ภาษาฮีบรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาฮีบรู
עִבְרִית ‘Ivrit 
เสียงอ่าน: /ʔivˈʁit/ (อิฟริต, อิสราเอลมาตรฐาน), /ʕivˈriθ/ (อิฟริธ, ตะวันออก) /ivˈʀis/ (อิฟริส, อัชเคนาซี)
พูดใน: ประเทศอิสราเอล และประเทศอื่นๆ
จำนวนผู้พูด: ประมาณ 7 ล้านคน [1]
ตระกูลภาษา: แอโฟร-เอเชียติก
 เซมิติก
  เซมิติกตะวันตก
   เซมิติกกลาง
    เซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ
     คานาไนต์
      ภาษาฮีบรู 
ระบบการเขียน: อักษรฮีบรู 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: ประเทศอิสราเอล
ผู้วางระเบียบ: สถาบันภาษาฮีบรู
(Academy of the Hebrew Language האקדמיה ללשון העברית HaAqademia LaLashon Ha‘Ivrit)
รหัสภาษา
ISO 639-1: he
ISO 639-2: heb
ISO 639-3: heb
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา
วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาฮีบรู

ภาษาฮีบรู (Modern Hebrew) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกในกลุ่มแอฟโร-เอเชียติก มีผู้พูดมากกว่า 7 ล้านคนในอิสราเอลและอีกจำนวนหนึ่งในชุมชนชาวยิวทั่วโลก ในอิสราเอลถือว่าเป็นภาษาที่แท้จริงของรัฐและประชาชนและเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับชื่อในภาษาฮีบรูของภาษาฮีบรูคือ עברית, หรือ Ivrit (อ่านว่า "อิฝริต eev-REET" หรือ /iv.'rit/ ใน IPA)

ตานิชหรือคัมภีร์ไบเบิลภาคภาษาฮีบรูหรือโตราห์ (Torah) ของศาสนายูดาย เขียนด้วยภาษาฮีบรูคลาสสิกซึ่งเชื่อว่าเป็นสำเนียงของภาษาฮีบรูที่ใช้เมื่อ 500 ปีก่อนคริสตศตวรรษ ใกล้กับยุคที่ชาวยิวถูกเนรเทศไปบาบิโลเนีย ภาษาฮีบรูเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์(לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช)ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซปรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูสำเนียงในไบเบิลถูกแทนที่ด้วยสำเนียงใหม่ๆของภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน

หลังจากเยรูซาเลมถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ผู้รู้ส่วนใหญ่เห็นว่า ภาษาฮีบรูชนิดที่ใช้ในไบเบิลถูกแทนที่ด้วยฮีบรูมิชนาอิก (Mishnaic) และภาษาอราเมอิกชนิดท้องถิ่น ในชีวิตประจำวัน หลังจากการหดหายของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ที่ชาวโรมันเข้าไปครอบครอง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น จดหมาย วิทยาศาสตร์ ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่

ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2464 คู่กับภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับ และกลายเป็นภาษาราชการของอิสราเอลตั้งแต่ พ.ศ. 2491

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ภาษาฮีบรูจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับภาษาคานาอันไนต์ โดยภาษาฮีบรูและภาษามัวไบต์ (ในจอร์แดน) เป็นกลุ่มคานาอันไนต์ใต้ ในขณะที่ภาษาฟินิเชียน (ในเลบานอน) เป็นกลุ่มคานาอันไนต์เหนือ ภาษากลุ่มคานาอันไนต์ใกล้เคียงกับภาษาอราเมอิกและภาษาอาหรับสำเนียงทางใต้และตอนกลาง สำเนียงต่างๆของภาษาคานาอันไนต์กลายเป็นภาษาตายไปหมดแล้ว เหลือภาษาฮีบรูเพียงภาษาเดียว ภาษาฮีบรูเป็นภาษาพูดในอิสราเอลตั้ง 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงยุคไบแซนไทน์ ในคริสตศตวรรษที่ 2 หลังจากนั้นกลายเป็นภาษาเขียนจนถึงสมัยการตั้งสถาปนารัฐอิสราเอล

