไม่เกิดผลดีแก่ฝรั่งเศสแต่อย่างใด เพราะฝ่ายชาตินิยมหมดความไว้วางใจในฝรั่งเศสเสียแล้ว นอกจากนี้พวกคอมมิวนิสต์เวียดมินห์ ได้ควบคุมความเคลื่อนไหวของพวกชาตินิยมโดยสิ้นเชิง และเบาไต๋ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมของประชาชน

การมองข้ามความสำคัญของพลังความรู้สึกทางชาตินิยมของชาวเวียดนาม และการไม่แสวงหาสันติภาพด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นความผิดพลางขั้นแรกของฝรั่งเศส ตลอดจนไม่นึกถึงความสำคัญของความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชน ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยให้ข้าศึกสามารถรวมตัวกันได้เป็นปึกแผ่นและรวดเร็วยิ่งขึ้น

สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มเข้าช่วยฝรั่งเศสในการรบกับเวียดมินห์ เมื่อปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปพัวพันกับเวียดนามมากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในด้านการทหาร เศรษฐกิจก็เพิ่มขึ้นด้วย

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Aaron Ulrich (Editor) ; Edward FeuerHerd (Producer & Director). (2005 & 2006). Heart of Darkness: The Vietnam War Chronicles 1945-1975 (Box set, Color, Dolby, DVD-Video, Full Screen, NTSC) [Documentary]. Koch Vision. Event occurs at 321 minutes. ISBN 1-4172-2920-9.
  2. ^ Vietnam war-eyewitness booksW.; Iraq and Vietnam: Differences, Similarities and Insights, (2004: Strategic Studies Institute)]
  3. ^ Soames, John. A History of the World, Routledge, 2005.
Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
สงครามเวียดนาม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ประวัติศาสตร์ สงครามเวียดนาม เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สงครามเวียดนาม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์