พรรคไทยรักไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พรรคไทยรักไทย
สัญลักษณ์พรรคไทยรักไทย
บุคลากร
หัวหน้าพรรค นายจาตุรนต์ ฉายแสง (รักษาการ)
เลขาธิการพรรค นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี (รักษาการ)
โฆษกพรรค นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี
ประธานที่ปรึกษาพรรค
ผู้อำนวยการพรรค
ทั่วไป
ก่อตั้ง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
สำนักงานใหญ่ เลขที่ 1770 (อาคารไอเอฟซีที)
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
อื่น ๆ
นโยบายพรรค ไทยรักไทย หัวใจคือประชาชน
(พ.ศ. 2548)
คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน
(พ.ศ. 2544)
คำขวัญพรรค
สีของพรรค สีน้ำเงิน และ สีแดง
เว็บไซต์ www.thairakthai.or.th

พรรคไทยรักไทย จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นพรรคการเมืองแรกที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 23 คน นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปัจจุบันพรรคไทยรักไทย ถูกยุบตามคำวินิจฉัยใน คดียุบพรรค มีหัวหน้าพรรคคนสุดท้าย คือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง

พรรคไทยรักไทยมีสมาชิกพรรคที่แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ถึงประมาณ 14 ล้านคน (14,394,404 คน) [1]

พรรคไทยรักไทย เป็นพรรคการเมืองแรก ที่ได้รับการเลือกตั้งเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 โดยได้รับการเลือกตั้งถึง 376 ที่นั่ง จากจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 500 ที่นั่ง เอาชนะพรรคคู่แข่งคือ พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้เพียง 96 ที่นั่ง ทำให้เป็นพรรคการเมืองแรกที่สามารถจัดตั้ง รัฐบาลพรรคเดียว ได้สำเร็จ

การบริหารงานของ พรรคไทยรักไทย เป็นที่รับทราบโดยทั่วไป ในการเน้นนโยบายประชานิยมผ่านโครงการต่างๆ ที่เคยหาเสียงไว้ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ บ้านเอื้ออาทร แต่หลายโครงการมีปัญหาในการดำเนินการ และมีคำถามเรื่องความโปร่งใส และความพร้อมตรวจสอบ

พรรคไทยรักไทย ถูกตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ถูกวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมือง เป็นเวลา 5 ปี ด้วยมติ 6 ต่อ 3 เสียง

เนื้อหา

[แก้] กรรมการบริหารพรรค (เดิม) 119 คน

[แก้] กรรมการบริหารพรรค (ก่อนการยุบพรรค)

อันดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรค
2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รองหัวหน้าพรรค
3 นายไชยยศ สะสมทรัพย์ รองหัวหน้าพรรค
4 พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองหัวหน้าพรรค
5 นายเนวิน ชิดชอบ รองหัวหน้าพรรค
6 นายประชา มาลีนนท์ รองหัวหน้าพรรค
7 นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองหัวหน้าพรรค
8 นายโภคิน พลกุล รองหัวหน้าพรรค
9 นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรค
10 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รองหัวหน้าพรรค
11 นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รักษาการเลขาธิการพรรค
12 นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองเลขาธิการพรรค
13 นายชานนท์ สุวสิน รองเลขาธิการพรรค
14 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รองเลขาธิการพรรค
15 น.ต.ศิธา ทิวารี โฆษกพรรค
16 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล กรรมการบริหารพรรค
17 นายจำลอง ครุฑขุนทด กรรมการบริหารพรรค
18 นายประจวบ ไชยสาส์น กรรมการบริหารพรรค
19 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด กรรมการบริหารพรรค
20 นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ กรรมการบริหารพรรค
21 นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล กรรมการบริหารพรรค
22 นายสุชัย เจริญรัตนกุล กรรมการบริหารพรรค
23 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช กรรมการบริหารพรรค
24 นายอดิศร เพียงเกษ กรรมการบริหารพรรค
25 ดร.อดิศัย โพธารามิก กรรมการบริหารพรรค
26 นายอนุทิน ชาญวีรกูล กรรมการบริหารพรรค
27 นายเอกพร รักความสุข กรรมการบริหารพรรค
28 นายเกรียง กัลป์ตินันท์ กรรมการบริหารพรรค
29 นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก กรรมการบริหารพรรค
30 ว่าที่ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี กรรมการบริหารพรรค
31 นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล กรรมการบริหารพรรค
32 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กรรมการบริหารพรรค
33 นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ กรรมการบริหารพรรค
34 นายชาญชัย ปทุมารักษ์ กรรมการบริหารพรรค
35 นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา กรรมการบริหารพรรค
36 นางพิมพา จันทร์ประสงค์ กรรมการบริหารพรรค
37 นายลิขิต หมู่ดี กรรมการบริหารพรรค
38 ว่าที่ ร.ท.น.พ.วัลลภ ยังตรง กรรมการบริหารพรรค
39 นายพรชัย เตชะไพบูลย์ กรรมการบริหารพรรค
40 นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ กรรมการบริหารพรรค
41 นายทศพล สังขทรัพย์ กรรมการบริหารพรรค
42 นายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ กรรมการบริหารพรรค
43 นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร กรรมการบริหารพรรค
44 นางมยุรา มนะสิการ กรรมการบริหารพรรค
45 นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ กรรมการบริหารพรรค
46 นายวีระกร คำประกอบ กรรมการบริหารพรรค
47 นายกฤษ ศรีฟ้า กรรมการบริหารพรรค
48 นายวีระ มุสิกพงศ์ กรรมการบริหารพรรค
49 นายสุธรรม แสงประทุม กรรมการบริหารพรรค
50 นายสุรเชษฐ์ ดวงสอดศรี กรรมการบริหารพรรค
51 หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล กรรมการบริหารพรรค
52 น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ กรรมการบริหารพรรค

[แก้] รายชื่อผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย 23 คน

[แก้] กลุ่มย่อยในพรรค

[แก้] พรรคไทยรักไทย หลังรัฐประหาร

ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 พรรคไทยรักไทย ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อถึง 18,993,073 เสียง และถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงเลือกตั้งเพราะต้องการหลีกเลี่ยงกฎ 20% คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงตั้งอนุกรรมการมาสอบ ซึ่งผลปรากฏว่ามีมูลทำให้พรรคไทยรักไทยอาจถูกยุบพรรคได้และกำลังอยู่ในระหว่างการส่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคได้

หลังการ รัฐประหาร 2549 ไม่นาน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งพำนักอยู่ที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจลาออกจากหัวหน้าพรรค โดยส่งจดหมายซึ่งเขียนด้วยลายมือ โดยได้ชี้แจงสาเหตุถึงการลาออก และขอบคุณสมาชิกพรรคและผู้ให้การสนับสนุน

หลังจากที่หัวหน้าพรรคลาออกไม่นาน ความเคลื่อนไหวของสมาชิกพรรค โดยเฉพาะผู้บริหารพรรค ต่างก็ตัดสินใจลาออก จากกรรมการบริหารพรรค สมาชิกพรรค ทันที มีการฟ้องร้องยุบพรรคไทยรักไทย มีการตรวจสอบเรื่องการทุจริต ซึ่งอาจมีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย พร้อมเพิกถอนสิทธิการเมืองกรรมการบริหารทั้ง 111 คน เป็นจำนวน 5 ปี เหตุที่เพิกถอนสิทธิเพียง 111 คนใน 119 คน เนื่องจากใน 8 คนที่เหลือมีการลาออกหรือสิ้นสภาพกรรมการฯ ก่อนการกระทำผิด ได้แก่ พระเปรมศักดิ์ เพียยุระ, นายเสนาะ เทียนทอง, นายสานิต เทียนทอง, นายลิขิต ธีรเวคิน, นายสฤต สันติเมทะนีดล, นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์, นายกร ทัพพะรังสี และนางกอบกุล นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี ที่ถูกยิงเสียชีวิต [2][3]

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′51″N 100°34′06″E / 13.747504°N 100.568268°E / 13.747504; 100.568268

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′19″N 100°31′24″E / 13.771935°N 100.52339°E / 13.771935; 100.52339