[แก้] จุดกำเนิดของภาษาฮีบรู

ภาษาฮีบรูจัดอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติก โดยอยู่ในสาขาตะวันตกเฉียงเหนือ เริ่มปรากฏเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภาษาคานาอันไนต์ที่อยู่ในกลุ่มนี้เริ่มปรากฏเมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช คาดว่าแยกออกมาจากภาษาอราเมอิกและภาษายูการิติก ภายในภาษากลุ่มคานาอันไนต์ด้วยกันนั้น ภาษาฮีบรูอยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกับภาษาอีโดไมต์ ภาษาอัมโมไนต์ และภาษามัวไบต์ ส่วนภาษาคานาอันไนต์อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มของภาษาฟินิเชียนและภาษาลูกหลานคือภาษาปูนิก

[แก้] ภาษาฮีบรูในฐานะสำเนียงของภาษาคานาอันไนต์

หลักฐานการเขียนด้วยภาษาฮีบรูที่เก่าที่สุดคือปฏิทินเกเซอร์ มีอายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในยุคของดาวิดและโซโลมอน เขียนด้วยอักษรเซมิติกโบราณ คล้ายกับอักษรฟินิเชียนที่เป็นต้นแบบของอักษรอีทรัสคัน อักษรกรีกและอักษรโรมัน การเขียนในปฏิทินไม่มีรูปสระ และไม่มีการใช้รูปพยัญชนะแทนเสียงสระดังที่ปรากฏในการเขียนภาษาฮีบรูรุ่นต่อมา ในบริเวณเดียวกันนั้น มีแผ่นจารึกเก่าที่เขียนด้วยภาษากลุ่มเซมิติกอื่นๆจำนวนมาก ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรที่มาจากอักษรเฮียโรกลิฟฟิกของอียิปต์

ภาษาที่เป็นต้นตระกูลของภาษาฮีบรูและภาษาฟินิเชียนเรียกภาษาคานาอันไนต์ เป็นภาษาแรกที่ใช้อักษรที่พัฒนามาจากเฮียโรกลิฟฟิก เอกสารโบราณอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ จารึกมัวไบต์ เขียนด้วยภาษามัวไบต์ จารึกซีลอมที่พบในเยรูซาเลมเป็นตัวอย่างในยุคแรกๆของภาษาฮีบรู

[แก้] ภาษาฮีบรูคลาสสิก

ในความหมายอย่างกว้าง ภาษาฮีบรูคลาสสิกหมายถึงภาษาพูดในยุคโบราณของอิสราเอลตั้งแต่ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงพุทธศตวรรษที่ 9 มีสำเนียงที่เหลือรอดและผสมผสานกันมาก ชื่อที่ใช้เรียกมักมาจากวรรณคดีที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับสำเนียงนั้นๆ

  • ภาษาฮีบรูไบเบิลโบราณ อยู่ในช่วง 457 – 57 ปีก่อนพุทธศักราช เริ่มตั้งแต่ยุคโมนาร์จิกจนถึงการอพยพไปบาบิโลเนีย บางครั้งเรียกภาษาฮีบรูโบราณหรือฮีบรู-ปาเลา เขียนด้วยอักษรคานาอันไนต์
  • ภาษาฮีบรูไบเบิล ใช้ในช่วง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ใกล้เคียงกับการอพยพไปบาบิโลเนียและปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลที่เขียนขึ้นในยุคเดียวกันมักเรียกว่าภาษาฮีบรูไบเบิลคลาสสิก เขียนด้วยอักษรอราเมอิก
  • ภาษาฮีบรูไบเบิลรุ่นหลังใช้ในช่วง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ถึง พ.ศ. 143 ซึ่งเป็นยุคเดียวกับยุคของจักรวรรดิเปอร์เซีย ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิลฉบับของเอซราและเนเฮเมียห์
  • ภาษาฮีบรูในม้วนหนังสือทะเลสาบเดดซี มีอายุราว พ.ศ. 243 – 643 ซึ่งเป็นยุคที่กรีกและโรมันมีอิทธิพลเหนือกรุงเยรูซาเลมและมีการทำลายวิหารต่างๆ พบในม้วนหนังสือคุมรานซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซี บางครั้งเรียกภาษาฮีบรูคุมราน ในยุคแรกเขียนด้วยอักษรอราเมอิกที่พัฒนามาเป็นอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ม้วนหนังสือรุ่นหลังๆเขียนด้วยอักษรฮีบรูอย่างที่ใช้ในปัจจุบัน
  • ภาษาฮีบรูมิซนาอิก ใช้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 - 9 ซึ่งเป็นยุคที่โรมันปกครองเยรูซาเลม พบในมิซนะห์และโตเซฟตาซึ่งอยู่ในคัมภีร์ทัลมุดและบางส่วนของม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซี บางครั้งเรียกภาษาฮีบรูตันไนติกหรือฮีบรูรับบินิกยุคต้น

