เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่
เจ้าวงศ์สักก์.jpg
เกิด 25 กันยายน พ.ศ. 2478 (อายุ 74 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
สัญชาติ ไทย
คู่สมรส ชนิดา (จุลละรัต) ณ เชียงใหม่
บุตร นายสักก์ดนัย ณ เชียงใหม่
บิดา มารดา เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่
หม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่ (ชนะนนท์)

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เป็นโอรสใน เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ กับหม่อมจันทร์สม (ชนะนนท์) ณ เชียงใหม่ ราชนัดดา (หลานปู่) ใน พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เกิดที่คุ้มรินแก้ว (เดิมชื่อคุ้มแจ่งหัวริน) เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2478 (อายุ 74 ปี) สมรสกับคุณชนิดา (จุลละรัต) ณ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2503 มีบุตร 1 คน คือ นายสักก์ดนัย ณ เชียงใหม่

เนื้อหา

[แก้] วัยเยาว์

เจ้าวงศ์สักก์ เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ก่อจะถูกส่งเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ขณะที่อายุได้ 12 ปี จวบจนอายุ 16 ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่เมืองเอดินเบรอะ ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี แล้วจึงย้ายมาศึกษาต่อที่ College of Aeronautical and Automobile Engineering, Chelsea กรุงลอนดอน จนกลายเป็นวิศวกรการบิน และเป็นนักบินสมัครเล่น


[แก้] กลับมาทำงานที่เมืองไทย

หลังจากสำเร็จการศึกษาจึงกลับมาทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทในปี พ.ศ. 2502 ที่กรมช่างอากาศ กองพันอากาศ กองทัพอากาศไทย แต่รับราชการได้ไม่นานก็ลาออกจากราชการมาทำธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า บริเวณถนนเจริญกรุง

พอปี พ.ศ. 2537 เริ่มทำหนังสือ "เจ้าหลวงเชียงใหม่" เป็นหนังสือพระราชประวัติของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทั้งหมด จัดทำโดย มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และเผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมโบราณของฝ่ายเหนือ ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม วรรณกรรม ดนตรีพื้นเมือง และทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นมรดกของไทยที่ทรงคุณค่า และสืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งมูลนิธินี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานโดยตำแหน่ง

เล่มต่อมา คือ เจ้าพ่อหลวง ทำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2542 อีกเล่มชื่อ "ขัตติยานีศรีล้านนา" ทำถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547

[แก้] ดำรงฐานะผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่

เมื่อเจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2532 ทำให้เจ้าวงศ์สักก์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ ทำหน้าที่แทนเจ้าพงษ์อินทร์ทุกประการ ซึ่งก็หมายถึงการสืบทอดพันธกิจของเจ้าหลวงเชียงใหม่ที่มีต่อประชาชน ต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ เช่น พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพระราชชายา เจ้าดารารัศมี และรัฐพิธีเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ[1]

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เป็นผู้สืบเชื้อสายราชสกุล ณ เชียงใหม่ โดยตรงจากเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475) และนับเป็นผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ[2] ซึ่งอาจเทียบได้กับ เจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงใหม่ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475

เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ได้ร่วมกิจกรรมกับภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป ในการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างสม่ำเสมอ ในฐานะที่เป็นผู้สืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ [3]

[แก้] ราชสกุล

ราชสกุลในสามรุ่นของ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่
เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่
เจ้าบิดา:
เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่
เจ้าอัยกาฝ่ายเจ้าบิดา:
พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9
เจ้าปัยกาฝ่ายเจ้าบิดา:
พระเจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
เจ้าปัยยิกาฝ่ายเจ้าบิดา:
หม่อมเขียว
เจ้าอัยยิกาฝ่ายเจ้าบิดา:
หม่อมบัวเขียว
เจ้าปัยกาฝ่ายเจ้าบิดา:
เจ้าปัยยิกาฝ่ายเจ้าบิดา:
เจ้ามารดา:
หม่อมจันทร์สม ณ เชียงใหม่
เจ้าอัยกาฝ่ายเจ้ามารดา:
เจ้าปัยกาฝ่ายเจ้ามารดา:
เจ้าปัยยิกาฝ่ายเจ้ามารดา:
เจ้าอัยยิกาฝ่ายเจ้ามารดา:
เจ้าปัยกาฝ่ายเจ้ามารดา:
เจ้าปัยยิกาฝ่ายเจ้ามารดา:

[แก้] อ้างอิง

  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]