มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
logoubu
“ พัฒนาความรู้ มุ่งสู่ปัญญา
พร้อมคุณค่าคุณธรรม ”

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani University) เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดตั้งในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยจัดตั้งเป็น วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น และยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2533 จากความพยายามที่จะให้มีมหาวิทยาลัยในจังหวัดอุบลราชธานีของทุกฝ่าย รวมทั้งประชาชนในจังหวัดและมีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งที่สองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปัจจุบันนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและการวิจัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยครอบคลุมทั้งสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยที่ยกฐานะมาจาก วิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2533 ในรัฐบาลของ พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ด้วยความมุ่งหมายให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการจัดการศึกษาเน้นหนักทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อความต้องการพัฒนา กำลังคนของประเทศ ซึ่งกำลังมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศ กึ่งอุตสาหกรรม และเพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา ให้แก่ประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งให้มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปปรับปรุงการประกอบวิชาชีพของตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นต่อไป มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2531 ภายใต้ชื่อ "วิทยาลัยอุบลราชธานี" โดยเปิดทำการสอน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 67 คน ซึ่งฝากเรียนไว้ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อมาในปีการศึกษา 2533 วิทยาลัยอุบลราชธานีได้ยกฐานะมาเป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 ได้ย้ายสถานที่จัดการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาประจำ ณ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบริเวณกิโลเมตรที่ 10 - 11 ถนนวารินเดชอุดม ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บนเนื้อที่ประมาณ 5,228 ไร่ และเริ่มจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของคณะเกษตรศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้ถือเอาวันที่ 30 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยแล้วในปี พ.ศ. 2534 คณาจารย์และนักศึกษาทั้งหมด ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มาประจำ ณ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์ โดยสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้แต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นคนแรก ในส่วนของการก่อสร้าง เริ่มต้นด้วยงบประมาณเพียง 16 ล้าน ในปี 2531 อาคารหลังแรก ที่ก่อสร้างคือ อาคารเอนก ประสงค์

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

  • ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันเกรา เป็นไม้สูงประมาณ 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก ใบดกหนาทึบ สีเขียวแก่เป็นมัน ดอกสีเหลืองอมแสด ออกดอกที่ช่อปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมเย็นระรื่นอยู่ 7 วัน จากนั้นจะมีกลิ่นเหม็น ไม้กันเกราสื่อความหมายถึงเครื่องป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ และทำให้เสาเรือนมั่นคง ต้นกันเกราเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบล ราชธานี เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่พบมากใน บริเวณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก “มันปลา” ภาคใต้ เรียก“ตำเสา”ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย
Logoubu.gif
  • ตราประจำมหาวิทยาลัย ใช้สัญลักษณ์ทรงเจดีย์แบบล้านช้าง หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายในมีดอกบัวหลวงประดิษฐานอยู่บนแท่นรองรับของเส้น 3 เส้น ดอกบัวมีสีกลีบบัว อันหมายถึงสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี และเส้น 3 เส้นที่เป็นฐานรองรับดอกบัวนั้น หมายถึงแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ลักษณะของดอกบัวเป็นประเภทบัวเหนือน้ำที่พร้อมจะ เบ่งบาน ให้ความดีงามแก่มหาชนได้ชื่นชม ส่วนกลีบดอกบัวด้านล่างสองกลีบ หมายถึง คุณธรรมและปัญญาอันเป็นเปลือกหุ้มสถาบันสำหรับดอกตูมสามกลีบหมายถึง องค์พระรัตนตรัย สีน้ำเงิน ที่เป็นขอบเส้นของตรามหาวิทยาลัยนั้นมีความ หมายถึง ความมั่นคงแข็งแรงและสีเหลืองสดที่เป็นพื้น หมายถึง สีประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

[แก้] ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดี

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ดร.อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535
2. ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538
3. ศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2547
4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549
5. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.จอมจิน จันทรสกุล พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน
อธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2542
2. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545
3. ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน

[แก้] การศึกษา

[แก้] คณะ/วิทยาลัย/สำนัก

[แก้] ศูนย์/ศูนย์วิจัย/หน่วยงานอื่นๆ




[แก้] สถาบัน

[แก้] วิทยาเขต

[แก้] โรงเรียน

  • โครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

[แก้] การวิจัย

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยโดยที่มุ่งที่จะเป็น Research University จึงมีหน่วยงานหลักที่สนับสนุนการวิจัยคือ งานส่งเสริมการวิจัยและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งทุกคณะจะมีหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย ซึ่งมีโครงการวิจัยที่สำคัญอีกหลายโครงการเช่น

และนอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่วัตถุประสงค์เพื่องานวิจัยโดยเฉพาะได้จัดตั้งเป็นศูนย์วิจัยคือ

และในปี พ.ศ. 2550 ผศ.ดร.วินิช พรมอารักษ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2550 จาก มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

[แก้] พื้นที่มหาวิทยาลัย

ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีพื้นที่ทั้งหมด 5,200 ไร่ แบ่งเป็น

  • พื้นที่ส่วนการศึกษาประมาณ 450 ไร่
  • พื้นที่แปลงทดลองเกษตรและทดลองสัตว์เลี้ยงประมาณ 3000 ไร่
  • พื้นที่ส่วนกีฬาและพักผ่อนประมาณ 200 ไร่
  • พื้นที่บริเวณบ่อเก็บน้ำเพื่อการประปา(หนองอีเจม) ประมาณ 550 ไร่
  • พื้นที่ส่วนที่พักอาจารย์และบุคลากรประมาณ 200 ไร่
  • พื้นที่ส่วนที่พักนักศึกษาประมาณ 300 ไร่
  • ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ส่วนบริการชุมชนและอื่นๆ

[แก้] กิจกรรมนักศึกษา

  • ชุมนุมไอทีคาเฟ่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นหน่วยกลางในการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นเวที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสารสนเทศ
  • "ชุมนุมนักประดิษฐ์"คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดตั้งขั้นเมื่อ พ.ศ. 2544 เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท.ชิงแชมป์ประเทศไทย เข้าร่วมแข่งขันรถฮอนด้าประหยัดน้ำมันและจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ UBU ROBOCON ซึ่งเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ติดตามผลงานได้ทางเวปไซด์ http://www.ubu-inventor.net/

[แก้] พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นประจำทุกปีนับแต่แรกเริ่มก่อตั้งจวบจนกาลปัจจุบัน

[แก้] ศิษย์เก่า

[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

[แก้] วงการการเมืองและข้าราชการ

  • ศรีเมือง เจริญศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2551-2551 เข้ารับการศึกษารัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต (รป.ด.) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จบการศึกษาปีพ.ศ. 2551

[แก้] วงการวิชาการ

[แก้] วงการบันเทิง

[แก้] วงการกีฬา

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


ภาษาอื่น