บาท (สกุลเงิน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บาท (สกุลเงิน)
บาทไทย
ธนบัตรและเหรียญเงินบาทไทย เหรียญสตางค์อะลูมิเนียม
ธนบัตรและเหรียญเงินบาทไทย เหรียญสตางค์อะลูมิเนียม
รหัส ISO 4217 THB
ใช้ใน ประเทศไทย
อัตราเงินเฟ้อ 5.1%
ข้อมูลจาก The World Factbook (พ.ศ. 2549)
หน่วยย่อย
1/100 สตางค์
สัญลักษณ์ ฿
เหรียญ
เหรียญที่ใช้บ่อย 25, 50 สตางค์, 1, 2, 5, 10 บาท
เหรียญที่ไม่ใช้บ่อย 1, 5, 10 สตางค์
ธนบัตร
ธนบัตรที่ใช้บ่อย 20, 50, 100, 500, 1000 บาท
ธนาคารกลาง ธนาคารแห่งประเทศไทย
เว็บไซต์ www.bot.or.th
โรงกษาปณ์ สำนักกษาปณ์
เว็บไซต์ www.trd.mof.go.th

เงินบาท (ตัวละติน: Baht ; สัญลักษณ์: ฿ ; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ 8,400 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 8,400 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน

เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงิน หนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านั้นเงินตราไทยใช้ระบบดังนี้

หน่วยเงิน มูลค่า หมายเหตุ
หาบ 80 ชั่ง หรือ 6,400 บาท
ชั่ง 20 ตำลึง หรือ 80 บาท
ตำลึง 4 บาท
บาท 1 บาท
มายน หรือ มะยง 12 บาท
สลึง 14 บาท
เฟื้อง 18 บาท
ซีก หรือ สิ้ก 116 บาท
เสี้ยว เซี่ยว หรือ ไพ 132 บาท
อัฐ 164 บาท
โสฬส หรือ โสฬศ 1128 บาท
เบี้ย 16400 บาท

[แก้] เหรียญ

ในปัจจุบัน มีการผลิตเหรียญกษาปณ์อยู่ทั้งหมด 9 ชนิดคือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น

แต่ในปัจจุบัน ได้เกิดปัญหาราคาวัตถุดิบในการผลิตเหรียญสูงกว่าราคาเหรียญ ทำให้เกิดการลักลอบหลอมเหรียญไปขาย หรือบางครั้งก็เกิดปัญหาการใช้เหรียญผิด เพราะรูปร่างและสีของเหรียญบางชนิดนั้นคล้ายกัน (เช่น เหรียญ 1 บาท กับ เหรียญ 2 บาท แบบเก่า) ดังนั้น ใน พ.ศ. 2552 กระทรวงการคลัง ได้เปลี่ยนแปลงวัตถุดิบในการผลิตเหรียญบางชนิด เพื่อป้องกันการหลอมเหรียญและสร้างความแตกต่างของเหรียญ ลดความยุ่งยากในการใช้เหรียญ เป็นดังนี้

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (พ.ศ. 2552) [1]
ภาพ มูลค่า ข้อมูล ภาพ ปีที่ประกาศใช้
ด้านหน้า ด้านหลัง เส้นผ่านศูนย์กลาง   น้ำหนัก   ส่วนประกอบ ด้านหน้า ด้านหลัง
1 satang observe.png 1 satang reverse.png 1 สตางค์ 15 มม. 0.5 กรัม อะลูมิเนียม ร้อยละ 99 พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระเจดีย์วัดพระธาตุหริภุญชัย พ.ศ. 2530
5 satang obverse.png 5 satang reverse.png 5 สตางค์ 16.5 มม. 0.6 กรัม พระปฐมเจดีย์ พ.ศ. 2530
10 satang obverse.png 10 satang reverse.png 10 สตางค์ 17.5 มม. 0.8 กรัม พระเจดีย์วัดพระธาตุเชิงชุม พ.ศ. 2530
25 satang obverse.png 25 satang reverse.png 25 สตางค์ 16 มม. 1.9 กรัม เหล็กกล้าชุบทองแดง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พ.ศ. 2530
50 satang obverse.png 50 satang reverse.png 50 สตางค์ 18 มม. 2.4 กรัม พระเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพ พ.ศ. 2530
1 baht obverse & reverse.jpg 1 บาท 20 มม. 3 กรัม เหล็กกล้าชุบนิเกิล พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ. 2529
2 baht Obverse (2009).png 2 baht Reverse 2009.png 2 บาท 21.75 มม. 4 กรัม อะลูมิเนียมบรอนซ์ พระบรมบรรพต วัดสระเกศ พ.ศ. 2548
5 baht Obverse & Reverse.jpg 5 บาท 24 มม. 6 กรัม คิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดง พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร พ.ศ. 2531
10 baht Obverse & Reverse.jpg 10 บาท 26 มม. 8.5 กรัม วงแหวน: คิวโปรนิกเกิล
ตรงกลาง: อะลูมิเนียมบรอนซ์
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม พ.ศ. 2531

[แก้] ธนบัตร

ธนบัตรที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่หลายชนิดเป็นธนบัตรที่ระลึกที่มีจำนวนจำกัด และไม่ถูกใช้ในการหมุนเวียนทั่วไป เช่น ธนบัตรทีระลึกมูลค่า 60 บาท เป็นต้น ส่วนธนบัตรที่ถูกใช้หมุนเวียนทั่วไป และยังมีการผลิตอยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน มี 5 ชนิด ได้แก่ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1000 บาท

ธนบัตรที่หมุนเวียนใช้ในระบบเศรษฐกิจ [2]
ภาพ มูลค่า ขนาด สี ด้านหน้า ด้านหลัง วันที่ออกใช้
20 บาท 20 บาท 20 บาท 138 × 72 มม. เขียว พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร 3 มีนาคม 2546
50 บาท 50 บาท 50 บาท 144 × 72 มม. น้ำเงิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 ตุลาคม 2547
100 บาท 100 บาท 100 บาท 150 × 72 มม. แดง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 21 ตุลาคม 2548
500 บาท 500 บาท 500 บาท 156 × 72 มม. ม่วง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 สิงหาคม 2544
1000 บาท 1000 บาท 1000 บาท 162 × 72 มม. เทา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 25 พฤศจิกายน 2548

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


หน่วยเงินในประเทศไทย
เหรียญกษาปณ์   หมุนเวียน 25 สตางค์ | 50 สตางค์ | 1 บาท | 2 บาท | 5 บาท | 10 บาท
ใช้ระหว่างสถาบันการเงินเท่านั้น 1 สตางค์ | 5 สตางค์ | 10 สตางค์
ที่ระลึก พ.ศ. 2504-2529 · พ.ศ. 2530-2539 · พ.ศ. 2540-2549 · พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน
ธนบัตร หมุนเวียน 20 บาท | 50 บาท | 100 บาท | 500 บาท | 1000 บาท
ที่ระลึก 60 บาท | 500000 บาท
ยกเลิก 50 สตางค์ | 1 บาท | 5 บาท | 10 บาท
อื่นๆ พดด้วง | เบี้ย | โสฬส | อัฐ | เสี้ยว (ไพ) | ซีก | เฟื้อง | สลึง | มายน (มะยง) | บาท | ตำลึง | ชั่ง | หาบ | บัตรธนาคาร 60 บาท