การบินไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Thaiair.jpg
การบินไทย
IATA
TG
ICAO
THA
Callsign
Thai
ก่อตั้ง 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503
ท่าอากาศยานหลัก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกรุงเทพ
ท่าอากาศยานรอง ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
รายการสะสมแต้ม รอยัลออร์คิดพลัส
ห้องรับรอง Royal First Lounge
Royal Silk Lounge
Royal Orchid Lounge
Royal Orchid SPA
พันธมิตรสายการบิน สตาร์อัลไลแอนซ์
ขนาดฝูงบิน 84 (กำลังสั่งซื้อ 11 รายการ)
จุดหมายปลายทาง 69 (60/9) (ต่างประเทศ/ในประเทศ)ไม่รวม Cargo
บริษัทแม่ [ หน่วยงานในสังกัด กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง ผู้ถือหุ้นใหญ่[1]
สำนักงานใหญ่ กรุงเทพ ประเทศไทย
บุคคลหลัก ดร.อำพน กิตติอำพน
(ประธานกรรมการบริษัท)
ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ (กรรมการผู้อำนวยการใหญ่)
เว็บไซต์: www.thaiairways.com
www.thaiair.com

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Thai Airways International) เป็นสายการบินทั้งภายในและระหว่างประเทศ และมีสภาพเป็นกิจการการบินแห่งชาติของประเทศไทย ในปัจจุบัน เริ่มบินเที่ยวแรกวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 การบินไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของเครือข่ายพันธมิตรสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ ในประเทศไทยมีฉายาเรียกว่า เจ้าจำปี ซึ่งมีที่มาจากสัญลักษณ์ของการบินไทย การบินไทยได้ระดับความปลอดภัย "A" ซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัยที่สุด วัดจากสถิติสะสมตั้งแต่ พ.ศ. 2513 โดย Air Rankings Online

บริษัทวิจัยในธุรกิจการบินของโลก "สกายแทรกซ์ รีเสิร์ช" เผยผลสำรวจเพื่อจัดอันดับสายการบินแห่งปี 2550 ให้การบินไทยได้รับเลือกให้เป็นสายการบินอับดับ 2 ของโลก ขณะที่ในส่วนของเลานจ์สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งของการบินไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมินั้น ได้รับการโหวตให้เป็นเลานจ์สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่ดีที่สุด [2]

สายการบินไทยได้เปิดเส้นทางบินตรง กรุงเทพ-ลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นเส้นทางที่บินไกลเป็นอันดับที่ 5 ของโลกโดยไม่แวะพัก [3]


การบินไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากองค์การอนามัยโลกว่าด้วยสุขอนามัยบนเครื่องบิน

สำนักงานใหญ่ของการบินไทย ที่ถนนวิภาวดีรังสิต

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ดูบทความหลักที่ ประวัติการบินไทย

[แก้] จุดหมายปลายทาง

[แก้] ภาพลักษณ์ขององค์กร

การบินไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่สายการบินที่มีระเบียบการเปลี่ยนเครื่องแบบ โดยพนักงานต้อนรับหญิงประจำเที่ยวบินระหว่างประเทศจะต้องเปลี่ยนเครื่องแบบจากชุดสูทสีม่วง (สำหรับแต่งกายนอกห้องโดยสาร) เป็นชุดไทยประเพณี (เห็นได้จากโฆษณาของสายการบิน) ขณะต้อนรับผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องบิน และต้องเปลี่ยนกลับเป็นชุดสูทเมื่อนำผู้โดยสารออกจากเครื่องบิน

[แก้] ฝูงบิน

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ฝูงบินของการบินไทยประกอบไปด้วยเครื่องบินดังต่อไปนี้ [4]

