จังหวัดภูเก็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดภูเก็ต
ตราประจำจังหวัดภูเก็ต ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดภูเก็ต
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ภูเก็ต
ชื่ออักษรโรมัน Phuket
ผู้ว่าราชการ วิชัย ไพรสงบ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-83
สีประจำกลุ่มจังหวัด ฟ้า
ต้นไม้ประจำจังหวัด ประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัด เฟื่องฟ้า
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 543.034 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 75)
ประชากร 335,913 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 65)
ความหนาแน่น 618.59 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 5)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000
โทรศัพท์ (+66) 0 7635 4875
โทรสาร (+66) 0 7622 2886
เว็บไซต์ จังหวัดภูเก็ต
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดภูเก็ต

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นโดยสิ้นเชิง คือเป็นเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภูเก็ต มีจังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยทะเลอันดามัน และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา ข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือสะพานท้าวเทพกระษัตรีเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศซึ่งมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะ ด้านทิศตะวันตก

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

เดิมคำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณีคราม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของทอเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ตนั่นเอง[ต้องการอ้างอิง]

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็จ และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 103 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (เทศบาลนครภูเก็ต) 2 เทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองป่าตอง) (เทศบาลเมืองกะทู้) 6 เทศบาลตำบล 9 องค์การบริหารส่วนตำบล

  1. อำเภอเมืองภูเก็ต
  2. อำเภอกะทู้
  3. อำเภอถลาง
แผนที่

[แก้] ประชากร

ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นทั้งอิสลามมิกชนและพุทธศาสนิกชน คือ ไม่รับประทานหมูแต่สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"

ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน

[แก้] บุคคลสำคัญ

[แก้] สถานที่สำคัญ

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

[แก้] เทศกาลสำคัญ

[แก้] ภาษาถิ่น

ภาษาถิ่นของจังหวัดภูเก็ตเป็นภาษาถิ่นใต้ที่ไม่เหมือนถิ่นอื่นในภาคใต้ โดยจะมีสำเนียงภาษาจีนฮกเกี้ยนและภาษามลายูปนอยู่มาก ดังนั้นภาษาถิ่นภูเก็ตจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พบได้เฉพาะแถบภูเก็ตและพังงาเท่านั้น ในอดีตนั้นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตนั้นส่วนใหญ่ล้วนเป็นชาวจีนอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน เมื่อเข้ามาอาศัยอยู่ในภูเก็ตแล้วก็ได้นำเอาวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมายเข้ามาใช้ หนึ่งในนั้นก็คือ ภาษา ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาจีนฮกเกี้ยน ต่อมามีการค้าขายมากขึ้นต้องติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น ชาวจีนฮกเกี้ยนบางส่วนก็ไปมาหาสู่กับปีนัง มาเลเซียบ้าง มีการค้าขายแร่ดีบุกต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ภาษามลายูหรือภาษามาเลย์เริ่มเข้ามาผสมปนเข้าด้วยกันกับภาษาฮกเกี้ยน ทำให้เกิดเป็นภาษาที่ผสมสำเนียงเข้าด้วยกัน เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภูเก็ตและใกล้เคียง ภาษาฮกเกี้ยนในภูเก็ตนั้นปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่เพียงแต่สำเนียงอาจจะเพี้ยนไปจากภาษาฮกเกี้ยนเดิมบ้าง เพื่อปรับให้เข้ากับการออกเสียงของคนภูเก็ต ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาฮกเกี้ยนที่ใช้กันในปีนัง มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เนื่องจากมีการปรับเสียงให้เข้ากับสัทอักษรการออกเสียงของคนภูเก็ต บางคำในภาษาฮกเกี้ยนจึงไม่เหมือนกันภาษาฮกเกี้ยนแท้ของจีน แต่ก็ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังพบว่าระบบไวยากรณ์ที่ใช้นั้นบ้างก็ยืมมากจากภาษาฮกเกี้ยนด้วย ภาษาภูเก็ตบ้างก็เรียก ภาษาบาบ๋า

คำทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ภาษาภูเก็ต อักษรจีน ภาษากลาง
อ๊าม ศาลเจ้า
โซสี กุญแจ
แคะจ่าน 客嶘 โรงแรม
อี่เส่งก้วน 醫生院 โรงพยาบาล
ซาตู๋ ตู้เสื้อผ้า
เกี่ยมตู๋ ตู้กับข้าว
จ๊าว วิ่ง
ซึ่งตู๋ ตู้เย็น
กาโต้ กรรไกร
จ่วนป๋าย ไขควง
เจี่ยนสี ตะหลิว
เอี่ยนปิด 鉛筆 ดินสอ
ปิด ปากกา
หม่อปิด 毛筆 พู่กัน
อี้ เก้าอี้
อั๊วจ๋าน ปิ่นโต
เตี่ยนสี่ 電視 โทรทัศน์
หนา ตะกร้า
บี๊น แปรง
หล่าวถุ้ย บันได
เต้ง ตะเกียง

[แก้] อาหารและขนมพื้นเมือง

  • โลบะ - เป็นเครื่องในหมูปรุงกับเครื่องพะโล้ นำมาทอดรับประทานกับเต้าหู้ทอดราดน้ำจิ้ม
  • หมี่ฮกเกี้ยน - หมี่เหลืองผัดสูตรฮกเกี้ยนซึ่งเป็นสูตรดั้งเดิมพื้นเมืองโดยเฉพาะ จะมีเนื้อกุ้ง ปลา หอย หมู ปลาหมึก โรยหน้าด้วยเจี้ยนผ้างหรือหอมเจียว รับประทานคู่กับหอมแดงหรือแคบหมู
  • หมี่หุ้นปาฉ่าง - เป็นเส้นหมี่แห้งรับประทานกับน้ำต้มกระดูก
  • หมี่สั่ว - เป็นอาหารเช้าของชาวภูเก็ต จะขายพร้อมกับข้าวต้มหรือโจ๊ก มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายเส้นหมี่ แต่แตกต่างทั้งในแง่รสชาติและความเหนียวนุ่ม
  • เบือทอด - เป็นกุ้งกับหญ้าช้องหรือใบเล็บครุฑชุบแป้งทอด รับประทานกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษ
  • โอต๊าว - ลักษณะคล้ายกับหอยทอดภาคกลาง ใช้หอยติบผัดกับแป้ง เผือก และไข่ รับประทานกับกากหมูทอดและถั่วงอก ปัจจุบันนิยมใช้หอยนางรมแทนหอยติบ เพราะหาได้ง่ายกว่า
  • โอ๊ะเอ๋ว - เป็นของหวานคล้ายวุ้นน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็ง โดยวุ้นดังกล่าวทำมาจากกล้วยน้ำว้าผสมกับสาหร่ายทะเลชนิดหนึ่ง
  • สับปะรดภูเก็ต - สับปะรดพันธุ์พื้นเมืองที่มีรสชาติหวานกรอบ อร่อย ต่างกับสับปะรดที่อื่น ซื้อได้ที่ตลาดสดทั่วไป
  • น้ำชุบภูเก็ต - เป็นน้ำพริกกะปิน้ำใส ๆ ใส่กุ้งสด หัวหอม พริก และมะนาว รับประทานกับข้าวหรือขนมจีน
  • บ๊ะจ่าง - เป็นขนมที่นิยมของชาวภูเก็ต ทำจากข้าวเหนียวผัดซีอิ้ว มีไส้หมูอยู่ข้างใน
  • แกงไตปลา - เป็นแกงยอดนิยมของชาวภูเก็ต ทำจาก ไส้ปลาหรือเครื่องในปลา มาหมักไว้และทำเป็นเครื่องแกง รับประทานกับข้าว หรือขนมจีน
  • ขนมจีน - นิยมทานเป็นอาหารเช้าและเย็น ทานกับน้ำแกงหลายรสชาติซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นเมือง ทั้งแกงไตปลา น้ำชุบหยำ น้ำยา น้ำพริก ส่วนใหญ่เป็นเส้นหมัก มีเส้นสดอยู่บ้าง
  • ขนมจีบติ่มซำ - เป็นอาหารเช้าของชาวภูเก็ต มักไม่รับประทานในมื้ออื่น มีอยู่ทั่วไปบนเกาะภูเก็ต สามารถหารับประทานได้ไม่ยาก มีหลากหลายแบบให้เลือกรับประทานทาน น้ำจิ้มแต่ละร้านจะต่างกันไปตามเคล็ดลับ ชาวภูเก็ตนิยมเรียกว่า เสี่ยวโบ๋ย
  • เกลือเคย - คล้ายกับน้ำปลาหวาน ปรุงจากพริกขี้หนู กุ้งแห้ง ตำละเอียด กะปิ ซีอิ้ว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลทรายขาว และน้ำ เวลารับประทาน ใช้ราดบนเลือดหมูต้ม เต้าหู้เหลือง แตงกวา และผลไม้อื่น ๆ
  • ((ผัดไทยภูเก็ต)) ผัดไทยจะมีเส้นใหญ่และเส้นเล็ก เครื่องปรุงจะมีแค่ไข่ไก่ ถั่วงอก กุ๋ยช่าย ผัดให้เข้ากันใส่ พริกแห้งเม็ดใหญ่บดจนละเอียดมีน้ำผสมเล็กน้อย และกระเที่ยมโคลกละเอียด ผัดรวมกันปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลนิดหน่อย บ้างร้านก็จะใส่กากหมูภูเก็ตลงไปผัดพร้อมกัน กินแกล้มกับ ถ้วงอกสด กุ๋ยช่ายสด ปลีกล้วย มะนาว

[แก้] การศึกษา

โรงเรียน

ระดับอุดมศึกษา

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] เพลงประจำจังหวัด

  • ยอดนารีศรีถลาง - ประพันธ์โดย ประสิทธิ ชิณการณ์ ทำนองโดย ประพันธ์ ทิมเทศ
  • อ้อมกอดอันดามัน
  • ภูเก็ตจ๋า
  • สดุดีย่าจันย่ามุก
  • ไข่มุกอันดามัน
  • ภูเก็ตเมืองงาม
  • หาดราไวย์
  • ของกินภูเก็ต (หรอยๆ)
  • ภูเก็ตราตรี
  • ตะวันรอนที่แหลมพรหมเทพ
  • ภูเก็ตเมืองสวรรค์
  • ภูเก็ต (สะพานรักสารสิน)
  • ยินดีที่มาเยือน
  • หาดสุรินทร์
  • สัญญาหน้าอ๊าม
  • สุดสวาทหาดภูเก็ต
  • ปลื้มภูเก็ต

[แก้] สถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่าภูเก็ต

ซอยรมณีย์

สถาปัตยกรรมในย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ตบนถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนกระบี่ ถนนพังงา ถนนเยาราช และซอยรมณีย์ รวมทั้งถนนใกล้เคียงเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงของการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกแลกะการค้าแร่ดีบุกเฟื่องฟู ในยุคนั้นภูเก็ตเป็นเมืองที่มีชาวต่างชาติทั้งจีน อินเดีย อาหรับ มาเลย์ และยุโรปเข้ามาทำการค้าและอาศัยอยุ่ เช่นเดียวกับเมืองท่าอื่น ๆ ในแหลมมลายู เช่น ปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การก่อสร้างและออกแบบอาคารจึงได้รับอิทธิพลจากนานาชาติไปด้วย ลักษณะของสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในเมืองภูเก็ตอาจแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคแรกประมาณช่วง พ.ศ. 2411-2443 เป็นช่วงของการเริ่มพัฒนาเมือง ยุคที่สอง พ.ศ. 2444-2475 เป็นช่วงของการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมเอเชียกับยุโรป และยุคที่สามยุคนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตซึ่งชาวภูเก็ตทุกคนภาคภูมิใจ และตั้งใจจะรักษาให้คงอยู่สืบไป

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

[แก้] อำเภอเมือง

[แก้] ป่าตอง

[แก้] ถลาง

[แก้] เมืองพี่เมืองน้อง

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 7°53′N 98°23′E / 7.88°N 98.38°E / 7.88; 98.38