สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
เป็นส่วนหนึ่งของ การรวมชาติเยอรมนี
Lignedefeu16August.jpg
ภาพยุทธการมารส์-ลา-ตูร์
วันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870
10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871
สถานที่ ฝรั่งเศส และ ปรัสเซีย
ผลลัพธ์ เยอรมนีได้รับชัยชนะ
สนธิสัญญาแฟรงเฟิร์ต
อาณาเขต
เปลี่ยนแปลง
การก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมัน
เยอรมันผนวกอัลซาซ-ลอร์แรน
การสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2
การก่อตั้งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 3
ผู้ร่วมสงคราม
Flag of ฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 (ถึง 4 กันยายน ค.ศ. 1870)
Flag of ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (เริ่ม 4 กันยายน ค.ศ. 1870)
Flag of จักรวรรดิเยอรมัน สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ:

Flagge Großherzogtum Baden (1871-1891).svg บาเดน
Flag of the Kingdom of Bavaria บาวาเรีย
Flagge Königreich Württemberg.svg เวือร์ทเทมแบร์ก

ผู้บัญชาการ
Flag of ฝรั่งเศส นโปเลียนที่ 3  #
Flag of ฝรั่งเศส François Achille Bazaine  #
Flag of ฝรั่งเศส Louis Jules Trochu
Flag of ฝรั่งเศส Patrice de Mac-Mahon, duc de Magenta
Flag of ฝรั่งเศส Léon Gambetta
War Ensign of Prussia (1816).svg วิลเฮล์มที่ 1
War Ensign of Prussia (1816).svg Helmuth von Moltke the Elder
กองกำลัง
492,585 active[1]
417,366 Garde Mobile[2]
300,000 regular
900,000 reserves and Landwehr[3]
ความสูญเสีย
138,871 เสียชีวิต[4]
143,000 บาดเจ็บ
474,414 ถูกจับเป็นเชลย[5]
44,781 เสียชีวิต
89,732 บาดเจ็บ[6]

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมนี (อังกฤษ: Franco-Prussian War หรือ Franco-German War) ในฝรั่งเศสเรียกกันว่า "สงคราม ค.ศ. 1870"[7] (1870 War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและปรัสเซีย โดยปรัสเซียได้รับการสนับสนุนจากสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือที่ปรัสเซียเป็นสมาชิก และรัฐเยอรมันตอนใต้ที่รวมทั้งบาเดน, เวือร์ทเทมแบร์ก และบาวาเรีย ชัยชนะของปรัสเซียและเยอรมนีนำมาสู่การรวมตัวเป็นเยอรมนีภายใต้จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 และเป็นการสิ้นสุดของอำนาจของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3และจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ที่มาแทนที่ด้วยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ในส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาแฟรงเฟิร์ต ดินแดนเกือบทั้งหมดของอัลซาซ-ลอร์แรนถูกยึดครองโดยปรัสเซียและกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีมาจนถึงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1

ความขัดแย้งเป็นผลมาจากความตึงเครียดที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีระหว่างสองมหาอำนาจที่ในที่สุดก็ปะทุขึ้นเป็นสงคราม ที่มีสาเหตมาจากกรณีของผู้มีสิทธิของราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นในราชบัลลังก์สเปนที่ว่างลงหลังจากการโค่นราชบัลลังก์ของสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปน ในปี ค.ศ. 1868 ความขัดแย้งในที่สุดก็นำไปสู่การประกาศสงครามของฝรั่งเศสเฉพาะต่อปรัสเซียเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 แต่รัฐเยอรมันอื่นเข้าร่วมสนับสนุนฝ่ายปรัสเซีย

ความมีประสิทธิภาพของกองกำลังปรัสเซียและเยอรมันเห็นได้ชัดไม่นานหลังจากการเริ่มสงคราม ที่บางส่วนมาจากระบบการขนส่งทางรถไฟและการผลิดอาวุธจากเหล็กกล้าที่มีคุณภาพสูง ปรัสเซียมีระบบการขนส่งทางรถไฟที่หนาแน่นเป็นที่สี่ในโลก ฝรั่งเศสเป็นที่ห้า[8] ชัยชนะอันรวดเร็วติดต่อกันของปรัสเซียและเยอรมนีทางด้านตะวันออกของฝรั่งเศสเกิดขึ้นในยุทธการเซดาน ที่นโปเลียนที่ 3 และกองทัพถูกจับได้เมื่อวันที่ 2 กันยายน แต่กระนั้นก็ไม่ได้เป็นการยุติสงคราม เมื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ได้รับการประกาศก่อตั้งขึ้นในปารีสเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 ฝรั่งเศสจึงดำเนินการต่อต้านต่อไปภายใต้การนำของอดอล์ฟ ตีแยร์ส และรัฐบาลชุดใหม่

กองทัพเยอรมันใช้เวลาในการรณรงค์เป็นเวลากว่าห้าเดือนในการได้รับชัยชนะต่อกองทหารฝรั่งเศสที่เกณฑ์มาใหม่ในชัยชนะที่ได้รับหลายครั้งทางตอนเหนือของฝรั่งเศส หลังจากการล้อมกรุงปารีสอยู่เป็นเวลานานปารีสก็เสียงกรุงเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1871 การล้อมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการใช้อาวุธต่อต้านยานบินเป็นครั้งแรก สิบวันก่อนหน้านั้นรัฐเยอรมันก็ได้ประกาศการรวมตัวภายใต้พระมหากษัตริย์ปรัสเซียเป็นรัฐชาติจักรวรรดิเยอรมัน สนธิสัญญาแฟรงเฟิร์ต ได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871

เนื้อหา

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Howard, Michael (1991). The Franco-Prussian War: The German Invasion of France 1870–1871. Routledge. pp. 39. ISBN 0-415-26671-8. 
  2. ^ Howard(1991). p. 39
  3. ^ Wawro(2003), p. 42.
  4. ^ Nolte, Frédérick (1884). L'Europe militaire et diplomatique au dix-neuvième siècle, 1815-1884. E. Plon, Nourrit et ce.. pp. 527. 
  5. ^ Nolte(1884). pp. 526-527
  6. ^ Micheal Clodfelter: Warfare and armed conflicts: a statistical reference to casualty and other figures, 1500-2000. Jefferson, NC, 2002 (2nd ed.), ISBN 0-7864-1204-6, p. 210
  7. ^ Taithe, Bertrand (2001). Citizenship and Wars: France in Turmoil 1056-1871. Routledge. 
  8. ^ In Supplying War: Logistics from Wallenstein to Patton (1977), Martin van Creveld argues that the significance of Moltke's use of railways has been somewhat exaggerated:

    There is no doubt that the German siege and bombardment of Paris, involving as they did the concentration in a small space of very large masses of men and heavy expenditure of artillery ammunition, would have been wholly impossible without the railways. Also, the view that the German use of the railways to deploy their forces at the opening of the campaign as a supreme masterpiece of the military art is amply justified, though we have seen that this triumph was only achieved at the cost of disrupting the train apparatus before the war against France even got under way. Between these two phases of the struggle, however, the railways do not seem to have played a very important role, partly because of difficulties with the lines themselves and partly because of the impossibility of keeping the railheads within a reasonable distance of the advancing troops. Most surprising, however, is the fact that none of this had much influence on the course of operations, or indeed caused Moltke any great concern... (p.96)

[แก้] บรรณานุกรม

  • Baumont, Maurice. Gloires et tragédies de la IIIe République. Hachette, 1956.
  • Bresler, Fenton. Napoleon III: A Life. New York: Carroll & Graf, 1999. ISBN 0-7867-0660-0.
  • Gordon A. Craig. Germany: 1866–1945. Oxford University Press, 1980.
  • The Last Days of Papal Rome by Raffaele De Cesare (1909) London, Archibald Constable & Co.
  • Michael Howard. The Franco-Prussian War: The German Invasion of France 1870–1871. New York: Routledge, 2001. ISBN 0-415-26671-8.
  • William Blanchard Jerrold. The Life of Napoleon III. Longmans, Green & Co.,1882.
  • Lowe, William Joseph. The Nest in the Altar or Reminiscences of the Franco-Prussian War of 1870. Reprinted by Chapter Two, London in 1999. ISBN 1-85307-123-4.
  • William Manchester. The Arms of Krupp: 1587–1968. Bantam Books, 1981.
  • Henri Martin; Abby Langdon Alger. A Popular History of France from the First Revolution to the Present Time. D. Estes and C.E. Lauriat, 1882.
  • Holden-Reid, Brian. The American Civil War and the Wars of the Industrial Revolution. Cassel & Co. 1999. ISBN 0-304-35230-6
  • John Frederick Maurice; Wilfred James Long. The Franco-German War, 1870–71. S. Sonnenschein and Co., 1900.
  • McElwee, William. The Art of War: Waterloo to Mons. Bloomington: Indiana University Press, 1974. ISBN 0-253-20214-0
  • Nolte, Frédérick. L'Europe militaire et diplomatique au dix-neuvième siècle, 1815–1884. E. Plon, Nourrit et ce, 1884.
  • Jasper Ridley. Garibaldi. Viking Press, 1976.
  • Robertson, Charles Grant. Bismarck. H. Holt and Co., 1919.
  • Friedrich Wilhelm Rüstow; John Layland Needham. The War for the Rhine Frontier, 1870: Its Political and Military History. Blackwood, 1872.
  • Stoneman, Mark R. "The Bavarian Army and French Civilians in the War of 1870-1871: A Cultural Interpretation," in: War in History 8.3 (2001): 271-93. Reprinted in Peter H. Wilson, ed., Warfare in Europe 1825-1914. The International Library of Essays on Military History, ed. Jeremy Black. Ashgate Publishing, 2006. 135-58.
  • Taithe, Bertrand. Citizenship and Wars: France in Turmoil 1870–1871. Routledge, 2001.
  • A. J. P. Taylor Bismarck: The Man and the Statesman. London: Hamish Hamilton, 1988. ISBN 0-241-11565-5.
  • Wawro, Geoffrey. The Franco-Prussian War: The German Conquest of France in 1870–1871. Cambridge: Cambridge University Press, 2003. ISBN 0-521-58436-1.
  • Martin van Creveld. Supplying War: Logistics from Wallenstein to Patton. Cambridge: Cambridge University Press, 1977. ISBN 0-521-29793-1.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย


ประวัติศาสตร์ สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์