จังหวัดนนทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก นนทบุรี)
จังหวัดนนทบุรี
ตราประจำจังหวัดนนทบุรี ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดนนทบุรี
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png พระตำหนักสง่างาม ลือนาม
สวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา
วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์
งามน่ายลศูนย์ราชการ[1]
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย นนทบุรี
ชื่ออักษรโรมัน Nonthaburi
ชื่อไทยอื่นๆ เมืองนนท์
ผู้ว่าราชการ นายวิเชียร พุฒิวิญญู
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ต้นไม้ประจำจังหวัด นนทรี
ดอกไม้ประจำจังหวัด นนทรี
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 622.303 ตร.กม.[2]
(อันดับที่ 74)
ประชากร 1,078,071 คน[3] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 18)
ความหนาแน่น 1,732.39 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 2)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี
หมู่ที่ 8 ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบล
บางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ (+66) 0 2580 0705-6
โทรสาร (+66) 0 2580 0705-6
เว็บไซต์ จังหวัดนนทบุรี
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดนนทบุรี

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคกลางของประเทศไทย โดยจัดเป็นพื้นที่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีขนาดเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 74 ของประเทศ แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร

เนื้อหา

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] ประวัติศาสตร์

สภาพทั่วไปของจังหวัดนนทบุรีเป็นที่ราบลุ่มมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนหนาแน่นตามริมแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่อดีต เช่น บ้านวัดชลอ บ้านวัดเขมา บ้านบางม่วง บ้านตลาดขวัญ บ้านบางขนุน เป็นต้น

[แก้] สมัยอยุธยา

หลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรีปรากฏที่วัดปรางค์หลวง[4] ตั้งอยู่ในตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ เป็นวัดที่มีพระปรางค์ลักษณะย่อมุมไม้ยี่สิบขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักแก่ชุมชนชาวเมืองอู่ทองที่อพยพหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้ก่อนจะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี[5] ชุมชนแห่งนี้ได้ขยายตัวและกระจัดกระจายออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ในบริเวณนี้ โดยมีชุมชนสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านตลาดขวัญ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ท้องที่จังหวัดนนทบุรีทั้งหมดในสมัยนี้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา[6]

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา จากเหนือวัดชลอไปทะลุใกล้วัดมูลเหล็ก (ปัจจุบันคือวัดสุวรรณคีรี เขตบางกอกน้อย) เพื่อใช้เป็นเส้นทางลัดในการเดินทางและเพื่อเพิ่มปริมาณแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรในพื้นที่[7]

ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ผลจากสงครามทำให้สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เมื่อพม่ายกทัพกลับไป และกรุงศรีอยุธยาได้จัดการพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงปรับปรุงกิจการทหารให้มั่นคงกว่าเดิม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นอีกหลายเมือง รวมทั้งให้ยกฐานะหมู่บ้านตลาดขวัญขึ้นเป็น เมืองนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2092[8] เนื่องจากมีราษฎรจำนวนมากหนีภัยสงครามครั้งนั้นไปอยู่ตามป่าเขาและไม่ยอมกลับพระนคร หากตั้งเมืองใหม่ขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อการเกณฑ์ไพร่พลเมื่อเกิดสงคราม นอกจากนี้ยังสามารถเป็นเมืองท่าและเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยาได้อีกด้วย ที่ตั้งของเมืองนนทบุรีในครั้งแรกนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีวัดหัวเมืองเป็นเขตเหนือ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) และมีวัดท้ายเมืองเป็นเขตใต้[9]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดตัดส่วนโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุออกหน้าวัดเขมา[8] (เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าไปทางบางกรวยและบางใหญ่) ซึ่งทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองที่ขุดใหม่ กลายเป็นแนวแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าในปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเดิมก็ตื้นเขินลงเป็นคลองอ้อม คลองบางกอกน้อย และคลองบางกรวยตามที่ปรากฏในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระราชดำริว่า แนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่สั้นลงจะทำให้ข้าศึกเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ง่ายขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีจากบ้านตลาดขวัญไปตั้งบริเวณปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง[8] (ที่ตั้งเมืองอยู่บริเวณนี้จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และให้สร้างกำแพงเมืองรวมทั้งป้อมปราการขึ้น 2 ป้อม คือ "ป้อมแก้ว" ตั้งอยู่ที่บ้านตลาดแก้ว (สันนิษฐานว่าอยู่ที่วัดปากน้ำในปัจจุบัน) และ "ป้อมทับทิม" ตั้งอยู่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน[10] (ปัจจุบันกำแพงและป้อมถูกรื้อไปหมดแล้ว) ในช่วงนี้สภาพเศรษฐกิจของเมืองนนทบุรีมีความมั่นคงมาก ทั้งการค้าขายและการทำสวนผลไม้[10]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2264 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดเกร็ดขึ้นตัดความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ไหลวกอ้อมไปทางบางบัวทอง[10] ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล ชายฝั่งทั้งสองข้างของคลองลัดเกร็ดถูกกัดเซาะให้ห่างออกจากกันมากขึ้น พื้นที่ตรงกลางที่มีน้ำล้อมรอบจึงกลายเป็นเกาะ เรียกว่า "เกาะเกร็ด"

ปี พ.ศ. 2307 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเล็กน้อย พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า โปรดเกล้าฯ ให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพเข้าตีเข้ากรุงศรีอยุธยาจากทางทิศใต้ ตีหัวเมืองรายทางเรื่อยมาจนถึงเมืองธนบุรีและเมืองนนทบุรี ก็เข้ายึดเมืองทั้งสองได้เช่นกัน พม่าแบ่งกำลังบางส่วนขึ้นมาตั้งค่ายอยู่บริเวณวัดเขมา ขณะนั้นมีเรือกำปั่นอังกฤษซึ่งมาค้าขายอยู่ที่เมืองธนบุรีได้อาสาช่วยรบโดยยิงปืนเข้าใส่ค่ายพม่าในเวลากลางคืน[11] แต่ในที่สุดก็สู้กองทัพพม่าไม่ได้ จึงล่องเรือหนีไป

จากนั้นกองทัพพม่าจึงบุกขึ้นไปทางทิศเหนือ เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2309 และเข้ายึดได้ในปี พ.ศ. 2310 ตลอดการสู้รบได้ส่งผลให้บ้านเมือง วัดวาอารามต่าง ๆ ถูกทำลายและทิ้งร้าง ชาวเมืองนนทบุรีต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่เดิม ข้ามแม่น้ำไปหลบซ่อนในสวนบางกรวยและบางใหญ่เพื่อหนีภัยสงคราม[12]

[แก้] สมัยรัตนโกสินทร์

เมื่อบ้านเมืองได้รับการฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองจึงค่อย ๆ ย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเดิม พร้อมทั้งมีผู้คนจากถิ่นอื่นเข้ามาในพื้นที่ด้วย ได้แก่ ชาวมอญที่อพยพเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานที่ปากเกร็ด[12] และอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองนนทบุรี เมืองปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธ์[13] นอกจากนี้ยังมีชาวไทยมุสลิมเมืองปัตตานีที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[13] และชาวไทยมุสลิมเมืองไทรบุรีที่เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ชาวไทยมุสลิมเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าอิฐ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปากเกร็ด) และบ้านบางบัวทอง[13]

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อยชื่อเมืองจากเดิมคือ เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร เป็น เมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน[14] และต่อมาเปลี่ยนเป็น เมืองนนทบุรีศรีเกษตราราม[15] ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ เมืองนนทบุรีมีฐานะเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดกรมท่า[16]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค เมืองนนทบุรี จึงจัดอยู่ในมณฑลกรุงเทพ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตลาดขวัญ อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และอำเภอปากเกร็ด[16] ส่วนศาลากลางเมืองนนทบุรีนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง มาตั้งอยู่ที่ปากคลองบางซื่อใกล้วัดท้ายเมือง[16] จนกระทั่งปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็น "จังหวัด"[17] เมืองนนทบุรีจึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จังหวัดนนทบุรี

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีมาตั้งที่โรงเรียนราชวิทยาลัย[18] ศาลากลางจังหวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการเมืองและศาลากลางจังหวัดนนทบุรีในอดีตลงมาทางทิศใต้ ปัจจุบันก็คือศาลากลางจังหวัดหลังเก่าบริเวณท่าน้ำนนทบุรีนั่นเอง

[แก้] สมัยปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2474 ทางราชการได้ตัดถนนประชาราษฎร์[19] ขึ้นเป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดพระนครสายแรก[20] และต่อมาจึงตัดถนนพิบูลสงครามเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเป็นสายที่สอง[20] ในท้องที่ตำบลสวนใหญ่

เมื่อปี พ.ศ. 2486 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการจึงยุบจังหวัดนนทบุรีลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยโอนอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ดไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร และโอนอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทองไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี[20] จนกระทั่งนนทบุรีได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2489[21] อำเภอต่าง ๆ จึงกลับมาอยู่ในเขตการปกครองของทางจังหวัดตามเดิม

ปี พ.ศ. 2499 กระทรวงมหาดไทยได้ยกกิ่งอำเภอไทรน้อยซึ่งแยกพื้นที่ปกครองจากอำเภอบางบัวทองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ให้มีฐานะเป็นอำเภอไทรน้อย[22] จังหวัดนนทบุรีจึงมีเขตการปกครองรวม 6 อำเภอจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงมหาดไทยย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ไปตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ และใช้เป็นที่ทำการมาจนถึงทุกวันนี้

[แก้] ทำเนียบผู้ว่าราชการ

รายนามผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรีและผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี[23]

ลำดับ ชื่อผู้ว่าราชการ ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ลำดับ ชื่อผู้ว่าราชการ ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
1 มหาอำมาตย์ตรี นายพันตรีพระยาไกรโกษา (ทัด สิงหเสนี) ไม่ทราบข้อมูล 2 หม่อมเจ้าขจรศุภสวัสดิ์ ไม่ทราบข้อมูล
3 พระยาอินทราธิบดี (ทองย้อย เศวตศิลา) ไม่ทราบข้อมูล 4 พระยานนทบุรีศรีเกษตราราม (เล็ก บูรณฤกษ์) พ.ศ. 2465-2469
5 พระยาศิริชัยบุรินทร์ (เปี่ยม หงสเดช) พ.ศ. 2469-2476 6 พระยาบริหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนาคม) พ.ศ. 2476-2478
7 หลวงภูวนารถนราภิบาล (สนิท มหามุสิต) พ.ศ. 2478-2480 8 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปลื่อง โรจนกุล) พ.ศ. 2480-2482
9 หลวงอรรถเกษมภาษา (สวิง ถาวรพันธ์) พ.ศ. 2482-2483 10 หลวงโยธีพิทักษ์ (โปร่ง สาทิศกุล) พ.ศ. 2483-2484
11 นายสุทิน วิวัฒนะ พ.ศ. 2484-2485 12 หลวงนรกิจบริหาร (แดง กนิษฐสุต) พ.ศ. 2485-2489
13 นายลิขิต สัตยายุทธ์ พ.ศ. 2489-2491 14 ขุนบุรีภิรมย์กิจ (พริ้ม จารุมาศ) พ.ศ. 2491-2499
15 นายประกอบ ทรัพย์มณี พ.ศ. 2499-2503 16 นายสอาด ปายะนันท์ พ.ศ. 2503-2510
17 นายแสวง ศรีมาเสริม พ.ศ. 2510-2514 18 นายวิจิตร แจ่มใส พ.ศ. 2514-2519
19 นายสุชาติ พัววิไล พ.ศ. 2519-2521 20 นายศรีพงศ์ สระวาลี พ.ศ. 2521-2524
21 นายฉลอง วงษา พ.ศ. 2524-2526 22 ดร.สุกิจ จุลละนันท์ พ.ศ. 2526-2530
23 นายปริญญา นาคฉัตรีย์ พ.ศ. 2530-2534 24 นายทวีป ทวีพาณิชย์ พ.ศ. 2534-2536
25 นายชัยจิตร รัฐขจร พ.ศ. 2536-2537 26 นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ พ.ศ. 2537-2539
27 นายวีระชัย แนวบุญเนียร พ.ศ. 2539-2542 28 นายขวัญชัย วศวงศ์ พ.ศ. 2542-2544
29 นายสาโรช คัชมาตย์ พ.ศ. 2544-2545 30 นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์ พ.ศ. 2545-2547
31 นายพระนาย สุวรรณรัฐ พ.ศ. 2547-2549 32 นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ พ.ศ. 2549-2552
33 นายวิเชียร พุฒิวิญญู พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

จังหวัดนนทบุรีตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 622.303 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 388,939.375 ไร่ โดยมีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ละติจูดที่ 13 องศา 47 ลิปดาเหนือ ถึงละติจูดที่ 14 องศา 04 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 องศา 15 ลิปดาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 100 องศา 34 ลิปดาตะวันออก[24] และมีอาณาเขตจรดอำเภอและจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีแม่น้ำไหลผ่าน จึงแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง มีคูคลองขนาดต่าง ๆ เชื่อมโยงกันหลายสายเหมือนใยแมงมุม มีการทำเรือกสวนไร่นา และฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ 1 ใน 3 ของจังหวัด ได้แก่พื้นที่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นเขตเมืองมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น อาจถือได้ว่าส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง เพราะเขตแดนระหว่างนนทบุรีกับกรุงเทพมหานครนั้นแทบจะไม่เป็นที่รู้จัก

[แก้] ลักษณะภูมิอากาศ

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

จังหวัดนนทบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ออกเป็น 6 อำเภอ 52 ตำบล 440 หมู่บ้าน แต่หากไม่นับรวมหน่วยการปกครองในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครซึ่งยุบเลิกตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว จะมีทั้งหมด 34 ตำบล 328 หมู่บ้าน[25] โดยอำเภอทั้ง 6 อำเภอของจังหวัดนนทบุรี มีรายชื่อและข้อมูลทั่วไปดังนี้

ข้อมูลอำเภอในจังหวัดนนทบุรี (31 ธันวาคม พ.ศ. 2552)
ลำดับ[# 1] ชื่ออำเภอ ชั้น[26] พื้นที่
(ตร.กม.)
ห่างจากตัวจังหวัด
(ก.ม.)[27]
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)
ตำบล
[# 2][28]
หมู่บ้าน
[# 3][28]
ประชากร
(คน)[29]
แผนที่
1 พิเศษ
77.018 [30]
- ไม่ปรากฏข้อมูล 10 26
356,153  
แผนที่
2 2
57.408 [31]
16.86  
2447 [32] 9 41
103,930  
3 2
96.398 [33]
8.11  
2464 [34] 6 69
107,716  
4 1
116.439 [35]
15.96  
2445 [36] 8 73
234,496  
5 2
186.017 [37]
29.01  
2499 [38] 7 68
56,195  
6 1
89.023 [39]
7.45  
2427 [40] 12 51
219,581  
  1. ^ เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
  2. ^ รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
  3. ^ เฉพาะหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร (ทั้งเต็มหมู่และบางส่วน) เท่านั้น สำหรับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ให้ดูในบทความของแต่ละอำเภอ

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

พื้นที่จังหวัดนนทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 46 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 11 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 34 แห่ง[41] เทศบาลทั้งหมดมีรายชื่อดังนี้

ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี (31 ธันวาคม พ.ศ. 2552)
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร
(คน)[29]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
1
38.90 [42]
2538 [43]
  เมืองนนทบุรี
5 - 5
263,507  
2
36.04 [44]
2543 [45]
  ปากเกร็ด
5 - 5
176,742 
3
13.50 [46]
2480 [47]
  บางบัวทอง
1 4 5
46,428 
4
8.40 [48]
2545 [49]
  บางกรวย
2 - 2
41,742 
5
6.36 [50]
2549 [51]
  เมืองนนทบุรี
1 1 2
29,416 
6
15.68 [48]
2542 [52]
  บางกรวย
2 1 3
28,867 
7
1.67 [53]
2542 [52]
  บางใหญ่
- 3 3
5,104 
8
7.23 [54]
2542 [52]
  บางใหญ่
- 3 3
9,655 
9
1.20 [48]
2542 [52]
  ไทรน้อย
- 2 2
1,862 
10
8.14 [48]
2546 [55]
  เมืองนนทบุรี
1 - 1
19,021 
11
14.78 [56]
2551 [41]
  บางกรวย
1 - 1
8,777 
  1. ^ หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับล่าสุด

[แก้] ประชากร

ตามข้อมูลจำนวนประชากรของกรมการปกครอง เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2552 จังหวัดนนทบุรีมีประชากร 1,078,071 คน เป็นชาย 507,972 คน และหญิง 570,099 คน[29] ประกอบด้วยหลายเชื้อชาติทั้งไทย (มีจำนวนมากที่สุด มีอยู่ทั่วไปในจังหวัด) จีน มอญ (อพยพมาในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยรัชกาลที่ 2) และมลายู (อพยพมาจากเมืองปัตตานีและไทรบุรี) โดยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา รองลงไปเป็นศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาอื่น ๆ

