โทรศัพท์มือถือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทรศัพท์มือถือของญี่ปุ่น

โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นอุปกรณ์สื่อสารอิเลคทรอนิคส์ลักษณะเดียวกับโทรศัพท์บ้านแต่ไม่ต้องการสายโทรศัพท์จึงทำให้สามารถพกพาไปที่ต่างๆได้ โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่นๆ

โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจะมีคุณสมบัติในการสื่อสารทางเสียงแล้วยังมีความสามารถอื่นอีกเช่นสนับสนุนการสื่อสารด้วยข้อความ เช่น SMS ,การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต, การสื่อสารด้วยแบบ Multimedia เช่น MMS,การถ่ายรูป ,การถ่ายวีดีทัศน์ นาฬิกา, นาฬิกาปลุก, นาฬิกาจับเวลา, ปฏิทิน, ตารางนัดหมาย, สเปรดชีต, โปรแกรมประมวลผลคำ, รวมไปถึงความสามารถในการรองรับแอปพลิเคชันของจาวาเช่น เกมส์ต่างๆได้

เนื้อหา

[แก้] วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

  • 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac
  • 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC
  • 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS
  • 2.75G ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น CDMA2000 1xRTT, EDGE
  • 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวีดิโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA, CDMA2000 1x-EVDO
  • 3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA
  • 4G ระบบโทรศัพท์มือถือที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบ เชื่อกันว่าโทรศัพท์มือถือในยุคนี้จะสามารถสนับสนุน แอปพลิเคชันที่ต้องการแบนด์วิธสูงเช่น ความจริงเสมือน 3 มิติ (3D virtual reality) หรือ ระบบวิดีโอที่โต้ตอบได้ (interactive video) เป็นต้น[1]

[แก้] การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

[แก้] ยุคแรก 1G

  • ปี พ.ศ.2529 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้เริ่มให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยนำระบบ NMT (Nordic Mobile Telephone System) ซึ่งมีให้บริการในประเทศแถบสแกนดิเนเวียน แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องความถี่ในการนำมาให้บริการจาก ความถี่ 450MHz เป็น 470MHz จึงเป็นที่มาของชื่อระบบ NMT470 ซึ่งนับเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบแรกของประเทศไทย ระยะแรกให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมลฑลและจังหวัดชายฝั่งด้านตะวันออก ก่อนขยายบริการไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา ลักษณะของเครื่องลูกข่ายของระบบ NMT470 จะมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 1-5 กิโลกรัม ยังไม่ได้มีลักษณะเป็นแบบมือถือเช่นปัจจุบัน บางครั้งผู้ใช้จึงเรียกว่าโทรศัพท์กระเป๋าหิ้ว
  • ปี พ.ศ.2530 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ชื่อในขณะนั้น) ได้นำระบบ AMPS (Advance Mobile Phone System) ความถี่ 800MHz มาให้บริการ โดยคุณลักษณะเด่นของระบบ AMPS800 คือเครื่องลูกข่ายที่มีขนาดเล็ก สามารถถือไปมาได้โดยสะดวก จึงได้รับความนิยมมากและเป็นที่มาของโทรศัพท์มือถือ ระบบ ANPS800 เริ่มให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ก่อนขยายไปตามหัวเมืองใหญ่ แต่การให้บริการระยะแรกไม่ได้เรียกผ่านรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ (รหัส 01) แต่ต้องทำการเรียกผ่านหมวดเลขหมายของพื้นที่กรุงเทพฯ จึงทำให้ผู้ใช้บริการต้องเสียค่าโทรทั้งการโทรออกและรับสาย

[แก้] การกำหนดรหัสเรียกเข้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่

  • ในปี พ.ศ. 2529 ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้เริ่มให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ NMT470 เป็นครั้งแรกในประเทศไทยนั้น ได้กำหนดรหัสสำหรับการเรียกเข้าสู่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการเฉพาะขึ้น นอกเหนือจากรหัสทางไกลสำหรับโทรไปยังภูมิภาคต่างๆ รหัสที่กำหนดคือ 01 ซึ่งผู้ที่ต้องการติดต่อหรือโทรเข้ายังระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถใส่รหัส 01 หน้าเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 7 หลักก็จะสามารถติดต่อตรงกับเลขหมายที่ต้องการได้โดยสะดวก
  • ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้มีการปรับระบบเลขหมายโทรศัพท์ (Numbering Plan) ใหม่ทั้งระบบทั่วประเทศ จึงได้ทำการเพิ่มหลักของรหัสเรียกเข้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ขึ้นหนึ่งหลัก เป็นสามหลัก และเปลี่ยนเลขรหัสเป็น 08x โดยกำหนด x เป็นเลขตั้งแต่ 0 - 9 อาทิ 081, 086, 089 เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นรองรับการขยายตัวของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และป้องกันการขาดแคลนเลขหมายในอนาคต

[แก้] ระบบปฏิบัติการมือถือ

[แก้] ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ

[แก้] รายชื่อผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

[แก้] ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

ให้บริการระบบ NMT470 (ปัจจุบันปรับระบบไปใช้เป็นโครงข่าย โทรศัพท์สาธารณะเคลื่อนที่) ให้บริการระบบ 3G บนโครงข่าย HSPA ความถี่ 2100MHz ในชื่อ TOT3G ในพื้นที่ กทม.

ให้บริการระบบ AMPS800 Bnad-A ในชื่อ AMPS800 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว) ให้บริการระบบ CDMA2000 1x EV-DO ในชื่อบริการ CAT CDMA ซึ่งถือเป็นระบบ 3G ในพื้นที่ 51 จังหวัดภูมิภาค (หลังซื้อกิจการจากบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เตรียมให้บริการทั่วประเทศทั้ง 76 จังหวัดภายใต้ชื่อบริการเดียว)

รับสัมปทานให้บริการระบบ NMT900 จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในชื่อ CELLULAR900 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว) รับสัมปทานให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 900MHz จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในชื่อ GSM Advance และ One-2-Call และ GSM บนความถี่ 1800MHz ในชื่อ GSM1800 จากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)(ผ่านการซื้อกิจการของ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด) ปัจจุบันเริ่มทดลองให้บริการ 3G บนโครงข่าย HSPA ความถี่ 900 MHz (ใช้ชื่อบริการว่า GSM Super 3G) ในบางพื้นที่ของ กทม. และบางจังหวัด [2]

รับสัมปทานให้บริการระบบ AMPS800 Bnad-B จากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)(ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว) รับสัมปทานให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1800MHz จากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)และปัจจุบันเริ่มทดลองให้บริการ 3G บนโครงข่าย HSPA ความถี่ 850 MHz ในบริเวณอาคารจตุรัสจามจุรี กทม.

รับสัมปทานให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1800MHz จากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)และปัจจุบันเริ่มทดลองให้บริการ 3G บนโครงข่าย HSPA ความถี่ 850 MHz ในบริเวณบางพื้นที่ของ กทม. และจังหวัดใหญ่ๆ อาทิ เชียงใหม่ ภูเก็ต สุราษธานี (เกาะสมุย) และประจวบคีรีขันธ์ (ชะอำ หัวหิน) [3]

รับสิทธิ์เป็นตัวแทนผู้ให้บริการด้านการตลาด โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA2000 1x ในพื้นที่ กทม. และ 25 จังหวัดภาคกลางจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ภายใต้แบรนด์ฮัทช์ (HUTCH) ปัจจุบันบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เตรียมเข้าซื้อกิจการของบริษัทฯ เพื่อรวมการให้บริการ CDMA เป็นเครือข่ายเดียวทั่วประเทศ)

เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยการลงทุนร่วมกันระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1900MHz ในพื้นที่ กทม. แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการให้บริการ ต่อมาบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ทำการซื้อหุ้นจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)กลับมาทั้งหมด เพื่อต้องการให้ได้สิทธิ์ในการบริหารและสิทธิ์การให้บริการระบบ 3G จึงยกเลิกการบริการบนระบบ GSM1900

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons