สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
ข้อมูล
วันประสูติ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
วันสวรรคต 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชมารดา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ - ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐) (สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิริราชกกุธภัณฑ์ สรรพวิสุทธิ์มหุดิมงคล อเนกนภดลดารารัตน์ สมันตบริพัตรวโรกาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวโรรส วิสุทธิสมมตวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักดิ์ อัครวรราชกุมาร) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารห้องเขียว ซึ่งในเวลาที่พระองค์ประสูตินั้น ได้มีฝนดาวตกเต็มท้องฟ้าและมาสามารถมองเห็นได้ในพระนคร ดังนั้น ชาววังจึงได้ออกพระนามของพระองค์ว่า “ ทูลกระหม่อมดาวร่วง

โดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เรียก สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ว่า "น้องชายเอียด" และได้จดบันทึกถึงเหตุการวันประสูติของสมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์นี้ไว้ในจดหมาย เหตุรายวันของพระองค์ว่า

“เราตื่นนอนเช้า กินข้าวแล้วไปเรียนหนังสือ เสด็จน้าประชวรพระครรภ์ เราไปเฝ้าทูลหม่อมบนก่อนแล้วออกไปเรียนหนังสือ บ่ายสองโมงเศษประสูติเป็นผู้ชาย เราดีใจมาก เราได้รับไว้กับเสด็จน้าแล้วว่า ถ้าเป็นผู้ชายเราจะทำขวัญสิ่งของ ถ้าเป็นหญิงเราไม่ให้ เย็นกินข้าวที่บน สมเด็จแม่รับสั่งให้เรานอนบน เรานอนกับน้อง ๆ ในห้องประทมเก่าของเสด็จน้า นอนสี่ทุ่ม เมื่อเรานอนสมเด็จแม่เสวยอยู่ เรากินเครื่องฝรั่งด้วย แล้วตามเสด็จสมเด็จแม่ไปดูดาวตก เรายังไม่เคยเห็นเลย ตกมากจริง ๆ ลางทีก็เห็นย้อยลงมายาวคล้ายดอกไม้เพลิง วันนี้พระยาภาสได้ให้สมุดฝรั่งต่าง ๆ เราหลายเล่ม”

วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ประชวรด้วยโรคบิด พระอาการทรุดลง และสิ้นพระชนม์ ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร พระชนมายุเพียง ๑ ปี ๖ เดือน เท่านั้น เป็นที่โศกเศร้าแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี อย่างมาก

พระเมรุ 5 ยอด สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย (กรมพระเทพนารีรัตน์) และสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ณ ท้องสนามหลวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดงานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง พระเมรุห้ายอด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นพิเศษ และโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สิ่งก่อสร้างเป็นไม้จริง ด้วยมีพระราชประสงค์ว่าเมื่อเสร็จการแล้วจะพระราชทานแก่โรงพยาบาล เมื่อเสร็จการพระเมรุแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระเมรุไปสร้างเรือนคนไข้ได้จำนวน ๔ หลัง ภายในโรงพยาบาล และพระราชทานเครื่องเรือน เครื่องใช้ทั้งปวงให้แก่โรงพยาบาลวังหลัง พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลวังหลังใหม่ว่า "โรงพยาบาลศิริราช"

[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
พระชนนีน้อย
พระชนนี:
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
(เจ้าจอมมารดาเปี่ยม)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
หลวงอาสาสำแดง (แตง)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท้าวสุจริตธำรง (นาค)

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม