เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตึกคู่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ก่อนถูกทำลาย

เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (อังกฤษ: World Trade Center) เป็นกลุ่มอาคารจำนวน 7 ตึกในนครนิวยอร์ก ก่อสร้างระหว่าง พ.ศ. 2509-2520 (เวลารวมในการก่อสร้างครบ 7 ตึก) ออกแบบโดยสถาปนิกลูกครึ่งอเมริกัน-ญี่ปุ่น มิโนรุ ยามาซากิ ร่วมด้วยบริษัท เอเมอร์รี่ รอท แอนด์ซันส์ ตึกคู่แฝด 2 ถูกทำลายในเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 และตึกอื่น ๆ เสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้

เนื้อหา

[แก้] ข้อมูลทั่วไป

เริ่มก่อสร้าง ค.ศ. 1966 (อาคารหมายเลข 1 สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1970 และอาคารหมายเลข 2 เมื่อ ค.ศ. 1972 เริ่มทำพิธีเปิดตึกวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1973 แต่ละวันจะมีพนักงานทำงานในตึกนี้มากกว่า 50,000 คน และนักท่องเที่ยวมากกว่า 200,000 คน เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์มีรหัสไปรษณีย์ของตัวเอง คือ 10048

เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เป็นสัญลักษณ์ของนครนิวยอร์ก และปรากฏตัวในภาพยนตร์จำนวนมาก เช่น เรื่อง World Trade Center, MIB, United 93, Oliver and Company

[แก้] อาคาร

เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ประกอบด้วย 7 ตึกดังต่อไปนี้

แผนที่ตั้งอาคาร
  • 1 World Trade Center (North Tower) 110 ชั้น
  • 2 World Trade Center (South Tower) 110 ชั้น
  • 3 World Trade Center (Marriott Hotel) 22 ชั้น
  • 4 World Trade Center (South Plaza Building) 9 ชั้น
  • 5 World Trade Center (North Plaza Building) 9 ชั้น
  • 6 World Trade Center (U.S. Customs House) 8 ชั้น
  • 7 World Trade Center 47 ชั้น

[แก้] อาคารแฝด

ตึกคู่แฝดหมายเลข 1-2 เป็นตึกที่สูงที่สุด มี 110 ชั้น North Tower มีความสูง 1,368 ฟุต (417 เมตร) และ South Tower สูง 1,362 ฟุต (415 เมตร) สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1972 และ 1973 ตามลำดับ ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกเมื่อสร้างเสร็จ ก่อนจะถูกทำลายสถิติโดยอาคารเซียร์ทาวเวอร์ในชิคาโกและสูงที่สุดบนเกาะแมนฮัตตั้น นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

แต่ละตึกมีพื้นที่ใช้สอย 3.8 ล้านตารางฟุต (350,000 ตร.ม.) ถ้านับรวมอาคารทั้งหมดจะมีพื้นที่ใช้สอยรวม 11.2 ล้านตารางฟุต (1.04 ล้าน ตร.ม.) โครงสร้างตึกทั้งคู่เป็นแบบ โครงเหล็กกล้า ผนังกระจกคล้ายกำแพงม่านแก้ว บางส่วนของสำนักงานเป็นกำแพงปูนปาสเตอร์ (ใช้เพื่อประหยัดน้ำหนักของแต่ละชั้น)

คนทั่วไปสามารเข้าชมทัศนียภาพจากตึก WTC ได้ในส่วนของภัตตาคารบนยอดตึก (ชั้น 107) ชื่อ "Windows on the World" และ "Top of the World" ใน WTC2

[แก้] รายชื่อการก่อวินาศกรรม

[แก้] การก่อวินาศกรรมใน ค.ศ. 1993

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 รถบรรทุกที่มีระเบิดจำนวน 1,500 ปอนด์ ระเบิดบริเวณที่จอดรถใต้ดินของอาคาร 1 ทำให้เกิดหลุมกว้างประมาณ 100 เมตร มีผู้เสียชีวิต 6 คนและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ผู้ก่อการร้ายชาวอิสลาม 6 คนถูกจับใน ค.ศ. 1997 และ 1998

[แก้] การก่อวินาศกรรมใน ค.ศ. 2001

ดูบทความหลักที่ วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ได้มีการปล้นเครื่องบินพาณิชย์และพุ่งเข้าชนอาคารแฝดซึ่งได้แก่ อเมริกัน แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 ชนตึกWTC1ตรงบริเวณชั้นที่90-95 และ ยูไนเต็ด แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 ชนตึกWTC2บริเวณชั้นที่75-90 ในภายหลังจากการชนตึกทั้งสอง ตึกทั้งสองได้ถล่มลงมา โดยที่อาคารแรกที่ถล่มคือตึกWTC2ซึ่งระยะเวลาที่เครื่องถูกชนจนตึกถล่มคือ1ชั่วโมงเศษ และตึกWTC1ถล่มที่หลังจากที่อาคารที่2เพียง45นาที หรือ ระยะเวลาที่เครื่องถูกชนจนตึกถล่มคือ1ชั่วโมง45นาที อาคารหมายเลข 7 ถล่มในวันถัดมาเนื่องจากการถล่มของอาคารทั้งคู่เป็นเหตุที่ทำให้รากฐานของตัวตึกเริ่มที่จะไม่มั้นคงประกอบกับตัวอาคารเกิดไฟไหม่ทำให้โครงเหล็กคำยันของอาคารWTC7ถล่มลงโชคดีที่มีการอพยพผู้คนออกจากตึกนี้ก่อนที่มันจะถล่มลงมา ส่วนอาคารที่เหลืออีก 4 อาคารเสียหายอย่างหนักเนื่องจากถูกตึก 1 ตึก 2 ถล่มลงมาทับ มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 2,749 คน

สาเหตุที่ทำให้อาคารถล่มลงมาเนื่องมาจากแรงปะทะจากเครื่องบิน โบอิง 767 ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 170 ตัน พุ่งเข้าชนตัวตึกแบบเฉือนจุดกึ่งกลางภายในตึกด้วยความเร็ว 570 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นแรงการกระทำต่อตึกสูงขณะอยู่กับที่ (Dynamic Lode) ส่งผลให้ชิ้นส่วนบางส่วนของเครื่องบินหลุดออกจากตัวตึก เช่น เครื่องยนต์ของเครื่องบิน 767 แต่ส่วนใหญ่ชิ่นส่วนของตัวเครื่องจะฝังอยู่ในตัวตึกพร้อมด้วยแรงระเบิดมหาศาลจากเชื้อเพลิงของเครื่องบินที่บรรจุมาพร้อมกับตัวเครื่องอย่างเต็มลำลุกไหม้ นอกจากนี้การชนทำให้เสาหลักและช่องลิพท์ของตึกเสียหายซึ่งการกระจากน้ำหนักของตึกต้องกระจายน้ำหนักอ้อมส่วนที่เสียหายไป แต่การชนนี้ไม่ทำให้ตัวตึกถล่มลงทันทีเพราะตัวอาคารนั้นได้ถูกออกแบบให้ทนต่อการชนของเครื่องบิน โบอิง 707 นอกจากนั้นโครงสร้างหลักของตึกนั้นเป็นแกนหลักคล้ายท่อเหล็กตรงกลางอาคาร (Steel Framed Tuble) และโครงเหล็กถัก (Truss) จากแกนหลักไปยังผนังตึก เพลิงไหม้ที่ไหม้อยู่ของตึกนั้นมีอุณหภูมิสูงถึง 800°C ส่งผลให้โครงเหล็กถักเกิดการงอเนื่องจากน้ำหนักของชั้นและหลุดออกจากสิ่งที่มันยึดอยู่สงผลให้ชั้นแต่ละชั้นถล่มลงมาด้วยน้ำหลักของแต่ละชั้นเอง (Self Weight) เพียงแค่ 1 ชั่วโมงเองที่ทำให้โครงเหล็กถักงอและถล่มลงมา

[แก้] การก่อสร้างใหม่

รูปแบบการปรับปรุงล่าสุด โดยสถาปนิก Libeskind, ภูมิสถาปนิก P. Walker

อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์มีแผนการก่อสร้างใหม่ในชื่อ Memory Foundation ซึ่งประกอบด้วยอาคาร ฟรีดอมทาวเวอร์ (Freedom Tower) สูง 1,776 ฟุต (541 ม.) มีการปรับปรุงแบบหลายครั้ง ในที่สุดได้แบบสุดท้ายโดยสถาปนิกชื่อลิเบสกินด์ (Libeskind) และภูมิสถาปนิกชื่อ ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ (Peter Walker) ผู้ออกแบบลานอนุสรณ์สถาน อ้างอิงเว็บไซต์การประกวดแบบ อาคารหมายเลข 7 ได้มีการสร้างเสร็จก่อน ในช่วงต้นปี 2549 ส่วนอาคาร Freedom Tower จะสร้างเสร็จประมาณปีพ.ศ. 2554 หรือค.ศ. 2011


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์