มณฑลกวางตุ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนื้อหาในหัวข้อนี้เกี่ยวข้องกับมณฑลกวางตุ้ง สำหรับความหมายอื่นของคำว่า "กวางตุ้ง" ดู กวางตุ้ง (แก้ความกำกวม)
China มณฑลกวางตุ้ง
ชื่อย่อ: 粤 (เย่ว์)
China-GuangdongTH.png
ชื่อเรียก
ภาษาไทย มณฑลกวางตุ้ง
ภาษาจีน
- อักษรจีนตัวย่อ 广东省
- อักษรจีนตัวเต็ม 廣東省
- พินอิน Guǎngdōng
จีนกวางตุ้ง: gwong2 dung1
อักษรโรมัน Guangdong
(Kwangtung, Canton)
ข้อมูลทั่วไป
ความหมายของชื่อ 广 กว่าง - ชื่อภูมิภาค
东 ตง - ตะวันออก
"กว่างตะวันออก"
ประเภทเขตปกครอง มณฑล
เมืองเอก กว่างโจว (กวางเจา)
เมืองสำคัญ เซินเจิ้น ฝอซัน ตงก่วน จูไห่ ซั่นโถว (ซัวเถา) เฉาโจว (แต้จิ๋ว)
เลขาธิการพรรค จาง เตอเจียง
ผู้ว่าการ หวงหัวหัว
พื้นที่ 177,900 ตร.กม.
(อันดับที่ 15)
ประชากร (ข้อมูลปี พ.ศ. 2548)
- จำนวน 83,040,000
(อันดับที่ 4)
- ความหนาแน่น 467 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 7)
GDP
(พ.ศ. 2547)
1,603 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 1)
- ต่อหัว 19,300 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 6)
HDI
(พ.ศ. 2548)
0.807 สูง
(อันดับที่ 6)
กลุ่มชาติพันธุ์ ฮั่น - 99 %
จ้วง - 0.7 %
เย้า - 0.2 %
จำนวนจังหวัด 21
จำนวนเมือง/อำเภอ 121
จำนวนตำบล 1642
ISO 3166-2 CN-44
เว็บไซต์ http://www.gd.gov.cn/

มณฑลกวางตุ้ง หรือ กว่างตง (จีนตัวเต็ม: 廣東省; จีนตัวย่อ: 广东省) แบ่งการปกครองออกเป็น 21 เมืองใหญ่ 30 เมืองระดับอำเภอ 42 อำเภอและ 3 เขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ตอนใต้สุดของประเทศ ทางใต้ติดกับทะเลจีนใต้ ใกล้กับเกาะฮ่องกงและมาเก๊า เป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มณฑลนี้นี่เองที่ประชากรส่วนมากได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ 100 กว่าปีที่แล้ว

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

มณฑลกวางตุ้งมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

[แก้] ภูมิประเทศ

พื้นที่ทางเหนือยกตัวสูงทางใต้ต่ำ มีเทือกเขาและภูเขาขนาดเล็กตัดสลับกับที่ราบ มีแม่น้ำจูเจียง แม่น้ำสายยาวเป็นอันดับสามของประเทศไหลผ่านเป็นระยะทาง 2,122 กิโลเมตร มีพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่ราว 178,600 ตร.กม.พื้นที่รวมของเกาะแก่งต่างๆ ราว 1,600 ตร.กม. ชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น 4,310 กิโลเมตร พื้นที่ภูเขามีสัดส่วน 31.7 % เทือกเขาขนาดเล็ก 28.5 % ที่ราบสูง 16.1% ที่ราบ 23.7 %

[แก้] ภูมิอากาศ

อยู่ในเขตร้อนชื้น พื้นที่เกือบทั้งหมดมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนแถบเอเชีย ดังนั้น จึงมีฤดูร้อนที่ยาวนานและฤดูหนาวที่อบอุ่น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,366 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีระหว่าง 19-22 องศาเซลเซียส

[แก้] ทรัพยากร

มีทรัพยากรแร่ธาตุที่ค้นพบและเป็นแหล่งคลังแร่ 89 ชนิด ได้แก่ ถ่านหิน แร่เหล็ก ถ่านเลน หินควอตซ์ (หินเขี้ยวหนุมาน) ดินที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา แร่เยมาเนียม เป็นต้น มีพื้นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำทะเล 7,800 ตร.กม. เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด 4,300 ตร.กม. ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญคือ ข้าว ผัก ผลไม้และต้นป่าน เป็นต้น ไม้เศรษฐกิจได้แก่ ไม้สน ไม้ฉำฉาและไม้จื่อ เป็นต้น ผลไม้ขึ้นชื่อ ได้แก่ สับปะรด กล้วย ลิ้นจี่ ลำไย และส้ม

[แก้] ประชากร

ประมาณ 80 ล้านคน มีภูมิลำเนาในกวางตุ้ง 74.73 ล้านคน(สำรวจสำมะโนประชากร มีนาคม 2001) กวางตุ้งมีชนเผ่าหลากหลายถึง 53 กลุ่ม นอกเหนือจากฮั่นแล้ว ยังมี จ้วง เย้า มุสลิม แมนจู อี๋ หลี แม้ว เป็นต้น

