ยุคเมจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

Meiji Emperor.jpg

ยุคเมจิ (ญี่ปุ่น: 明治時代 Meiji-jidai เมจิจิได ?) ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912 จักรพรรดิเมจิเป็นผู้รื้อฟื้นอำนาจการปกครองของจักรพรรดิขึ้นมาอีกครั้ง ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเกียวโตไปที่เมืองเอโดะแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียวทรงปฏิรูปญี่ปุ่นในทุกๆด้าน เรียกการปฏิรูปในสมัยพระองค์ว่า การปฏิรูปสมัยเมจิ

เนื้อหา

[แก้] ด้านการปกครอง

ทรงปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการบริหารประเทศแต่จักรพรรดิยังคงใช้อำนาจการปกครอง มีการยกเลิกการปกครองแบบศักดินาสวามิภักดิ์จัดระบบการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เป็นแบบศูนย์รวมอำนาจ

[แก้] ด้านเศรษฐกิจ

ประกาศยกเลิกการครอบครองที่ดินในระบบศักดินานำที่ดินแจกจ่ายให้ชาวไร่ชาวนาทรงสร้างระบบการคมนาคมทั้งถนน ทางรถไฟ ระบบขนส่งทางทะเล เพื่อเสริมสร้างการค้าภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบไปรษณีย์ การเงินและธนาคาร และวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสนับสนุนเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน ค.ศ. 1911 ประเทศญี่ปุ่นก็มีอำนาจในการจัดตั้งภาษีศุลกากรได้สำเร็จ และในช่วงเดียวกันประเทศญี่ปุ่นก็เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย

[แก้] ด้านสังคม

ประกาศยกเลิกสิทธิพิเศษของซามูไรประชาชนทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน ค.ศ. 1872 รัฐบาลประกาศนโยบายการศึกษาให้ประชาชนเล่าเรียนกันทุกคน มีการปลูกฝังความคิดและค่านิยมแบบดั้งเดิม คือ ลัทธิขงจื๊อในแผนการศึกษาเพื่อเน้นความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ

[แก้] ด้านการทหาร

จัดให้มีการเกณฑ์ทหารตามแบบมาตรฐานสากลจัดตั้งกระทรวงกลาโหมดูแลการทหาร ปรับปรุงกองทัพให้มีประสิทธิภาพทั้งระเบียบวินัยของกองทัพและศักยภาพของอาวุธทำให้ประเทศญี่ปุ่นก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจชาติหนึ่งของโลก

การปฏิรูปสมัยเมจิใช้เวลาเพียง 20 ปี ก็สามารถพัฒนาประเทศญี่ปุ่นจากประเทศด้อยพัฒนามาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในภูมิภาคเอเชีย