พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
ชื่อ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
วันและเวลา ๑ ธันวาคม๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
สถานที่ Flag of ไทย ทั่วราชอาณาจักร
ผู้จัด รัฐบาลไทย
โอกาส เฉลิมพระชนมพรรษาที่ ๘๐ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (The Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary) เป็นงานฉลองที่ประกอบด้วยรัฐพิธี ราชพิธี และราษฎรพิธี เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

เนื้อหา

[แก้] พระราชพิธี

ในการประชุม คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เห็นชอบเกี่ยวกับ การกำหนดแนวทาง การจัดงานพระราชพิธี ระหว่างวันที่ - ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งต้องนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยก่อน ดังนี้

โดยตลอดสองข้างทางเสด็จพระราชดำเนินจาก พระตำหนักจิตรลดารโหฐานยัง พระบรมมหาราชวัง ขอเชิญชวนประชาชน เฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และจุดเทียนชัยถวายพระพร ตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน

  • วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๐.๓๐ น. เลี้ยงพระ เทศน์มงคลวิเศษ และ พระสงฆ์ถวายพระพร ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ
  • วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๗.๐๐ น. คณะทูตานุทูต เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ใน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

นอกจากนี้ ในวันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์ ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (โดยกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินประทับเรือพระที่นั่งที่ท่าวาสุกรี ขบวนเรือล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา และส่งเสด็จขึ้นที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค)

เสด็จออกมหาสมาคม ณ มุขเด็จ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

[แก้] รัฐพิธี

รัฐบาลไทย ได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในวโรกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

[แก้] งานศาสนพิธี

รัฐบาลไทย ได้เตรียมการจัดศาสนพิธี เนื่องในวโรกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • การจัดพิธีเสกและอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ โดยกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้ทุกจังหวัดคัดเลือกแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพเลื่อมใสอย่างน้อยจังหวัดละ ๑ แห่ง เพื่อประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำ และสำนักพระราชวังได้กำหนดวันประกอบพิธี ดังนี้
    • ฤกษ์ตักน้ำ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
    • ฤกษ์เสกน้ำพระพุทธมนต์ (ในส่วนภูมิภาค) ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ระหว่างเวลา ๑๗.๓๙ น.-๑๘.๐๙ น.
    • ฤกษ์เสกน้ำพระพุทธมนต์ (ในส่วนกลาง) ในวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ระหว่างเวลา ๑๖.๑๙ น.-๑๖.๔๙ น. ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    • และในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. จะมีการจัดขบวนอัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ บรรจุในพระเต้าปทุมนิมิต ทอง นาก เงิน โดยเคลื่อนขบวนอิสริยยศจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเพื่อทูลเกล้าฯถวาย ในการพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม
  • จัดงานอุปสมบทหมู่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และทุกจังหวัด
  • จัดสาธยายพระไตรปิฎกทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ ๑๕ ตุลาคม ถึง ๑๐ ธันวาคม
  • จัดพิธีทางศาสนาของทุกศาสนา
  • จัดกิจกรรมโดยร่วมกับองค์กรเครือข่ายพุทธศาสนา
  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ จำนวนทั้งสิ้น ๙ ครั้ง
  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ จตุรพิศ
  • การขอพระราชทานสถาปนา เลื่อน และตั้งสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์
  • คณะสงฆ์ ทั้งในและต่างประเทศ ถวายพระพร โดยสวดชัยมงคลคาถา ตลอดปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กำหนดจัดพิธีเป็นประจำทุกเดือน โดยครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
  • พระราชทาน ยกวัดราษฎร์ เป็นพระอารามหลวง

[แก้] สิ่งที่ระลึก

[แก้] โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

ปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการพัฒนาโรงพยาบาลชุมชน ให้เป็นโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา จำนวน ๙ แห่ง ได้แก่

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น