ปี 2003 ประชากรที่มีภูมิลำเนาใจกวางตุ้งเพิ่มเป็น 79.54 ล้านคน อัตราการเกิด 13.66% อัตราการตาย 5.31%

[แก้] เศรษฐกิจ

ปี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
พ.ศ. 2523 24,571
พ.ศ. 2528 55,305
พ.ศ. 2533 147,184
พ.ศ. 2538 538,172
พ.ศ. 2543 966,223
พ.ศ. 2548 2,170,128

ปี 2003 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ของมณฑล มีมูลค่า 1,344,993 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 13.6% มูลค่าการนำเข้าและส่งออกของมณฑลรวมทั้งสิ้น 283,646 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 28.3% โดยมีคู่ค้าที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง มูลค่าการค้า 59256 ล้านเหรียญฯ สหรัฐอเมริกา 44541 ล้านเหรียญฯ ญี่ปุ่น 34598 ล้านเหรียญฯ สหภาพยุโรป 30606 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 24.4% 22.8% 29.6%และ 30.6% ตามลำดับ ทั้งนี้ คู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ เยอรมัน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮอลแลนด์และไทย

รายได้พลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยต่อคนของชาวเมืองในครึ่งปีแรกของปี 2003 คิดเป็น 6,498.7 หยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 10.2% รายได้เฉลี่ยต่อคนของประชาชนในชนบทอยู่ที่ 1,957.6 หยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 6.4%

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

มณฑลกวางตุ้งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 21 เมืองหรือจังหวัด (市) 23 เทศมณฑลระดับเมือง 41 เทศมณฑล (县) 54 เขต (区) และ 3 เขตปกครองตนเอง (自治县)

เมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) (潮州市)
ประเภท ชื่อ
เขต เชียงเฉียว(湘桥区)
เทศมณฑล เฮาอัน (潮安县) เล่าผิง (饶平县)
เมืองตงก่วน (东莞市)
ไม่มีเขตการปกครองระดับเทศมณฑล แต่เมืองมีอำนาจปกครองเขตตำบลโดยตรง
เมืองโฝซาน (佛山市)
เขต ฉานเฉิง (禅城区) เกาหมิง (高明区) หนานไฮ่ (南海区) ซันฉุ่ย (三水区) ชุ่นเต๋อ (顺德区)
เมืองกว่างโจว (广州市)
เขต ไป๋หยุน (白云区) ไห่จู (海珠区) ฮัวตู (花都区) หวงปู้ (黄埔区) ลี่วัน(荔湾区) หลัวกัง (萝岗区) หนานชา (南沙区) ปานหยู (番禺区) เทียนเหอ (天河区) ยั่วซิ่ว (越秀区)
เมือง ฉงฮั่ว (从化市) เจิงเฉิง (增城市)
เมืองเหอหยวน (河源市)
เขต หยวนเฉิง (源城区)
เทศมณฑล เหอผิง(和平县) เหลียนผิง (连平县) หลงชวน (龙川县) ตงหยวน (东源县) สื่อจิน (紫金县)
เมืองฮุ่ยโจว (惠州市)
เขต ฮุ่ยเฉิง (惠城区) ฮุ่ยเหยียน (惠阳区)
เทศมณฑล โป๋หลัว (博罗县) ฮุ่ยตง (惠东县) หลงเหมิน (龙门县)
เมืองเจียงเหมิน (江门市)
เขต เจียงไฮ่ (江海区) เผิงเจียง (蓬江区) ซินฮุ่ย (新会区)
เมือง เอินผิง (恩平市) เห้อซาน (鹤山市) ไคผิง (开平市) ไถซาน (台山市)
เมืองเจียหยาง (กิ๊กเอี๊ย) (揭阳市)
เขต หลงเฉิง (榕城区)
เมือง ปู่หนิง (普宁市)
เทศมณฑล หุ้ยไหล (惠来县) เจียตง (揭东县) เจียซี (开平市)
เมืองเม่าหมิง (茂名市)
เขต เม่ากั่ง (茂港区) เม่าหนาน (茂南区)
เมือง เกาโจว (高州市) ฮั่วโจว (化州市) ซิ่นอี๋ (信宜市)
เทศมณฑล เตี้ยนไป๋ (电白县)
เมืองเหมยโจว (梅州市)
เขต เหมยเจียง (梅江区)
เมือง ชิงหนิง (兴宁市)
เทศมณฑล ต้าปู่ (大埔县) เฟิงชุ่น (丰顺县) เจียงหลิ่ง (蕉岭县) เหม่ยเชี่ยน (梅县) ผิงหย่วน (平远县) อู่หัว (五华县)
เมืองชิงหย่วน (清远市)
เขต ชิงเฉิง (清城区)
เมือง เหลียนโจว (连州市) อิงเต๋อ (英德市)
เทศมณฑล โฝกัง (佛冈县) ชิงซิง (清新县) หยางซาน (阳山县)
เขตปกครองตนเอง ชนขาติเย้า เหลียนหนาน (连南瑶族自治县) ชนชาติจ้วงและเย้า เหลียนซาน (连山壮族瑶族自治县)
เมืองซั่นโถว (ซัวเถา) (汕头市)
เขต เฉาหนาน (潮南区)เฉาหยาง (潮阳区) เฉิงไฮ่ (澄海区) เหาเจียง (濠江区) จินผิง (金平区) หลงหู (龙湖区)
เทศมณฑล หนานเอ้า (南澳县)
เมืองซั่นเหว่ย (汕尾市)
เขต เฉิง (城区)
เมือง ลู่เฟิง(陆丰市)
เทศมณฑล ไฮ่เฟิง (海丰县) ลู่เหอ (陆河县)
เมืองเฉากวน (韶关市)
เขต ฉู่เจียง (曲江区) อู่เจียง (武江区) เจินเจียง (浈江区)
เมือง เล่อชาน (乐昌市) หนานฉง (南雄市)
เทศมณฑล เหรินฮั่ว (仁化县) ฉื่อชิง (始兴县) เวิงหยวน (翁源县) ชินเฟิง (新丰县)
เขตปกครองตนเอง ชนขาติเย้า หลู่หยวน (乳源瑶族自治县)
เมืองเซินเจิ้น (深圳市)
เขต เป่าอัน (宝安区) ฝูเถียน (福田区) หลงกั่ง (龙岗区) หลัวหู (罗湖区) หนานซาน (南山区) เหยียนเถียน (盐田区)
เมืองหยางเจียง (阳江市)
เขต เจียงเฉิง (江城区)
เมือง หยางชุน (阳春市)
เทศมณฑล หยางนตง (阳东县) หยางนชี (阳西县)
เมืองหยุนฝู (云浮市)
เขต หยุนเฉิง (云城区)
เมือง หลัวติ้ง (罗定市)
เทศมณฑล ซินซิง (新兴县) ยู่หนาน (郁南县) หยุนอัน (云安县)
เมืองจั้นเจียง (湛江市)
เขต ชื่อขั่น (赤坎区) หมาจาง (麻章区) โปโถว (坡头区) เฉียซาน (霞山区)
เมือง เหลยโจว (雷州市) เหลียนเจียง (廉江市) อู๋ชวน (吴川市)
เทศมณฑล สุยชี (遂溪县) สูเหวิน (徐闻县)
เมืองเจ้าชิ่ง (肇庆市)
เขต ติ่งหู (鼎湖区) ตวนโจว (端州区)
เมือง เกาเหย้า (高要市) ซื่อฮุ่ย (四会市)
เทศมณฑล เต๋อชิ่ง (德庆县) เฟิงไค (封开县) กว่างหนิง (广宁县) หัวจี๋ (怀集县)
เมืองจงซาน (中山市)
ไม่มีเขตการปกครองระดับเทศมณฑล แต่เมืองมีอำนาจปกครองเขตตำบลโดยตรง
เมืองจูไฮ่ (珠海市)
เขต โต่วเหมิน (斗门区) จินวัน (金湾区) เชียงโจว (香洲区)

[แก้] เกษตรกรรม

มีเพียง 15% ของพื้นที่ในมณฑล ที่สามารถทำการเพาะปลูกได้ โดยมีการปลูกข้าว 2 ครั้งต่อปี บนพื้นที่ 76% ของพื้นที่ที่เพาะปลูกได้ ผลผลิตข้าวยังนับเป็น 80% ของผลผลิตอาหารทั้งหมดของมณฑล

[แก้] อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมเบามีความสำคัญที่สุดในมณฑล นอกจากหัตถกรรมแล้ว อุตสาหกรรมเบาที่เฟื่องฟูที่สุดได้แก่ การแปรรูปอาหาร และการผลิตเสื้อผ้า สิ่งทอ การฟอกน้ำตาลกระจุกอยู่ในกว่างโจว ตงกวน ซุ่นเต๋อ เจียงเหมิน และซัวเถา นอกจากนี้ ในกว่างโจว ฝอซัน และซุ่นเต๋อ ยังมีอุตสาหกรรมสาวเส้นใยไหมและการทอที่พัฒนาก้าวหน้า สำหรับอุตสาหกรรมหนักได้แก่ การแปรรูปโลหะ การผลิตเครื่องจักร การต่อเรือ และการสร้างเรือ การผลิตพลังงานไฟฟ้า และเหมืองแร่

อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ พลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมหลอมโลหะ

[แก้] การค้าระหว่างประเทศ

สภาพการส่งออกในตลาดอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และฮ่องกงล้วนมีตัวเลขการเจริญเติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังมีตลาดส่งออกในทวีปแอฟริกา กลุ่มอาเซียน อินเดีย และรัสเซียอีกด้วย สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าแปรรูป

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ASpacer.gifBlankMap-World6.svg มณฑลกวางตุ้ง เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ มณฑลกวางตุ้ง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