ในบางครั้ง ภาษาฮีบรูคลาสสิกที่กล่าวมาข้างต้นจะเรียกรวมๆว่าภาษาฮีบรูไบเบิล นักภาษาศาสตร์ที่ศึกษาภาษาฮีบรูลงความเห็นว่าภาษาฮีบรูในม้วนหนังสือแห่งทะเลสาบเดดซีพัฒนามาเป็นภาษาฮีบรูไบเบิลยุคหลังแล้วจึงมาเป็นภาษาฮีบรูมิซนาอิก เมื่อเข้าสู่ยุคไบแซนไทน์ในพุทธศตวรรษที่ 9 ภาษาฮีบรูใช้เป็นภาษาพูดน้อยลง

[แก้] ภาษาฮีบรูในมิซนะห์และทัลมุด

เป็นคำที่ใช้เรียกภาษาฮีบรูที่ใช้ในคัมภีร์ทัลมุดของชาวยิว สำเนียงของภาษานี้คือภาษาฮีบรูมิซนาอิกที่เป็นภาษาพูดและภาษาฮีบรูอโมราอิกที่เป็นภาษาทางศาสนา

ส่วนแรกของทัลมุดเรียกว่ามิซนะห์ซึ่งมีการตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 743 เขียนด้วยสำเนียงมิซนาอิก ซึ่งพบในม้วนหนังสือทะเลสาบเดดซีด้วย จัดว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาฮีบรูคลาสสิก อีก 100 ปีต่อมาหลังการเผยแพร่ ภาษาฮีบรูมิซนาอิกไม่มีการใช้เป็นภาษาพูดอีก ส่วนท้ายของทัลมุดคือเกมารา ให้ความเห็นเกี่ยวกับมิซนะห์และเกไรตอต เขียนด้วยภาษาอราเมอิก ภาษาฮีบรูที่เหลืออยู่ในฐานะภาษาเขียนคือภาษาฮีบรูอโมราอิกที่ปรากฏในเกมาราด้วย

[แก้] ภาษาฮีบรูยุคกลาง

หลังจากยุคของทัลมุดมีพัฒนาการของภาษาฮีบรูในฐานะภาษาเขียนที่เรียกภาษาฮีบรูยุคกลางขึ้น ที่สำคัญคือภาษาฮีบรูติเบอเรียนซึ่งเป็นสำเนียงพื้นเมืองของกาลิลีที่กลายเป็นมาตรฐานของภาษาฮีบรู ใช้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 15 และใช้ในการอ่านออกเสียงภาษาฮีบรูในไบเบิล

ภาษาฮีบรูติเบอเรียนได้มีการเพิ่มเครื่องหมายสระและกำหนดไวยากรณ์เพื่อรักษาลักษณะของภาษาฮีบรูไว้ การกำหนดสระนี้เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับการกำหนดเครื่องหมายสระในอักษรซีเรียคที่กำหนดโดยใช้จุดเช่นกัน ในยุคทองของวัฒนธรรมยิวในคาบสมุทรไอบีเรีย มีการกำหนดคำศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาฮีบรูไบเบิลโดยได้พื้นฐานาจากภาษาอาหรับคลาสสิก

เนื่องจากมีความต้องการที่จะแสดงแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และปรัชญาจากภาษากรีกคลาสสิกและภาษาอาหรับยุคกลาง ภาษาฮีบรูยุคกลางจึงมีการยืมศัพท์เฉพาะจากภาษาเหล่านี้ หรือสร้างคำเพิ่มจากรากศัพท์เดิมในภาษาฮีบรู นอกจากนี้ ภาษาฮีบรูยังใช้เป็นภาษาทางการค้าระหว่างชาวยิวที่อยู่คนละประเทศ

[แก้] ภาษาฮีบรูในทางศาสนา

ภาษาฮีบรูเป็นภาษาที่ใช้ในบทสวดและการศึกษา และมีระบบการออกเศียงเฉพาะภาษาฮีบรูอาซเกนาซีซึ่งมีจุดกำเนิดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ใช้โดยชาวยิวอาซเกนาซีที่อยู่ในชุมชนของชาวคริสต์ออร์โธดอกซ์ ได้รับอิทธิพลจากภาษายิดดิช ภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีเป็นระบบการออกเสียงของชาวยิวในสเปนและโปรตุเกส รวมทั้งชาวยิวเซฟาร์ดีในประเทศที่เคยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมัน ได้รับอิทธิพลจากภาษาลาดิโน

ภาษาฮีบรูมิซราฮีหรือภาษาฮีบรูตะวันออกเป็นสำเนียงทางศาสนาของชาวยิวที่อาศัยร่วมกับชาวอาหรับและในโลกอิสลาม ได้รับอิทธิพลจากภาษาอราเมอิกและภาษาอาหรับ และภาษายิวเซฟาร์ดีในบางกรณี ซึ่งถือว่ามีลักษณะของภาษาฮีบรูไบเบิลมากที่สุด และอาจเกี่ยวข้องกับภาษายิวเยเมนที่ต่างจากภาษาฮีบรูมิซราฮีในด้านระบบสระ

[แก้] ภาษาฮีบรูสมัยใหม่

[แก้] พัฒนาการของภาษาฮีบรูสมัยใหม่

ภาษาฮีบรูสมัยใหม่คือภาษาฮีบรูที่กลับมาเป็นภาษาพูดอีกครั้งในพุทธศตวรรษที่ 24 มีลักษณะของภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีที่เพิ่มลักษณะใหม่ๆเข้าไป เช่นคำยืมจากภาษาในยุโรปและภาษาอาหรับ การใช้ภาษาฮีบรูถูกนำกลับมาอีกครั้งโดยขบวนการฮัสกาละห์ และมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ภาษาฮีบรูในยุโรปตะวันออกและมีการเขียนนิยายด้วยภาษานี้

การฟื้นคืนมาเป็นภาษาแม่ของภาษาฮีบรูเริ่มจากการสนับสนุนของเอลีเซอร์ เบน-เยฮูดา ผู้เข้าร่วมขบวนการแห่งชาติชาวยิวเมื่อ พ.ศ. 2424 และอพยพเข้าสู่ปาเลสไตน์ที่ยังอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันเขาได้พัฒนาเครื่องมือและวิธีการที่จะเปลี่ยนภาษาทางศาสนาให้เป็นภาษาพูด มีการจัดตั้งโรงเรียนและเขียนตำราเรียนด้วยภาษาฮีบรู ช่วง พ.ศ. 2447 – 2457 ภาษาฮีบรูมีการใช้ในปาเลสไตน์มากขึ้นและกลายเป็นหนึ่งในสามภาษาราชการของปาเลสไตน์ในอาณัติของอังกฤษ ภาษาที่เกิดใหม่นี้มีคำศัพท์ของภาษากลุ่มเซมิติก มีรูปแบบการเรียงประโยคแบบภาษาในยุโรป

[แก้] ปฏิกิริยาต่อภาษาฮีบรูใหม่

เมื่อมีการก่อตั้งประเทศอิสราเอลและมีชาวยิวจากหลายประเทศอพยพมาอยู่รวมกัน ภาษาฮีบรูซึ่งเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ในศาสนายิวได้กลายเป็นภาษากลางระหว่างชาวยิวกลุ่มต่างๆ มีการตั้งคณะกรรมการภาษาฮีบรูซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสำนักภาษาฮีบรูในปัจจุบัน งานของคณะกรรมการคือการเผยแพร่พจนานุกรม แต่ก็มีชาวยิวบางส่วนปฏิเสธภาษาฮีบรูและพูดภาษายิดดิชเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ชาวยิวในอิสราเอลปัจจุบันมีน้อยมากที่ไม่พูดภาษาฮีบรู

[แก้] ภาษาฮีบรูในสหภาพโซเวียต

ในภาษารัสเซียมีศัพท์ที่ใช้แยกกันระหว่างภาษาฮีบรูโบราณและภาษาฮีบรูสมัยใหม่ สหภาพโซเวียตเห็นว่าพวกที่ใช้ภาษาฮีบรูเป็นพวกปฏิกิริยาซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งศาสนายูดายและลัทธิไซออนนิสต์ การสอนภาษาฮีบรูในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาถูกสั่งห้ามตั้งแต่ พ.ศ. 2462 ภาษายิดดิชเป็นภาษาพูดของชาวยิวในรัสเซียซึ่งถูกกำหนดให้เป็นภาษาประจำชาติ ส่วนภาษาฮีบรูถูกกำหนดใหเป็นภาษาต่างชาติ หนังสือภาษาฮีบรูถูกห้ามตีพิมพ์และให้นำออกจากห้องสมุด

[แก้] ภาษาฮีบรูในบิโรบิดซาน

มหาวิทยาลัยแห่งชาติยิวบิโรบิดซานทำงานเกี่ยวกับชุมชนชาวยิวในบิโรบิดซานซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย มหาวิทยาลัยนี้ศึกษาภาษาฮีบรู ประวัติศาสตร์และภาษาฮีบรูคลาสสิก ในเขตปกครองตนเองชาวยิวมีการเรียนภาษาฮีบรูและภาษายิดดิช และมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมยิวที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลอิสราเอลในปัจจุบัน

[แก้] ลักษณะของภาษาฮีบรูสมัยใหม่

ภาษาฮีบรูมาตรฐานที่พัฒนาโดยเอลีเซอร์ เบน-เยฮูดา มีพื้นฐานมาจากการสะกดแบบมิซนาอิกและการออกเสียงแบบภาษาฮีบรูเซฟาร์ดี ผู้พูดภาษาฮีบรูสมัยใหม่รุ่นแรกๆเป็นผู้พูดภาษายิดดิชมาก่อน จึงมีการใช้สำนวนและภาษาเขียนแบบที่ได้รับอิทธิพลจากภาษายิดดิช ภาษาที่ใช้พูดในอิสราเอลได้พัฒนาไปเป็นภาษาฮีบรูอาซเกนาซี

[แก้] การจัดจำแนก

การจัดจำแนกภายในหมู่นักวิชาการมีความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ยอมรับความต่อเนื่องจากภาษาฮีบรูในไบเบิลและภาษาฮีบรูมิซนาอิก ในขณะที่มีการยอมรับคำศัพท์และรูปแบบการเรียงประโยคจากภาษาในยุโรปมาด้วย ในทิศทางเดียวกับการพัฒนาของภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ เช่นภาษาอาหรับในโมร็อกโก นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน เช่น

  • Wexler กล่าวว่าภาษาฮีบรูสมัยใหม่ไม่ใช่ภาษากลุ่มเซมิติกแต่เป็นสำเนียงของภาษายิว-ซอร์เบียน โดยเขาเห็นว่าโครงสร้างของภาษาเป็นแบบภาษากลุ่มสลาฟที่รับเอาคำศัพท์และระบบการผันคำของภาษาฮีบรูแบบเดียวกับการเกิดภาษาผสมอื่นๆ
  • Ghilad Zuckesmann เห็นว่าภาษาฮีบรูในอิสราเอลเป็นภาษาที่แยกต่างหากจากภาษาฮีบรูอื่นๆ เนื่องจากการเรียงประโยคแบบยุโรปและมีลักษณะผสมระหว่างแบบของภาษาฮีบรูและแบบของภาษาในยุโรป

[แก้] การปรากฏร่วมกับภาษาอราเมอิก

ภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือเช่นเดียวกับภาษาคานาอันไนต์ ชื่อของภาษานี้อาจมาจากคำว่า Aram Naharayin ในเมโสโปเตเมียตอนบนหรือ Aram ซึ่งเป็นชื่อโบราณของซีเรีย สำเนียงที่หลากหลายของภาษาอราเมอิก พัฒนาร่วมมากับภาษาฮีบรูในประวัติศาสตร์

[แก้] ภาษาอราเมอิกในฐานะภาษากลางของตะวันออกกลาง

ภาษาของพระเยซูและจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่เป็นสำเนียงของภาษาอราเมอิก จักรวรรดิเปอร์เซียที่เข้ายึดครองบาบิโลเนียในเวลาต่อมาได้ให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางของจักรวรรดิ ประชากรชาวยิวที่ถูกบังคับให้อพยพมาอยู่ที่บาบิโลนและบริเวณใกล้เคียงของยูดาห์ ได้รับอนุญาตให้กลับสู่เยรูซาเลมและตั้งยูเดียในฐานะจังหวัดหนึ่งของเปอร์เซีย ทำให้ภาษาอราเมอิกเข้าไปมีบทบาทในยูเดียด้วย

อักษรอราเมอิกพัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ และในราว พ.ศ. 643 อักษรอราเมอิกพัฒนาไปเป็นอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยมที่พบในม้วนคัมภีร์แห่งทะเลสาบเดดซี

[แก้] ภาษาอราเมอิกเข้ามาแทนที่ภาษาฮีบรูในฐานะภาษาพูด

นักวิชาการรุ่นใหม่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 25 ให้ความเห็นว่าภาษาอราเมอิกกลายเป็นภาษาพูดในดินแดนอิสราเอลตั้งแต่ยุควาเลนนิสติกในช่วง พ.ศ. 143 ซึ่งเป็นช่วงที่เลิกใช้ภาษาฮีบรูเป็นภาษาพูด อย่างไรก็ตาม หลักฐานจากม้วนคัมภีร์แห่งทะเลสาบเดดซีแสดงให้เห็นว่าภาษาฮีบรูยังคงใช้เป็นภาษาพูดควบคู่กับภาษาอราเมอิกต่อไป จนถึงช่วงที่ใกล้จะสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันและกลายเป็นภาษาทางศาสนาในยุคจักรวรรดิไบแซนไทน์ เมื่อราว พ.ศ. 943 ภาษาที่มีบทบาทในอิสราเอลในยุคดังกล่าวมีสามภาษาคือภาษาฮีบรูในฐานะภาษาแม่ ภาษาอราเมอิกในฐานะภาษากลาง และภาษากรีกในการติดต่อกับภาคตะวันออกของจักรวรรดิโรมัน

[แก้] ภาษาอราเมอิกสำเนียงของชาวยิว

การใช้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางทำให้สำเนียงที่ใช้พูดในบริเวณต่างๆมีความแตกต่างกัน มีสำเนียงอราเมอิกเก่าตะวันตกรวมทั้งสำเนียงอราเมอิกเก่ายูเดียในช่วงจักรวรรดิโรมันด้วย โยเซฟัส ฟลาโส ได้เขียนหนังสือสงครามยิวด้วยภาษาอราเมอิกเก่ายูเดีย ซึ่งต่อมาได้แปลเป็นภาษากรีกเพื่อเผยแพร่ในจักรวรรดิโรมัน แต่ภาษาอราเมอิกที่โยเซฟัสใช้ไม่ได้เหลือรอด ในการสร้างเยรูซาเลมและวิหารครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 613 ชาวยิวเริ่มแพร่กระจายจากเยรูซาเลมไปยังประเทศอื่นโดยเฉพาะหลังสงครามบาร์โกคบาเมื่อ พ.ศ. 678 เมื่อโรมันเปลี่ยนเยรูซาเลมให้เป็นเมืองของลัทธิเพเกินชื่อ แอเลีย กาปิโตลินา

หลังสงคราม ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวปาเลสไตน์ได้ก่อตัวขึ้นกลายเป็นสำเนียงหลักของภาษาอราเมอิกกลางสาขาตะวันตก เยรูซาเลมทัลมุดใช้ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวปาเลสไตน์นี้เช่นเดียวกับมิดรัช รับบา และน่าจะมีอิทธิพลต่อการออกเสียงของภาษาฮีบรูติเบอเรียน

บาบิโลเนียทัลมุดใช้ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวบาบิโลเนียซึ่งเป็นสำเนียงของภาษาอราเมอิกกลางสาขาตะวันออก ภาษานี้ยังคงเป็นภาษาพูดของชาวยิวในเมโสโปเตเมียและภาษาลิซานา เดนี ในเคอร์ดิสถานมีภาษาอราเมอิกที่เป็นลูกหลานของภาษาเหล่านี้ยังคงใช้พูดโดยชาวยิวจำนวนน้อย ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวเหล่านี้ไม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮีบรู

[แก้] ภาษาอื่นที่ปรากฏร่วมกับภาษาฮีบรู

นอกจากภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวแล้ว ยังมีภาษาอื่นๆที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮีบรู เช่น ภาษายิดดิช ภาษาลาดิโน ภาษาการาไบต์ และภาษาอาหรับของชาวยิว ภาษาเหล่านี้ไม่มีภาษาใดที่พัฒนามาจากภาษาฮีบรูโดยตรง แต่มีคำยืมจากภาษาฮีบรูจำนวนมาก

[แก้] สัทวิทยา

ภาษาฮีบรูมีการเน้นหนัก 2 แบบ คือเน้นหนักที่พยางค์ท้ายและพยางค์ก่อนสุดท้าย โดยแบบแรกพบมากกว่า และพยางค์สุดท้ายมักเป็นสระเสียงยาว แต่เนื่องจากภาษาฮีบรูในอิสราเอลไม่มีความแตกต่างระหว่างความสั้นยาวของเสียงสระ กฎนี้จึงไม่ปรากฏในภาษาพูด โดยมากความยาวของเสียงสระจะต่างระหว่างกริยาและคำนาม ซึ่งมีอิทธิพลมาจากการเน้นเสียง เช่น ókhel (อาหาร) กับ okhél (การกิน) ต่างกันที่ความยาวของเสียงสระซึ่งจะเขียนเหมือนกันถ้าไม่แสดงรูปสระ

[แก้] สระ

คำภาษาฮีบรูที่หมายถึงสระคือ thu’ot เครื่องหมายสำหรับแสดงเสียงสระเรียก นิกคุด ภาษาฮีบรูในอิสราเอลมีหน่วยเสียงสระ 6 เสียง คือ

  • เสียง /อา/ ใช้เครื่องหมายฆาเมส (ָ) และพาทัฆ (ַ)
  • เสียง /เอ/ ใช้เครื่องหมายเซโกล (ֶ) และ เซเร (ֵ)
  • เสียง /อี/ ใช้เครื่องหมายฆีเรก (ִ)
  • เสียง/โอ/ ใช้เครื่องหมายโฆเลม (ֹ)
  • เสียง/อู/ ใช้เครื่องหมายซูรุก (וּ) และขิบบุซ (ֻ)
  • เสียง/เอา/ ใช้เครื่องหมายชีวา นา (ְ)

ผู้พูดภาษาฮีบรูแบบอิสราเอลส่วนใหญ่รวมเสียงเอาเข้ากับเสียงเอ ทำให้มีเสียงสระเพียง 5 เสียง ในภาษาฮีบรูในไบเบิล สระแต่ละตัวมีสามรูปคือคือ สั้น ยาว และถูกรบกวน (คาตัฟ) แต่ไม่มีการแบ่งแยกเช่นนี้ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ยกเว้น เซเร มักออกเสียงเป็น /ไอ/ ในภาษาฮีบรูอาซเกนาซี

ภาษาฮีบรูมีการใช้สระพิเศษเรียกว่า ชีวา ขึ้นกับองค์ประกอบในคำ โดยจะออกเสียงได้สามแบบ เรียกว่าแบบพัก (นัข) แบบเคลื่อนไหว (นาห์) และแบบเลื่อนลอย (เมราเฮฟ) เครื่องหมายชีวาแบบพักไม่ออกเสียง แบบเคลื่อนไหวออกเสียงเป็น /เอ/ ในภาษาฮีบรูแบบอิสราเอล ส่วนแบบเลื่อนลอยจะออกเสียงเหมือนแบบพักหรือแบบเคลื่อนไหวก็ได้

คำที่มีอักษรตัวเดียวหรืออนุภาคมักจะเชื่อมกับคำที่ตามมา เช่นคำนำหน้านามชี้เฉพาะ ha บุพบท be (ใน) mi (มาจาก) le (ที่) คำสันธาน she (ซึ่ง) ke (คล้าย) ve (และ) เสียงสระที่เกาะอยู่กับตัวอักษรขึ้นกับจุดเริ่มต้นของคำต่อไป กฎของการใช้คำบุพบทค่อนข้างซับซ้อน และขึ้นกับความเป็นทางการของการพูด ส่วนใหญ่มักตามด้วยเชวาแบบเคลื่อนไหว และออกเสียงเป็น be me le ในการพูดที่เป็นทางการ ถ้าบุพบทมาก่อนคำที่เริ่มต้นด้วยเชวาแบบเคลื่อนไหว บุพบทจะมีเสียง /อี/ เช่น be-kfar (ในหมู่บ้าน) เป็น bi-kfar ถ้า l หรือ b ตามด้วย ha เสียงสระเปลี่ยนเป็น /อา/ เช่น be-ha-matus เป็น ba-matos (ในดาวเคราะห์) แต่จะไม่เปลี่ยนเสียงกับตัว m เช่น me-ha-matus