ฝูงบินของการบินไทย
เครื่องบิน จำนวน/(สั่งซื้อ) รหัสทางการบิน ความจุผู้โดยสารและจุดหมายปลายทาง
(First/Royal Silk/Premium Economy*/Economy)
ตารางนี้ใช้ตั้งแต่ 28 มีนาคม 2553 ถึง 30 ตุลาคม 2553
แอร์บัส เอ 300-600 8
2
6
(AB6)
(AB7)
(AB7)
(AB6) 247 (0/46/0/201) พนมเปญ,ฮานอย,กัวลาลัมเปอร์,เชียงใหม่,เชียงราย,ขอนแก่น,ภูเก็ต,กระบี่,หาดใหญ่
(AB7) 261 (0/28/0/233) ปูซาน,คุณหมิง,กว่างโชว,เฉิงตู,เซี๊ยเหมิน,เชียงใหม่,อุดรธานี,ภูเก็ต,ขอนแก่น,หาดใหญ่
(AB7) 260 (0/28/0/232) ปูซาน,คุณหมิง,กว่างโชว,เฉิงตู,เซี๊ยเหมิน,เชียงใหม่,อุดรธานี,ภูเก็ต,ขอนแก่น,หาดใหญ่
(AB7) 250 (0/28/0/222) ย่างกุ้ง
แอร์บัส เอ 330-300 12
3 (5)
(A333)
(A330)
(A333) 305 (0/42/0/263) มะนิลา,ภูเก็ต-ฮ่องกง,ฮ่องกง,ไทเป,กว่างโชว,เซี่ยงไฮ้,ปักกิ่ง,โฮจิมินต์,สิงคโปร์,จากาต้า,กัลกัตตา,ไฮเดอราบัต,เดลลี,เชนไน,บังกาลอร์,ธากา,โคลัมโบ ,อิสลามาแบด,การาจี-มัสกัต,การาจี,ละฮอร์,ภูเก็ต
(A333) 295 (0/40/0/255) กัวลาลัมเปอร์
(A330) 299 (0/36/263) เพิร์ธ-ภูเก็ต ,เพิร์ธ, นาโกยา, โฮจิมินต์ , ฟูกูโอกะ,กัวลาลัมเปอร์
แอร์บัส เอ 340-500 4
(A345) 215 (0/60/42/113) ลอสแอนเจลิส, ออสโล
แอร์บัส เอ 340-600 6
(A346) 267 (8/60/0/199) ซูริค, ซิดนีย์
262 (8/60/0/194) เซี่ยงไฮ้
แอร์บัส เอ 380-800 (6) (A388) ส่งมอบระหว่าง พ.ศ. 2555-2556 จะใช้สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ – ลอนดอน-ฮีทโธรว์, ปารีส-ชาร์ลส์เดอโกล และแฟรงค์เฟิร์ท
โบอิง 737-400 5 (B734) 150 (0/12/0/138) พนมเปญ,ปีนัง, เชียงราย, ขอนแก่น, อุดรธานี, สุราษฎธานี, สมุย, กระบี่
138 (0/12/0/126) เวียงจันทร์
โบอิง 747-400 6
12
(B747)
(B744)
(B747) 389 (14/50/0/325) โตเกียว
(B747) 389 (0/14/50/325) โคเปนฮาเกน สตอกโฮล์ม
(B747) 389 (0/64/0/325) เชียงใหม่ ภูเก็ต
(B747) 379 (14/48/0/317) ฮ่องกง
(B747) 384 (14/50/0/320) เซี่ยงไฮ้
(B744) 375 (10/40/0/325) มิวนิค มาดริด ปารีส ลอนดอน โรม โตเกียว แฟรงเฟิร์ต
(B744) 375 (0/50/0/325) เชียงใหม่ ภูเก็ต
โบอิง 777-200 8 (B772) 309 (0/30/0/279) โอซากา,มะนิลา,ไทเป-โซล,โซล,กาฏมัณฑุ,เดลลี,ดูไบ,เชียงใหม่
299 (0/28/0/271) ฮ่องกง-โซล
โบอิง 777-200 อีอาร์ 6 (B77E) 292 (0/30/0/262) มิลาน, บริสเบน, มอสโคว, สิงคโปร์ , โอ๊คแลนด์, ซิดนีย์, โตเกียว, โตเกียว-ภูเก็ต,เอเธนส์,โจฮันเนสเบิร์ก (เริ่ม 2มิ.ย.2553)
โบอิง 777-300 6 (B77R) 364 (0/34/0/330) เมลเบิร์น, โซล , จากาตา,มุมไบ
โบอิง 777-200LRF 2 ทำการขนส่งสินค้าในเส้นทาง แฟรงเฟริ์ต ,ฮ่องกง-อัมสเตอร์ดัม
รวมทั้งหมด 86 ลำ (สั่งซื้อ 11 ลำ)

*ชั้นประหยัดพรีเมี่ยมมีในเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพไปลอสแอนเจิลลิสและออสโลเท่านั้น *AB7 A330 B77R B77E B744เป็นรหัสที่การบินไทยใช้เท่านั้นเพื่อกันความสับสนระหว่างเครื่องที่ออกแบบภายในใหม่กับแบบเก่า ไม่สามารถอ้างอิงตามสากลได้


Thai 777-200s in the old (right) and new (left) liveries

ตามข้อมูลเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 อายุเฉลี่ยของฝูงบินของการบินไทยอยู่ที่ 12.1 ปี

การบินไทยสั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ซึ่งจะส่งมอบตั้งแต่ พ.ศ. 2555-2556 เพื่อใช้ในเที่ยวบินไปแฟรงค์เฟิร์ท, ปารีส และลอนดอน ซึ่งยังไม่สามารถเพิ่มความถี่ได้

A 300-600 จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2553-2557 10 ลำ และในปี พ.ศ.2558-2562 อีก 5 ลำ การบินไทยจะทดแทนด้วย A330-300 8 ลำ การส่งมอบเริ่มใน พ.ศ. 2552-2557

การบินไทยมีแผนจะปลดระวางเครื่องบิน 25 ลำ และจัดหาเครื่องบินใหม่ 15 ลำใน ปี พ.ศ. 2553-2557 โดยแบ่งเป็น การเช่าเครื่องบินเพื่อบินระหว่างทวีป 8 ลำ จำนวน350ที่นั่ง และ จัดซื้อเครื่องบินเพื่อบินในภูมิภาค 7 ลำ จำนวน 300 ที่นั่ง

แผนระยะที่ 1 พ.ศ. 2553-2557 การบินไทยมีแผนที่จะปลดระวางเครื่องบิน 25 ลำ และจัดหาเครื่องบินใหม่ 29 ลำ

แบ่งเป็นปลดระวาง Boeing747-400 6 ลำ และปรับปรุงที่นั่งในชั้นทุกชั้น จำนวน12ลำ คาดว่าใช้เวลา 2 ปี A300-600 10 ลำ A340-500 4 ลำ Boeing 737-400 3 ลำ ATR72-201 2 ลำ (ปัจจุบันให้นกแอร์เช่า)

จัดหาเข้าประจำการ A330-300 8 ลำ (ปัจจุบันมาแล้ว3ลำ อีก5ลำบริษัทมีปัญหาเรื่องบริษัทโคอิโตะไม่ผ่านเกณฑ์การรับรองความปลอดภัย)A380-800 6 ลำ เครื่องบินเพื่อบินในภูมิภาค 7 ลำ จำนวน 300ที่นั่ง เครื่องบินเพื่อบินระหว่างทวีป 8 ลำ จำนวน350ที่นั่ง

แผนระยะที่ 2 พ.ศ. 2558-2562 การบินไทยมีแผนที่จะปลดระวางเครื่องบิน 32 ลำ และจัดหาเครื่องบินใหม่ 38 ลำ

แบ่งเป็นปลดระวาง Boeing747-400 6 ลำ Boeing 777-200 8 ลำ A330-300 10 ลำ A300-600 5 ลำ Boeing737-400 3 ลำ

จัดหาเข้าประจำการ เครื่องบินเพื่อบินในภูมิภาค 32 ลำ จำนวน 300 ที่นั่ง เครื่องบินเพื่อบินระหว่างทวีป 6 ลำ จำนวน 350 ที่นั่ง

แผนระยะที่ 3 พ.ศ. 2563-2567 การบินไทยมีแผนที่จะปลดระวางเครื่องบิน 28 ลำ และจัดหาเครื่องบินใหม่ 20 ลำ

แบ่งเป็นปลดระวาง Boeing747-400 6 ลำ Boeing 777-300 6 ลำ A330-300 2 ลำ A340-600 6 ลำ

จัดหาเข้าประจำการ เครื่องบินเพื่อบินในภูมิภาค 12 ลำ จำนวน 300 ที่นั่ง เครื่องบินเพื่อบินระหว่างทวีป 16 ลำ จำนวน 350 ที่นั่ง

เมื่อสิ้นสุดแผนระยะที่ 3 การบินไทยจะปลดระแวงเครื่องบินทั้งหมด 77ลำ ได้แก่ B747-400 ทั้งหมด B777-200 ทั้งหมด B777-300 ทั้งหมด A340-500 ทั้งหมด A340-600 ทั้งหมด A330-300(ปลด12ลำเหลือ8ลำ)Boeing737-400 ทั้งหมด ATR72-201 ทั้งหมด A300-600 เหลือ 1 ลำ จัดหาเข้าประจำการ 95 ลำ รวมแล้วคาดว่าเมื่อสิ้นแผนระยะที่ 3 จะมีทั้งหมด 104 ลำ

ประกอบด้วย A330-300 8 ลำ A300-600 1 ลำ เครื่องบินเพื่อบินในภูมิภาค 51 ลำ จำนวน 300 ที่นั่ง เครื่องบินเพื่อบินระหว่างทวีป 30 ลำ จำนวน 350 ที่นั่ง B777-200LRF 2ลำ B777-200ER 6 ลำ A380-800 6 ลำ

[แก้] บริการในห้องโดยสาร

การบินไทยแบ่งการให้บริการออกเป็น 4 คลาส ได้แก่ รอยัลเฟิร์ส , รอยัล ซิลค์ , ชั้นประหยัดพรีเมี่ยม ,ชั้นประหยัด

[แก้] ชั้นหนึ่ง

การบริการแบบใหม่ในชั้น รอยัลเฟิร์สคลาส นี้มีในเครื่องบินแบบแอร์บัส A340-600 ด้วยที่นั่ง แบบปรับนอนเต็มที่ 8 ที่นั่ง โดยที่นั่งเดียวกันนี้ ยังมีในเครื่องบินแบบโบอิ้ง B747-400 อีก 12 ลำของการบินไทยด้วย ให้บริการเที่ยวบินระหว่าง มาดริด โรม ปารีส ลอนดอน แฟรงเฟริ์ต มิวนิค โตเกียว สำหรับเครื่องบินแบบโบอิ้ง B747-400

ส่วนแอร์บัส A340-600จะมีบริการเพิ่มจากเครื่องบินแบบโบอิ้งB747-400 กล่าวคือไปเส้นทางซูริค,ซิดนีย์, โตเกียว ,ซิดนีย์-บริสเบน,เซี่ยงไฮ้ และดูไบ เพิ่มเติม.ที่นั่งใหม่นี้ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ต่างๆเช่น ระบบนวดผ่อนคลาย ,จอ ส่วนตัวขนาด 10.4 นิ้วพร้อมระบบความบันเทิงส่วนตัวผู้โดยสารในชั้นรอยัลเฟิร์สคลาสนี้สามารถเลือกเมนูอาหาร จากเมนูต่างๆ ทั้ง 22 รายการก่อนขึ้นเครื่องได้อีกด้วย

อนึ่ง การบินไทยได้จัดเครื่องบินแบบโบอิ้งB747-400 เป็นสองแบบโดยเรียกว่า B747 กับ B744 โดยใน B747 ออกแบบภายในเป็นแบบเก่า B747 มี 6 ลำ ใช้บินในเส้นทาง โคเปนฮาเกน สตอกโฮล์ม เซี่ยงไฮ้ โตเกียว ฮ่องกง โดยจะไม่ขายที่นั่งชั้นหนึ่งในเครื่องบินแบบ B747 เฉพาะเส้นทาง โคเปนฮาเกน และสตอกโฮล์ม แต่ขายในราคาชั้นธุรกิจแทน

ส่วนไฟล์ทภายในประเทศที่นั่งชั้นหนึ่งจะขายในราคาแบบที่นั่งชั้นธุรกิจสามารถเลือกนั่งได้ด้วยโดยจะบริการเฉพาะเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ กรุงเทพ-ภูเก็ต เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น B744 หรือ B747 ก็ตามรวมถึง แอร์บัส A340-600

Royal First class check-in ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

[แก้] ชั้นธุรกิจ

ชั้นธุรกิจแบบใหม่หรือ รอยัลซิลค์เปิดตัวครั้งแรกพร้อมกับแอร์บัส A340-500 มาในลักษณะแบบเปลือกหอย มีการติดตั้งชั้นธุรกิจนี้ใน โบอิ้ง 747-400 ,โบอิ้ง 777-300 ,โบอิ้ง 777-200 ,โบอิ้ง 777-200ER ,แอร์บัส A340-500 และ แอร์บัส A340-600 ความห่างระหว่างที่นั้ง 60-62 นิ้ว และความกว้างของที่นั่ง 20-21.5 นิ้ว เมื่อเอนมากที่สุดจะมีลักษณะหลาดเอียงและทุกที่นั่งจะมีระบบนวดในตัว. ทุกที่นั่งจะมีโทรทัศน์ส่วนตัวระบบสัมผัส 10.4 และ 15 นิ้ว (ในเก้าอี้แบบใหม่)

