ยุคยะโยอิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

YayoiJar.JPG

ยุคยะโยอิ (ญี่ปุ่น: 弥生時代 Yayoi-jidai ?) - ราว 300ปี ก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 250 วัฒนธรรมยาโยอิ ได้รับอิทธิพลมาจาก การอพยพเข้ามาของคนจากผืนแผ่นดินใหญ่สู่หมู่เกาะญี่ปุ่น เรียกได้ว่าชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ที่สามารถดัดแปลง เลียนแบบ ในการรับเอาวัฒนธรรมอื่นทุกๆอย่างที่สูงกว่าตน มาใช้อย่างได้ผลดีต่อสังคม ผู้คนตั้งถิ่นฐานทางตะวันตกและตะวันออกของประเทศ


- เริ่มเรียนรู้การเพาะปลูกข้าว วิชาช่าง เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยทองสัมฤทธิ์และเหล็ก เช่น เครื่องมือเพาะปลูก ดาบ กระจกเงา - เครื่องปั้นดินเผายาโยอิ ใช้แกนหมุนในการขึ้นรูป เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะและหินขัด - ชาวจีนเรียกแผ่นดินญี่ปุ่นว่า แผ่นดินของวา (วา แปลว่า แคระ) - ใน ค.ศ. 57 เจ้าเมืองแผ่นดินวา ได้รับตราประจำตำแหน่งทำด้วยทอง เขียนไว้ว่า “เจ้าเมืองแผ่นดินวาของฮั่น” หลังจากส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ฮ่องเต้เมืองฮั่น - ศาสนาสมัยแรกของชาวญี่ปุ่นคือ ชินโต หรือ “ทางของเทพเจ้า” เป็นศาสนาที่สักการบูชาเทพเจ้า ซึ่งได้แก่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือบรรพบุรุษในตำนาน

(สถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาชินโต ในสมัยนั้น) - ตอนต้นของศตวรรษแรก แผ่นดินวานี้แบ่งออกเป็นรัฐต่างๆน้อยใหญ่ประมาณ 100 กลุ่มชนด้วยกัน แต่ในศตวรรษต่อไปนั้นจำนวนรัฐลดเหลือเพียง 30 กลุ่มชน อยู่รวมกันภายใต้การคุ้มครองของราชินีองค์หนึ่ง นามว่า พระนางฮิมิโกะ ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ทางศาสนามากกว่าเป็นประมุขทางการเมือง พระนางทำหน้าที่เป็นคนทรงและประกอบเวทมนตร์คาถาให้ประชาชน ส่วนประมุขทางการเมืองยังเป็นจักรพรรดิ


- ใน ค.ศ. 239 พระนางฮิมิโกะ ผู้ครองอาณาจักรยามาไท ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองเว่ย ของจีน - ช่วงศตวรรษที่3 มีการอพยพของคนจากแผ่นดินใหญ่ผ่านทางเกาหลีเข้ามายังญี่ปุ่น


[แก้] อ้างอิง