[แก้] ไวยากรณ์

ไวยากรณ์ของภาษาฮีบรูมีระบบการใช้คำบุพบทมากกว่าการใช้การก แต่การผันคำก็มีบทบาทในการสร้างคำกริยาและคำนาม ตัวอย่าง เช่น คำนามมีโครงสร้างผูกประโยคเรียกว่า สมิคุต เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์แบบเป็นของซึ่งเป็นภาคกลับของการกแสดงความเป็นเจ้าของในภาษาที่มีการผันคำส่วนใหญ่ คำสมิคุตมักแสดงด้วยขีดคั่น ในการพูดแบบสมัยใหม่การใช้โครงสร้างผูกประโยคมักใช้ปนไปกับการใช้บุพบท shel (ของ)

[แก้] ระบบการเขียน

ภาษาฮีบรูปัจจุบันเขียนด้วยอักษรฮีบรูจากขวาไปซ้าย อักษรปัจจุบันมีรูปร่างเป็นแบบเหลี่ยม ที่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิก อักษรอีกแบบหนึ่งที่มักใช้ในเอกสารลายมือเขียนมีรูปร่างค่อนข้างกลม และเป็นเส้นโค้งกว่า

[แก้] นิกคุต

ภาษาฮีบรูไบเบิลยุคแรกมีแต่พยัญชนะและช่องว่าง ระบบการแสดงเสียงสระที่เรียกนิคุต (มาจากรากศัพท์ที่หมายถึงจุด) เริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์ไบเบิล และหนังสือทางศาสนาต่างๆ รวมทั้งในบทกวี หนังสือสำหรับเด็ก และหนังสือสำหรับผู้เริ่มเรียนภาษาฮีบรู หนังสือภาษาฮีบรูสมัยใหม่มีเพียงพยัญชนะ ช่องว่าง และเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ มีการใช้นิกคุตเมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันความกำกวมของความหมายและในการถอดเสียงชื่อที่มาจากภาษาอื่น

[แก้] พยัญชนะ

หน่วยเสียงทั้งหมดในภาษาฮีบรูแทนด้วยอักษรเดี่ยว แม้ว่าอักษรเดี่ยวบางตัวเช่น เบต แทนได้สองเสียงคือ /b/ และ /v/ แต่ในการเขียนแบบเต็มจะแยกเสียงทั้งสองอกจากกันโดยเติมจุดเมื่อออกเสียง b อักษรบางตัวมีรูปท้ายคำซึ่งใช้เฉพาะเมื่ออยู่ท้ายคำเท่านั้น

[แก้] แม่แบบการอ่าน

อักษรเฮย วาฟ และยอดใช้แสดงทั้งเสียงพยัญชนะ /h/, /v/, และ /j/ ตามลำดับ หรือใช้แทนเสียงสระ ซึ่งเมื่อใช้แทนเสียงสระจะเรียกแม่แบบการอ่าน อักษรเฮยเมื่ออยู่ท้ายคำมักแสดงเสียง/อา/เมื่อเป็นเพศหญิงหรือเสียง /อี/ เมื่อเป็นเพศชาย บางครั้งแสดงเสียง/โอ/ เช่น שְלֹמֺה (shlomo โซโลมอน) วาฟ ใช้แสดงเสียง/โอ/หรือ/อู/ และยอดอาจใช้แทนเสียง /อี/ หรือ/เอ/ บางครั้งใช้ยอดสองครั้งเพื่อแสดงเสียง/เอย/ ในภาษาฮีบรูอิสราเอลสมัยใหม่ ใช้อะเลฟแทนเสียง/อา/ในชื่อที่มาจากภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาอาหรับ

ภาษาอื่น