ชั้นธุรกิจแบบเก่ายังมีในเครื่องบินแบบ B737-400 5ลำ (ทั้งหมด) A330-300 12ลำ A300-600 (ทั้งหมด) B747-400 6ลำจาก18ลำ

อนึ่ง A330-300 รุ่นใหม่จะมีการปรับเปลี่ยนชั้นธุรกิจเป็นแบบใหม่เรียกว่า A330 ตอนนี้มีบริการ 3 ลำ จากทั้งหมด 15 ลำ โดยสั่งซื้อมาทั้งหมด 8ลำ

เส้นทางบินระยะไกลที่ยังใช้ B747-400 version B747 จำนวน6ลำบินอยู่ เช่น กรุงเทพ – สตอกโฮล์ม กรุงเทพ – โคเปนเฮเกน จะขายที่นั่งชั้นธุรกิจในราคาของ ชั้นประหยัดพรีเมี่ยม แต่เป็นชั้นธุรกิจแบบเก่า

[แก้] ชั้นประหยัดพรีเมียม

ชั้น ประหยัดพรีเมี่ยม มีให้บริการเฉพาะเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพ – ลอสแอนเจลิส กับ กรุงเทพ – ออสโล บนเครื่องบิน Airbus A340-500 เท่านั้น.

ค่าโดยสารในชั้นประหยัดแบบพรีเมี่ยมนี้ จะมีราคาสูงกว่าชั้นประหยัดทั่วไป. ที่นั่งในชั้นประหยัดพรีเมี่ยม จะถูกติดตั้งแบบ 2-3-2 ซึ่งต่างจากชั้นประหยัดทั่วไปที่จะถูกจัดวางที่นั่งแบบ 2-4-2. ทั้นั่งในชั้นประหยัดพรีเมี่ยมนี้จะมีชอ่งว่างระหว่างที่นั่ง 42 นิ้วและปรับเอนได้ 135 องศาพร้อมที่พักเท้า. ผู้โดยสารในชั้นประหยัดพรีเมี่ยมสามารถเลือกเมนูอาหารได้ ทุกที่นั่งจะประกอบไปด้วยจอภาพส่วนตัว ขนาด 9 นิ้ว พร้อมระบบ AVOD และ IFE

เส้นทางบินระยะไกลที่ยังใช้ B747-400 version B747 จำนวน6ลำบินอยู่2เส้นทางคือ กรุงเทพ – สตอกโฮล์ม กรุงเทพ – โคเปนเฮเกน ไม่มีชั้นประหยัดพรีเมียม แต่ขายที่นั่งชั้นธุรกิจแบบเก่าในราคาชั้นประหยัดพรีเมียม

[แก้] ชั้นประหยัด

อาหารในชั้นประหยัดของการบินไทย

ขนาดที่นั่งในชั้นประหยัดของการบินไทย มีขนาดใหญ่ถึง 36" นิ้ว ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาด 34"นิ้ว บนเครื่องบินลำอื่นๆ. แถวที่นั่งถูกจัดวางในรูปแบบ 3-3-3 ในเครื่องบินโบอิ้ง B777-200, B777-300 และ B777-200ER,และแบบ 2-4-2 ในเครื่องบินแอร์บัส A340-500, A340-600, A330-300 และ A300-600,จัดวางแบบ 3-4-3 ในเครื่องบินโบอิ้ง B747-400 และแบบ 3-3 ในเครื่องบินโบอิ้ง B737-400.

ทุกที่นั่งในชั้นประหยัดบนเครื่องบินแอร์บัส A340-500, แอร์บัส A340-600, โบอิ้ง B777-200ER และโบอิ้ง B777-300 จะถูกติดตั้งระบบมัลติมีเดีย (AVOD) หน้าจอระบบสัมผัส 9" นิ้ว. ระบบ AVOD จะถูกติดตั้งเพิ่มในเครื่องบิน โบอิ้ง B777-300.และเครื่องบินรุ่นใหม่ของการบินไทยอย่าง แอร์บัส A330-300 จะถูกติดตั้งระบบ AVOD ในชั้นประหยัด เมื่อเครื่องบินพร้อมเข้าประจำการและเริ่มให้บริการในปี่ 2552 สั่งซื้อมาทั้งหมด 8 ลำ ขณะนี้มาแล้ว 3 ลำได้แก่ HS-TEN HS-TEO HS-TEP.

[แก้] รอยัลออร์คิดพลัส

รอยัลออร์คิดพลัสของการบินไทยเป็นรายการสะสมแต้มการบินรายการแรกของไทย มีสมาชิกจากทั่วโลกมากกว่า 2 ล้านคน

การสะสมไมล์ เดินทาง มีการสะสมไมล์ 2 รูปแบบ เพื่อรับสิทธิพิเศษ รอยัล ออร์คิด พลัส.

แบบแรก, Eligible Qualifying Miles (EQM) สะสมไมล์เดินทาง เมื่อใช้บริการดังต่อไปนี้:

  • เที่ยวบินของสายการบินไทย
  • เที่ยวบินในสายการบิน/เที่ยวที่แชร์เส้นทาง จาก/ถึง กรุงเทพ (สายการบินมาเลเซีย, สายการบิน อาร์มิเรท, El Al สายการบินอิสราเอล และสายการบินไชน่า อีสเทิร์น)
  • เที่ยวบินในสายการบินที่อยู่ในกลุ่ม Star Alliance
  • เที่ยวบินในสายการบิน เจ๊ท แอร์เวย์

Qualifying Miles (Q Miles) สะสมไมค์เดินทาง ในชั้นบริการของสารการบินไทย และสายการบิน สตาร์ อลิอันส์. รอยัล ออคิด พลัส ไมล์ จะสะสมแต้มตามชั้นที่คุณได้ใช้บริการ.

สายการบินไทยBoeing 747-400 in 1974-2005 livery, กำลังทะยานขึ้น


แบบที่สอง , Partner Mile เป็นการสะสมสิทธิ์จากการใช้บริการอื่นๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับสายการบิน, เช่นโรงแรม,ที่พัก หรืออื่นๆ ที่เข้าร่วม


ระดับสมาชิกของรอยัลออร์คิดพลัส รอยัลออคิด พลัส มี 3 ระดับชั้น

  • สมาชิก – สำหรับสมาชิกทั่วไป
  • ซิลเวอร์ – ต้องมีไมล์สะสมตั้งแต่ 10,000 Q ไมล์ ใน 1 ปี หรือ 15,000 Q ไมล์จากวันเริ่มต้นจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปี.
  • โกลด์ – ต้องมีไมล์สะสมตั้งแต่ 50,000 Q ไมล์ ใน 1 ปี หรือ, 80,000 Q ไมล์ จากวันที่เริ่มต้นจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปี, หรือใช้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศตั้งแต่ 40 เที่ยวบินกับการบินไทย ภายใน 1 ปี.

[แก้] ข้อตกลงการทำการบินร่วม

เคาน์เตอร์เช็คอินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรุงเทพมหานคร

การบินไทยทำการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:

