ถนอม กิตติขจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จอมพล ถนอม กิตติขจร
ถนอม กิตติขจร

ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
สมัยก่อนหน้า พจน์ สารสิน
สมัยถัดไป จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สมัยก่อนหน้า จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
สมัยถัดไป สัญญา ธรรมศักดิ์

เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454
บ้านหนองพลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
ถึงแก่อสัญกรรม 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 (92 ปี)
กรุงเทพมหานคร
สังกัดพรรค พรรคชาติสังคม (พ.ศ. 2500)
พรรคสหประชาไทย (พ.ศ. 2511)
สมรสกับ ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (พ.ศ. 2458-ปัจจุบัน)
ลายมือชื่อ Thai-PM-thanom signature.png

จอมพล ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547) อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454บ้านหนองพลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณารักษ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางโสภิตบรรณารักษ์ (ลิ้นจี่) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน มีแซ่ในภาษาจีนว่า ฝู (จีน: 符; พินอิน: fú)[เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตากหลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนแผน ที่ทหาร กองทัพบก โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับ

[แก้] บุตรธิดา

จอมพลถนอม กิตติขจรสมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (สกุลเดิม กระบวนยุทธ) มีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่

  1. นงนาถ เพ็ญชาติ (พ.ศ. 2474-ปัจจุบัน)
  2. พันเอกณรงค์ กิตติขจร (พ.ศ. 2476-ปัจจุบัน) สมรสกับคุณสุภาพร (จารุเสถียร) กิตติขจร
  3. คุณหญิงนงนุช จิรพงศ์
  4. พลอากาศเอกยุทธพงศ์ กิตติขจร
  5. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี (พ.ศ. 2487-ปัจจุบัน) สมรสกับ ร้อยโท ดร.สุวิทย์ ยอดมณี
  6. คุณหญิงทรงสมร คชเสนี (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)

นอกจากนี้ยังรับหลานอีก 2 คน ซึ่งเป็นบุตรของน้องสาวของท่านผู้หญิงจงกลมาเลี้ยงดูดุจลูกแท้ๆ ของท่านเอง คือ

  1. พลตำรวจตรีนเรศ คุณวัฒน์
  2. นรา คุณวัฒน์

[แก้] การรับราชการ

รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกรมทหารราบที่ 8 กองพันที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ร่วมก่อ รัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ในขณะที่มียศเป็นพันโท ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็น รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1 และเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 มาโดยลำดับ

จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการซาวเสียงจากสภาผู้แทนราษฎรให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 บริหารประเทศไทย 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมตรี เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่จอมพล ถนอม กิตติขจร บริหารประเทศได้สร้างทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศหลายสาย สร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาประเทศ และในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วย

[แก้] การเมือง

หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณางจักรไทย พ.ศ. 2511 มีการเลือกตั้งทั่วไปและมีรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดวิจารณ์อย่างไม่เกรงกลัวอำนาจได้แก่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เขียนจดหมายในนามนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึง ผู้ใหญ่ ทำนุ เกียรติก้อง (หมายถึงจอมพลถนอมนั่นเอง)

จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

จอมพล ถนอม กิตติขจร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพลถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ หลังจากนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตต้องเป็นจำนวนมาก

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 ท่ามกลางกระแสการปฏิวัติรัฐประหารของฝ่ายทหารทวีความรุนแรงอย่างกว้างขวาง จอมพลถนอมในวัย 65 ปี ได้กลับประเทศไทยอีกครั้งโดยบวชเป็นสามเณร ทำให้นักศึกษาประชาชนได้ออกมาประท้วงขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือดรายนี้ เป็นเหตุให้กลุ่มการเมืองอีกฝ่ายที่นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ฉวยโอกาสก่อรัฐประหารและทำการล้อมปราบนักศึกษาประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก นำไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุติการปกครองแบบประชาธิปไตยรัฐสภา และทำให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้เผด็จการทหารต่อมาเป็นเวลาปีเศษในสมัยของ "รัฐบาลพระราชทาน" ที่มีนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็นนายกรัฐมนตรี

จอมพลถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกในระยะเวลาสั้น ๆ หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี พ.ศ. 2501 สมัยที่สองถึงสี่หลังจากจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอมจึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร ถึงแม้ว่า ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นที่ 1 เสนางคบดี ซึ่งเปรียบเสมือนสายสะพายแห่งความกล้าหาญ พร้อมกันนี้ยังได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อีกกว่า 30 รายการ ซึ่งถือว่าเป็นการจบชีวิตของนายทหารยศจอมพลคนสุดท้ายของกองทัพไทย และเคยได้รับฉายาว่า "นายกฯคนซื่อ" เพราะไม่เคยปรากฏเรื่องการทุจริตในการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองก็ตาม

ตั้งแต่การเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 นายทหารคนธรรมดาสามัญที่ครองยศจอมพลมีด้วยกัน 7 คน โดยจอมพลถนอมเป็นคนที่ 6 จอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นคนที่ 7 แต่ผู้ที่มีอายุยืนที่สุด คือจอมพลถนอม จึงกลายเป็น "จอมพลคนสุดท้าย" จอมพลถนอมถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อกลางดึก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สิริอายุรวม 92 ปี

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] ผลงาน

[แก้] อ้างอิง

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
ถนอม กิตติขจร
สมัยก่อนหน้า ถนอม กิตติขจร สมัยถัดไป
พจน์ สารสิน 2leftarrow.png นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 1

(1 มกราคม พ.ศ. 250120 ตุลาคม พ.ศ. 2501)
2rightarrow.png จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 2leftarrow.png นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยที่ 2

(9 ธันวาคม พ.ศ. 250614 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
2rightarrow.png สัญญา ธรรมศักดิ์