[แก้] สถานีรถไฟฟ้า

[แก้] รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง

[แก้] รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู

[แก้] รถไฟฟ้าสายสีแดง

[แก้] ท่าเรือ

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี ปี 2552: ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน.
  2. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
  3. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.
  4. ^ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 90.
  5. ^ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 65.
  6. ^ รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 56.
  7. ^ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 39.
  8. ^ 8.0 8.1 8.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 40.
  9. ^ รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 21.
  10. ^ 10.0 10.1 10.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 41.
  11. ^ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 42.
  12. ^ 12.0 12.1 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 43.
  13. ^ 13.0 13.1 13.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 44.
  14. ^ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 44.
  15. ^ รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 27.
  16. ^ 16.0 16.1 16.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 45.
  17. ^ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด" (28 พฤษภาคม 2459). ราชกิจจานุเบกษา 33: 51-53 
  18. ^ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 46.
  19. ^ "พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดถนนจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางขวางขึ้นไปถึงวัดลานวัว จังหวัดนนทบุรี" (13 ธันวาคม 2474). ราชกิจจานุเบกษา 48: 423-430 
  20. ^ 20.0 20.1 20.2 คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 48.
  21. ^ "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช ๒๔๘๙" (9 พฤษภาคม 2489). ราชกิจจานุเบกษา 63 (29 ก): 315-317 
  22. ^ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (5 มิถุนายน 2499). ราชกิจจานุเบกษา 73 (46 ก): 657-661 
  23. ^ ฐานข้อมูลสารสนเทศศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี. "ประวัติของผู้ว่าราชการแต่ละยุคสมัย." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.151.46.31/Chocolate/Program45/A050201.php?id_topic=A0501 2549. สืบค้น 13 มกราคม 2552.
  24. ^ กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. "บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี: ข้อมูลพื้นฐาน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nonthaburi.go.th/narrative_summary/part1.pdf [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
  25. ^ กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. "บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี: ข้อมูลด้านสังคม." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nonthaburi.go.th/narrative_summary/part2.pdf [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
  26. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครองจังหวัดนนทบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/nonthaburi.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2552.
  27. ^ กรมทางหลวง. "สอบถามระยะทางระหว่างจังหวัดหรืออำเภอ."
  28. ^ 28.0 28.1 ฐานข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี. "รายชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ เทศบาล อบต. และขนาดพื้นที่อำเภอ เทศบาล อบต. ในแต่ละอำเภอ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.151.46.31/Chocolate/Program45/A090101.php?id_topic=A0901 2551. สืบค้น 13 มกราคม 2552.
  29. ^ 29.0 29.1 29.2 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/xstat/pop52_1.html 2553. สืบค้น 31 มีนาคม 2553.
  30. ^ รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 49.
  31. ^ รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 50.
  32. ^ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 50.
  33. ^ รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 53.
  34. ^ "ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่อง ตั้งอำเภอบางแม่นาง จังหวัดนนทบุรี" (24 เมษายน 2464). ราชกิจจานุเบกษา 38 (0 ก): 23-24 
  35. ^ รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 58.
  36. ^ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 50.
  37. ^ รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 59.
  38. ^ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (5 มิถุนายน 2499). ราชกิจจานุเบกษา 73 (46 ก): 657-661 
  39. ^ รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543, หน้า 56.
  40. ^ คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543, หน้า 50.
  41. ^ 41.0 41.1 กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. "ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt150851.pdf [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  42. ^ เทศบาลนครนนทบุรี. "ข้อมูลเทศบาลนครนนทบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nakornnont.com/data/data2/ [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  43. ^ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๓๘" (24 กันยายน 2538). ราชกิจจานุเบกษา 112 (40 ก): 29-32 
  44. ^ เทศบาลนครปากเกร็ด. "สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pakkretcity.go.th/history4.asp [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  45. ^ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๔๓" (20 กุมภาพันธ์ 2543). ราชกิจจานุเบกษา 117 (10 ก): 25-28 
  46. ^ เทศบาลเมืองบางบัวทอง. "ข้อมูลทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.buathongcity.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=17&Itemid=43 [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  47. ^ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พุทธศักราช ๒๔๘๐" (14 มีนาคม 2480). ราชกิจจานุเบกษา 54: 1859-1862 
  48. ^ 48.0 48.1 48.2 48.3 กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. "ศูนย์ข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://info.thailocaladmin.go.th/search_general [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  49. ^ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางกรวย พ.ศ. ๒๕๔๕" (16 ธันวาคม 2545). ราชกิจจานุเบกษา 119 (122 ก): 5-8 
  50. ^ เทศบาลเมืองบางศรีเมือง. "ประวัติเทศบาลเมืองบางศรีเมือง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangsrimuang.go.th/profile.php [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.
  51. ^ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลเมืองบางศรีเมือง" (23 กุมภาพันธ์ 2549). ราชกิจจานุเบกษา 123 (พิเศษ 29 ง): 5 
  52. ^ 52.0 52.1 52.2 52.3 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (24 กุมภาพันธ์ 2542). ราชกิจจานุเบกษา 116 (9 ก): 1-4 
  53. ^ เทศบาลตำบลบางม่วง. "ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางม่วง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangmoung.com/web/index.php/ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลบางม่วง [ม.ป.ป.]. สืบค้น 16 เมษายน 2552.
  54. ^ ข้อมูลรายชื่อเทศบาล จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
  55. ^ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. ๒๕๔๖" (2 ตุลาคม 2536). ราชกิจจานุเบกษา 120 (95 ก): 39-42 
  56. ^ เทศบาลตำบลศาลากลาง. "ข้อมูลสภาพทั่วไป." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.salaklang.go.th/default.php?bmodules=html&html=general [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 มกราคม 2552.

[แก้] บรรณานุกรม

  • คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2543.
  • รัตนา ศิริพูล. นนทบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, 2543.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
จังหวัดนนทบุรี

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′N 100°11′E / 13.8°N 100.18°E / 13.8; 100.18