  • Aerosvit Airlines (กรุงเทพมหานคร-เคียฟ)
  • แอร์แคนาดา (SA) (แวนคูเวอร์-โตเกียว/ฮ่องกง, โตรอนโต-แฟรงค์เฟิร์ต/ลอนดอน/ซูริค/ฮ่องกง, มอนทรีออล-แฟรงค์เฟิร์ต/ลอนดอน)
  • แอร์มาเก๊า (กรุงเทพมหานคร-มาเก๊า)
  • แอร์มาดากัสการ์ (กรุงเทพมหานคร-Antananarivo)
  • ออลนิปปอนแอร์เวย์ (SA) (เที่ยวบินภายในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างโตเกียว, โอซากา, ฟุกุโอกะ, ฮาเนดะ, Komatsu , นาโกยา, นิอิงาตะ และซัปโปโร, กรุงเทพมหานคร-โตเกียว และเที่ยวบินระหว่างโตเกียวและสหรัฐอเมริกา)
  • แอร์นิวซีแลนด์ (SA) (เที่ยวบินภายในประเทศนิวซีแลนด์ และเที่ยวบินระหว่างนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย)
  • เอเชียนาแอร์ไลน์ (SA) (กรุงเทพมหานคร-โซล, ภูเก็ต-โซล, ปูซาน-โซล)
  • ออสเตรียนแอร์ไลน์ (SA) (กรุงเทพมหานคร-เวียนนา, เที่ยวภายในประเทศออสเตรีย, เวียนนา-มิวนิค/แฟรงค์เฟิร์ต และ Salzburg-แฟรงค์เฟิร์ต)
  • บางกอกแอร์เวย์ (กรุงเทพมหานคร-เฉิงตู/กวางโจว/ปักกิ่ง/ฮ่องกง/กระบี่/คุนหมิง/เซี่ยงไฮ้/เซี่ยเหมิน)
  • bmi (SA) (เที่ยวบินภายในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์)
  • Blue1 (SA) (สต็อคโฮล์ม-Vaasa/Tampere/Turku/เฮลซิงกิ, โคเปนเฮเกน-เฮลซิงกิ)
  • ไชน่าแอร์ไลน์ (กรุงเทพมหานคร-เกาซง)
  • ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (กรุงเทพมหานคร-เซี่ยงไฮ้)
  • อียิปต์แอร์ (SA) (กรุงเทพมหานคร-ไคโร)
  • El Al Israel Airlines (กรุงเทพมหานคร-Tel Avia)
  • เอมิเรตส์ (กรุงเทพมหานคร-ดูไบ)
  • กัลฟ์แอร์ (กรุงเทพมหานคร-บาห์เรน)
  • เจแปนแอร์ไลน์ (เที่ยวบินภายในประเทศญี่ปุ่น, กรุงเทพมหานคร-โอซากา/นาโกยา)
  • เจ็ทแอร์เวย์ (เที่ยวบินระหว่างกรุงเทพมหานครและอินดีย)
  • ลุฟต์ฮันซา (SA) (เที่ยวบินภายในประเทศเยอรมนี, เที่ยวบินระหว่างแฟรงค์เฟิร์ตและมิวนิคไปยังเมืองอื่นๆในยุโรป, กรุงเทพมหานคร-กัวลาลัมเปอร์/แฟรงค์เฟิร์ต, เที่ยวบินระหว่างแฟรงค์เฟิร์ตและสหรัฐอเมริกา)
  • มาเลเซียแอร์ไลน์ (กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพมหานคร/ภูเก็ต)
  • Myanmar Airways International (กรุงเทพมหานคร-ย่างกุ้ง)
  • นกแอร์ (ดอนเมือง-พิษณุโลก,อุบลราชธานี / เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน)
  • Pakistan International Airlines (กรุงเทพมหานคร-อิสลามาบัด)
  • พีบีแอร์ (กรุงเทพมหานคร-ดานัง/บุรีรัมย์/ลำปาง/น่าน/นครพนม/ร้อยเอ็ด/สกลนคร)
  • กาตาร์แอร์เวย์ (กรุงเทพมหานคร-โดฮา)
  • รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ (กรุงเทพมหานคร-บันดาร์เสรีเบกาวัน)
  • รอยัลจอร์แดเนียน (กรุงเทพมหานคร-อัมมาน)
  • SAS (SA) (เที่ยวบินระหว่างสแกนดิเนเวียและยุโรป, เที่ยวบินภายในสแกนดิเนเวีย)
  • เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์ (SA) (เที่ยวบินภายในประเทศจีน จากเซี่ยงไฮ้)
  • สแปนแอร์ (SA) (เที่ยวบินภายในประเทศสเปน)
  • สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (SA) (กรุงเทพมหานคร-ซูริค, เที่ยวบินภายในประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
  • แท็ปโปรตุเกส (SA) (ลิสบอน-ซูริค/แฟรงค์เฟิร์ต/มาดริด)
  • ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (SA) (เที่ยวบินภายในประเทศสหรัฐอเมริกา จากลอสแอนเจลิส, ชิคาโก-ลอนดอน, โตเกียว-ชิคาโก/ซานฟรานซิสโก)

(SA) = Star Alliance Member

[แก้] อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

[แก้] รางวัลที่ได้รับ

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons