ยุคมุโระมะจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

Kinkaku-ji Gold Pavilion close-up.jpg

ยุคมุโระมาจิ (ญี่ปุ่น: 室町時代 Muromachi-jidai ?) ตรงกับค.ศ. 1336 - ค.ศ. 1568 ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 อะชิคะงะ โยะชิมิทสึ ได้ปราบปรามชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบ และตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นอีกครั้งที่ เกียวโต ซึ่งรัฐบาลโชกุนนี้ได้ปกครองญี่ปุ่นต่อมาเป็นเวลานานถึงสองศตวรรษเศษอันเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมของชนชั้นนักรบก็ได้กลืนวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองลงอย่างราบคาบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโชกุนของตระกูลอะชิคะงะ เกิดจากการรวมตัวของขุนศึกสำคัญ ๆ ตามหัวเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จึงเป็นธรรมดาที่การรวบอำนาจให้รัฐบาลมีเสถียรภาพนั้นเป็นไปได้อย่างลำบาก ดังนั้นในครึ่งหลังศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงเริ่มทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน จนทั้งประเทศญี่ปุ่นตกเข้าสู่ยุคสงคราม ภายในยุคนี้เป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือเกษตรกรและมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินจึงเป็นการปกครองระบบศักดินาโดยสมบูรณ์ ด้านเศรษฐกิจก็เจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากทำการค้ากับจีนสมัยหมิงด้านวัฒนธรรม ลัทธิเซนเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองและชนชั้นนักรบ ซึ่งเห็นรูปแบบได้จากตำหนักทอง (Kinkaku) ในปลายศตวรรษที่ 14 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมคิตะยะมะ (Kitayama) และตำหนักเงิน (Ginkaku) ในปลายศตวรรษที่ 15 อันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมฮิงะชิยะมะ (Higashiyama) การละคร อย่างเช่น โน เคียวเง็น และการต่อเพลง ก็เริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนภายนอก ศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่น พิธีชงชา การจัดดอกไม้ ก็เริ่มมีรากฐานมาจากยุคนี้ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 พวกฝรั่ง เช่น ชาติโปรตุเกส และสเปนก็ได้นำอาวุธปืนยาวและศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่น

[แก้] เหตุการณ์ที่สำคัญ

- ค.ศ. 1333 จักรพรรดิกลับมามีอำนาจในการปกครองประเทศ

- ค.ศ. 1335 ทากาอุจิ และ โยชิซาดะ ต่างก็หวังครองเกียวโต เกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์ทางเหนือกับทางใต้ - ค.ศ. 1338 ทากาอุจิ อาชิกางะ ได้รับตำแหน่งโชกุน และก่อตั้งรัฐบาลมุโรมาจิ

- ค.ศ. 1392 ฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ตกลงปรองดองกันได้

- ค.ศ. 1397 โยชิมิทสึ อาชิกางะ โชกุนรุ่นที่ 3 สร้างตำหนักทอง ที่คิตายามะ ในเกียวโต เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมคิตายามะเจริญรุ่งเรือง

- ค.ศ. 1401 โยชิมิทสึ อาชิกางะ ส่งทูตญี่ปุ่นไปยังราชวงศ์หมิงของจีนเป็นครั้งแรก

- ค.ศ. 1431 ระยะนี้มักจะเกิดการปะทะกันระหว่างพวกไดเมียว (หัวหน้ากลุ่มนักรบในเขตท้องถิ่น) ด้วยกันอยู่บ่อยครั้ง

- ค.ศ. 1457 โดกัน โอตะ สร้างปราสาทเอโดะที่มุซาชิ

- ค.ศ. 1467 สงครามโอนิน เป็นจุดเริ่มต้นแห่งยุคสงครามกลางเมืองอันยาวนาน ระหว่างบรรดาไดเมียวที่แตกแยกออกเป็นสองกลุ่ม ภายใต้การนำของตระกูลโฮโสกาวะ กับตระกูลยามานะ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของการปกครองระบบโชกุนทั้งหมด ชนชั้นนักรบมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ

- ค.ศ. 1477 การต่อสู้ในเกียวโตได้สงบลง แต่สงครามกลับขยายตัวไปยังส่วนภูมิภาคแทน

- ค.ศ. 1482 โยชิมาสะ อาชิกางะ สร้างตำหนักเงิน ที่ฮิงาชิยามะ ในเกียวโต เป็นช่วงที่วัฒนธรรมฮิงาชิยามะเจริญรุ่งเรือง

- ค.ศ. 1543 พ่อค้าชาวโปรตุเกสขึ้นฝั่งที่ทาเนงาชิมะ และนำปืน ยาสูบ และของแปลกๆใหม่ๆหลายชนิด เข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น

- ค.ศ. 1549 เซนต์ฟรานซิส ซาเวียร์ นำศาสนาคริสต์มาเผยแพร่ที่คาโงชิมะ

- ค.ศ. 1568 โนบุนางะ โอดะ ซึ่งเป็นตระกูไดเมียว ที่มีอำนาจขึ้นมาในสมัยสงครามท้องถิ่น และต้องการรวมประเทศเป็น ก็ได้เคลื่อนกำลังเข้ายึดเกียวโต โดยได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิ โดยมีอีก 2 บุคคลที่เป็นผู้นำสำคัญในการรวมประเทศ คือ ฮิเดโยชิ โทโยโตมิ และ อิเอยาสุ โทกุงาวะ ทำให้อารยธรรมมุโระมะจิเริ่มเสื่อมสลายไป

[แก้] บุคคลสำคัญ

อิคคิว โซจุนเดิมเป็นพระราชโอรสของพระจักรพรรดิต่อมาเมื่ออะชิคะงะ โยชิมิทสึได้ปราบปรามราชวงศ์ใต้ของพระจักรพรรดิลง พระราชมารดาได้ส่งอิ๊คคิวซัง(นามนี้เป็นฉายาไม่ทราบชื่อจริง)ในวัย10ขวบไปบวชที่วัดอังโคะคุจิอิคคิวซังนั้นเป็นเณรที่ฉลาดมาก สามารถตอบปัญหาเอาชนะโชกุนโยชิมิทสึ ผู้ตรวจการอินางาวะ ชินเอม่อนคิเคียวยะซังและยาโยยสองพ่อลูกจอมเจ้าเล่ห์ ต่อมาเมื่ออิ๊คคิวอายุมากขึ้นได้เป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งและมรณภาพเมื่ออายุประมาณ80ปีเรื่องราวของเขาชาวญี่ปุ่นยังเล่าสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และเรื่องของอิ๊คคิวซังได้ถูกนำไปสร้างเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเมื่อ30-40ปีก่อนใช้ชื่อว่า"อิ๊คคิวซัง..เณรน้อยเจ้าปัญญา"

[แก้] อ้างอิง

ประวัติศาสตร์ ยุคมุโระมะจิ เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ยุคมุโระมะจิ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์