พรรคชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พรรคชาติไทย
1chatthai.gif
บุคลากร
หัวหน้าพรรค บรรหาร ศิลปอาชา
เลขาธิการพรรค นายประภัตร โพธสุธน
โฆษกพรรค นางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์
ประธานที่ปรึกษาพรรค
ผู้อำนวยการพรรค
ทั่วไป
ก่อตั้ง 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
สำนักงานใหญ่ เลขที่ 1 ถนนพิชัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
อื่น ๆ
นโยบายพรรค สามัคคี ก้าวหน้า มั่นคง
คำขวัญพรรค
สีของพรรค
เว็บไซต์ http://www.chartthai.or.th/

พรรคชาติไทย (Chart Thai Party) ก่อตั้งเมื่อ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 โดยกลุ่มนักการเมืองซอยราชครู นำโดย พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร, พล.ต.ศิริ สิริโยธิน และพล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น)

พรรคชาติไทยมีหัวหน้าพรรคได้เป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 2 คน คือพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549 พรรคชาติไทยได้ปฏิเสธที่จะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง เพื่อเป็นการคว่ำบาตรพรรคไทยรักไทยของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

บทบาทของพรรคชาติไทย มักถูกวิจารณ์ว่าเป็นพรรคชอบเสียบ โดยมักจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอยู่เสมอ ๆ เพื่อประโยชน์ของตน จึงได้รับฉายาว่า "พรรคปลาไหล"[ต้องการอ้างอิง] โดยมีที่มาจากสไตล์การเล่นการเมืองของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคคนที่ 2 แต่ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 พรรคชาติไทยซึ่งได้เบอร์ 1 ที่นำโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ประกาศก่อนหน้านั้นว่า จะไม่ขอร่วมรัฐบาลกับพรรคไทยรักไทยอีก และใช้สโลแกนในการหาเสียงครั้งนี้ว่า "สัจจะนิยม"

ในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 อันเป็นช่วงวิกฤติการณ์การเมืองในประเทศไทย พรรคชาติไทยโดยนายบรรหาร เป็นที่จับตามองว่าจะไปร่วมรัฐบาลกับทางฝ่ายพรรคพลังประชาชน หรือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทางนายบรรหารหัวหน้าพรรค แสดงท่าทีหลายครั้งรวมทั้งได้เคยให้สัมภาษณ์ไปว่า "จะไม่ทำให้ผู้ใหญ่ที่นับถือมากว่า 30 ปี ผิดหวัง" แม้จะไม่ได้เอ่ยชื่อตรง ๆ แต่ก็รับรู้กันว่า หมายถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานองคมนตรี โดยให้เข้าใจว่าจะไม่ขอร่วมรัฐบาลกับทางพรรคพลังประชาชน แต่หลังการเลือกตั้ง พรรคชาติไทยก็ตอบรับเข้าร่วมรัฐบาลกับทางพรรคพลังประชาชน

ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อพิจารณากรณี พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ลงมติ 4 ต่อ 1 เห็นชอบตามที่นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองเสนอให้ส่งเรื่องถึงอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยยุบพรรคพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมติเสียงข้างน้อย 1 เสียง คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ฝ่ายกิจการสืบสวนสอบสวน

วันที่ 2 ธันวาคม 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารของแต่ละพรรคเป็นเวลา 5 ปี อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา รองเลขาธิการพรรค

ภาพของนายบรรหาร ศิลปอาชา ในโปสเตอร์ของพรรคชาติไทยในการหาเสียงแบบสัดส่วนในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เนื้อหา

[แก้] รายชื่อหัวหน้าพรรคชาติไทย

  1. พลตรีประมาณ อดิเรกสาร พ.ศ. 2517 - 2529
  2. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ พ.ศ. 2529-2534
  3. พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ พ.ศ. 2534-2535
  4. พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร พ.ศ. 2535-2537
  5. นายบรรหาร ศิลปอาชา พ.ศ. 2537 - 2551

[แก้] กรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน

สมาชิกพรรคใหม่

[แก้] ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค

เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 สั่งยุบพรรคชาติไทย โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่าพรรคมีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น[1]

[แก้] รายชื่อกรรมการบริหารพรรคชาติไทย ชุดที่ถูกคำสั่งยุบพรรค เป็นผลให้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

[แก้] สรุปประวัติการทำงานในรัฐสภา

ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี เหตุการณ์สำคัญ
1. 26 ม.ค.2518 28 คน ร่วมรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช -
2. 4 เม.ย.2519 56 คน ร่วมรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช -
3. 22 เม.ย.2523 42 คน ร่วมรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ลงสมัครในนามกลุ่มชาติไทย
4. 18 เม.ย.2526 73 คน ฝ่ายค้าน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พรรคชาติไทยมีผู้นำฝ่ายค้านคนแรก
5. 27 ก.ค.2529 63 คน ร่วมรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ -
6. 24 ก.ค.2531 87 คน แกนนำรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พรรคเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล
7. 22 มี.ค.2535 74 คน ร่วมรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร -
8. 13 ก.ย. 2535 77 คน ฝ่ายค้าน นายชวน หลีกภัย พรรคอภิปรายเรื่อง สปก.4-01 ทำให้รัฐบาลยุบสภา
9. 2 ก.ค.2538 92 คน แกนนำรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล
10. 17 พ.ย.2539 39 คน ฝ่ายค้าน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ -
19 พ.ย.2540 39 คน ร่วมรัฐบาล นายชวน หลีกภัย -
11. 6 ม.ค.2544 41 คน ร่วมรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร -
12. 6 ก.พ.2548 25 คน ฝ่ายค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร -
13. 23 ธ.ค.2550 37 คน ร่วมรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช -
- 37 คน ร่วมรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ -
- 15 คน ร่วมรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สนับสนุนอภิสิทธิ์ 14 เสียง
พลตำรวจเอกประชา 1 เสียง

[แก้] สถานภาพของสมาชิกพรรค หลังพรรคชาติไทยถูกยุบ

หลังจากพรรคชาติไทยถูกยุบ ส.ส.สังกัดพรรคชาติไทยที่เหลือ 15 คนในเวลานั้น ได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาทั้งหมด เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไป

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น