วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คู่มือในการเขียน
นโยบาย
นโยบาย
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
คู่มือพื้นฐาน
หลักการตั้งชื่อบทความ
เขียนให้ดียิ่งขึ้น
เขียนไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์
เขียนให้เป็นกลาง
วิธีใช้
การแก้ไขหน้า
การจัดหน้าโดยใช้แม่แบบช่วย
การอัปโหลดภาพ
การใส่ภาพ
การสร้างตาราง
การจัดหมวดหมู่
การสร้างหน้าเปลี่ยนทาง
การใส่ลิงก์
การลิงก์มาที่วิกิพีเดีย
การแทรกสูตรคณิตศาสตร์
อธิบาย
การแก้ไขเล็กน้อย
คำอธิบายอย่างย่อ
การทับศัพท์
คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย
อ่าน/เขียน คำทับศัพท์
ชื่อทะเล
ชื่อประเทศ-เมืองหลวง
ชื่อธาตุ
ถอดเสียงอังกฤษเป็นไทย
ถอดอักษรไทยเป็นโรมัน
อ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มา
ศัพท์บัญญัติ
สีที่ใช้ในเว็บ
แม่แบบ
แม่แบบ
โครง
แม่แบบแสดงข้อความ
แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
วิธีการสร้างแม่แบบ
บทความเฉพาะทาง
บทความฝรั่งเศส
บทความพฤกษา
บทความการ์ตูนญี่ปุ่น
บทความการทหาร
บทความเพลง

คำทับศัพท์ จุดประสงค์ของหน้านี้เพื่อเป็นที่รวบรวมคำทับศัพท์ที่มีใช้ในวิกิพีเดีย เพื่อให้การเขียนมีรูปลักษณะเหมือนกัน และเพื่อลดปัญหาในการค้นหาเนื่องจากการสะกดคำของคำทับศัพท์ต่างๆ โดยจะรวบรวมการสะกดแบบอื่นๆที่เป็นไปได้ ในกรณีที่ผู้ค้นหาสะกดคำแตกต่างจากแบบที่ตกลงใช้ในบทความ ตัวค้นหาจะสามารถค้นพบคำนั้นจากรายการคำสะกดแบบอื่นๆในหน้านี้

การเขียนคำทับศัพท์ทุกครั้งควรจะตรวจสอบจากรายการในหน้านี้ และถ้าหากยังไม่มีการระบุไว้ กรุณาบันทึกรูปแบบการสะกดไว้ในรายการคำทับศัพท์ หรือยกคำขึ้นเพื่อขอความคิดเห็นจากสมาชิกท่านอื่นในรายการคำศัพท์ที่กำลังพิจารณา ดูเพิ่มเติมที่การเขียนคำทับศัพท์

รูปแบบการเพิ่มคำทับศัพท์ให้พิจารณา:

=== คำทับศัพท์ ===
คำอธิบาย/ความคิดเห็น -- ~~~~ 

;เสนอคำที่เป็นไปได้
# 
# 
# 

เนื้อหา

[แก้] รายชื่อคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย

คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย ได้แบ่งตามตัวอักษร ซึ่งหากพบคำทับศัพท์ใดที่ไม่เห็นด้วย หรือต้องการให้พิจารณาใหม่ สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มคำศัพท์ดังกล่าวไปในรายการคำศัพท์ที่กำลังพิจารณาด้านล่าง

คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย: A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

[แก้] ประมวลสรุปปัญหาการทับศัพท์ที่พบในปัจจุบัน

ปัจจุบันได้มีการทับศัพท์ในหลากหลายรูปแบบ แม้ว่าเดิมนั้นวิกิพีเดียไทยได้อ้างอิงการทับศัพท์ตามราชบัณฑิตยสถาน แต่บางคำศัพท์ที่บัญญัตินั้นไม่มีการใช้งาน หลักการขัดกัน หรือเกิดกรณีต่างๆที่ทำให้ไม่สามารถตกลงเรื่องการทับศัพท์ได้ ซึ่งมีประเด็นหลักๆดังนี้ ที่ทำให้การทับศัพท์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน และยากลำบาก:

  • คำทับศัพท์ที่มีใช้แพร่หลายในรูปแบบเดียวกัน - อาจอยู่ในข้อยกเว้น เช่นโปรแกรม หรือจะยกเครื่องใหม่
  • คำทับศัพท์ที่มีใช้แพร่หลายในหลายรูปแบบ - ทำอย่างไรให้ใช้รูปแบบเดียวกัน คำนิยมสุดอาจไม่ "เหมาะสม/ดี" ที่สุด เช่นปัจจุบันวิกิพีเดียใช้ อัปเดต (กูเกิล: 890) แต่ส่วนใหญ่ใช้ อัพเดท (กูเกิล: 549,000)
  • คำทับศัพท์ชื่อเฉพาะ - เช่นไมโครซอฟท์
  • ความสอดคล้องในรูปแบบการทับศัพท์ - ทำอย่างไรให้ลดข้อยกเว้นมากที่สุด เพื่อผู้เขียนสับสนน้อยลงเช่น แอล เอล เอ็ก เอกซ์ ...
  • สำเนียงทับศัพท์ - จะอ้างอิงสำเนียงไหนเช่นอังกฤษอเมริกัน อังกฤษบริเตน หรือจะแล้วแต่แหล่งที่มาของคำนั้นๆ
  • การทับศัพท์แบบถ่ายเสียง - ทำอย่างไรให้ใกล้การออกเสียงมากขึ้น แต่ยังเขียนง่าย อ่านง่าย
  • การทับศัพท์ตรงตามหลักการราชบัณฑิตยสถาน - อาจผันเปลี่ยนไปเพื่อรับข้ออื่นๆมาพิจารณา

อย่าแปลกใจหากเงื่อนไขด้านบนนั้นอาจ ขัดกันเอง ซึ่งนี่คือสาเหตุที่ทำให้การทับศัพท์นั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด

[แก้] ความคิดเห็น

ผมว่างั้นทำไมเราไม่เอาหลักของราชบัณฑิตมาประยุกต์ เพราะของราชบัณฑิตก็ทำได้ดีมากระดับหนึ่ง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง(ในอดีต) แม้ว่าปัจจุบันจะไม่ีมีการประชาสัมพันธ์เท่าไร หรือไม่มีการใช้กันตามหน่วยงานราชการก็ตาม แต่ก็รูปแบบนี้ถือว่าดีครับ ถ้าเราเอาหลักมาแล้วมาประยุกต์ เพิ่มเติมตามปัญหาด้านบนนี้น่าจะดีนะครับ --Manop | พูดคุย - Wikipe-tan tab.png 20:30, 21 มกราคม 2007 (UTC)
ผมว่าการทับศัพท์นั้น เอาแบบราชบัณฑิตเป็นตัวตั้ง ทำให้ทำงานง่ายขึ้น จะว่าไปแล้ว วางหลักไม่ยากเท่าไหร่ แต่ปัญหาการยอมรับ ตรงนั้นสำคัญกว่า อย่าง ป หรือ พ อันนี้ จะใช้ตัวไหน ก็ตกลงลำบาก แต่ผมดูแนวโน้มแล้ว ความนิยมจะออกไปใกล้สำเนียงอเมริกันมากขึ้น

การใช้อักษรตัวใดตัวหนึ่งเป็นตัวสะกด ตัวใดเป็นพยัญชนะต้น ทำให้ทับศัพท์ได้ง่าย แต่บางทีอาจจะขัดความรู้สึก คนก็ไม่ยอมใช้กัน ในวิกิ ก็เหมือนสถานที่สาธารณะ ถ้าคนไม่นิยม หรือไม่ยอมรับ ก็มีปัญหาต่อไป อย่างไรก็ตาม ถ้าวางหลักเกณฑ์ให้ละเอียด และพิจารณาแต่ละส่วนกันจริงๆ คงจะเหลือส่วนที่มีปัญหา หรือไม่ลงตัว น้อยลง --ธวัชชัย 02:03, 22 มกราคม 2007 (UTC)

ตอนนี้ราชบัณฑิตฯ กำลังพิจารณาหลักใหม่ เค้าว่าเท่าที่ดูก็โอเชนะ มีเหตุผลมากขึ้นดังที่แกอธิบายไว้หน้าแรก และยึดตามเสียงอ่านสากลเป็นหลัก ส่วนเรื่องที่อาจไม่ถูกใจคนนั้น เพราะคนนึงจะเอาอย่างนี้ แต่อีกคนไม่เอาด้วย แกก็อุตส่าห์เขียนไว้ในคำนำเหมือนกันนะ
——Porrr.gif ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก มีนาคมมาส เอกูนวีสติมสุรทิน, ๐๒:๒๑ นาฬิกา (GMT+7)

[แก้] รายการคำศัพท์ที่กำลังพิจารณา

ทุกคนยินดีที่จะแสดงความคิดเห็นเพื่อให้การใช้คำทับศัพท์เป็นรูปแบบเดียวกัน และเพิ่มคำศัพท์ที่ต้องการให้พิจารณาได้ด้านล่างนี้ ซึ่งจะได้รับการพิจารณาอย่างน้อย 2 อาทิตย์หลังจากความคิดเห็นล่าสุด ขณะนี้วันที่ 30 พฤษภาคม 2010, 12:53 (UTC)

[แก้] cup

คำนี้ใช้ คัพ หรือ คัป ครับ เห็นนิยมใช้ คัพ กัน แต่ตามหลักราชบัณฑิตฯกำหนดใช้ ป.ปลา --Manop | พูดคุย - Wikipe-tan tab.png 03:32, 12 มกราคม 2007 (UTC)

ความคิดเห็น เสนอแนะ

เกือบทั้งร้อยใช้ คัพ แทน cup ส่วน คัป หรือ คับ จะพบได้มากในภาษาแชตซึ่งใช้แทนคำว่า ครับ เพราะฉะนั้นหากใช้ คัป ก็จะดูเหมือนว่าบทความในวิกิมีความน่าเชื่อถือน้อยลง? --อ็อกตร้า บอนด์ 06:32, 14 มกราคม 2007 (UTC)

ความน่าเชื่อถือ อาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความนิยมนะคับ อย่างเห็นได้ว่าถ้าทุกคนใช้ "คับ" กันหมด เราควรจะใช้ "สวัสดีคับ" ตามเขาหรือเปล่าคับเนี่ย --Manop | พูดคุย - Wikipe-tan tab.png 00:15, 17 มกราคม 2007 (UTC)
คุณอ็อกตรา บอนด์ หมายถึงว่าถ้าใช้คำว่า "คัป" มันจะไปคล้ายภาษาแชทหรือเปล่าครับ? kinkku ananas (talk) 07:30, 17 มกราคม 2007 (UTC)
ถูกต้อง ผมต้องการสื่อเช่นนั้น--อ็อกตร้า บอนด์ 07:37, 17 มกราคม 2007 (UTC)


[แก้] Cartography

วิชาที่ว่าด้วยการวาดแผนที่ (ไม่มีศัพท์บัญญัติ)--อ็อกตร้า บอนด์ 03:40, 12 มกราคม 2007 (UTC)

มีคำไทยอะไรที่แปลว่าแผนที่บ้างไหม? เผื่ออาจจะสร้างขึ้นมาเอง--อ็อกตร้า บอนด์ 04:03, 17 มกราคม 2007 (UTC) ความคิดเห็น เสนอแนะ

คำว่า cartography มีอยู่นะครับ cartography [N]  ; การทำแผนที่ อ้างอิงจาก Lexitron Dictionary ครับ แต่ถ้าจะใช้เป็นคำว่า วิชา ผมเสนอให้เติมคำว่า study ต่อท้ายครับ cartography study น่าจะใช้ได้นะครับ--Cl84 17:03, 8 มีนาคม 2007 (UTC)

ก็ในวิกิอังกฤษเขามีบทความชื่อนี้ไงผมก็เลยไม่รู้จะตั้งชื่อไทยว่าไร en:Cartography --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 14:59, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

มันมีศัพท์ตัวหนึ่งใช้Prefixเหมือนกัน Cartomancy ศาสตร์การดูดวงโดยใช่ไพ่ ซึ่งผมอ่านมันว่า คาร์โตแมนซี่ย์ ในกรณี จะทับศัพท์ไปเลยก็ได้ คาร์โตกราฟฟี่ แต่ดูแหม่งแหม่ง --ThoraninC 07:16, 14 เมษายน 2553 (ICT)

[แก้] ligature

คำนี้มีเฉพาะของพวกฝรั่ง คือหมายความว่าเป็นอักษรหลายตัวที่เขียนรวมกันเป็นตัวเดียว en:Typographical ligature จะใช้คำว่าอักษรควบก็ไม่ได้ เพราะไปซ้ำกับของไทย จะใช้อะไรดี--อ็อกตร้า บอนด์ 02:05, 23 มกราคม 2007 (UTC)

ความคิดเห็น เสนอแนะ
อักษรรวม, อักษรเชื่อม, อักษรผสม, อักษรผสาน, อักษรสนธิ, ลิกาเชอร์, ลิแกเชอร์, ลิกาเจอร์, ลิแกเจอร์
  1. เลิกพิจารณา อักษรสนธิ เพราะอาจจะทำให้สับสนกับ คำสนธิ--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 06:24, 8 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
  2. ตอนนี้ใช้คำว่า อักษรรวม ไปก่อน--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 07:01, 14 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
น่าสนใจครับ แล้วก็ยังมี en:Combining_character อีกอะครับ อักษรรวมมันจะใกล้กับ combining char. หรือเป่ล่า เรื่องพวกนี้ผมเองไม่ทราบเหมือนกัน --Jutiphan | พูดคุย - 07:03, 14 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
combining character มันเป็นอักขระช่วงหนึ่งในยูนิโคด ผมจะแปลว่า อักขระเสริมอักษร ในทำนองเดียวกันกับ diacritics ที่บัญญัติว่า เครื่องหมายเสริมอักษร แต่ ligature เป็นการเขียนอักษรขนาดปกติให้รวมกัน ไม่ใช่มาเสริมกัน และไม่ได้ใช้เฉพาะในคอม--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 11:10, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
เข้าใจแล้วครับ ผมเองเจอ combining char ตอนอ่านเกี่ยวกับภาษาไทย เห็นอาจแปลเป็นอักษรรวมได้เลยดึงขึ้นมาพูด --Jutiphan | พูดคุย - 13:06, 15 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

[แก้] Mesotherapy

อ่านบทความคร่าวๆ ที่ Mesotherapy ผมขอเสนอสามแบบ --อ็อกตร้า บอนด์ 16:39, 19 มกราคม 2007 (UTC)

ความคิดเห็น:

  1. เมโซเทราพี
  2. เมโซเทอราพี
  3. มัชฌิมบำบัด
ความคิดเห็น เสนอแนะ

ลอง search ดูไม่ค่อยพบอะไรเท่าไร ท่าทางเป็นคำคิดขึ้นมาใหม่จริงๆครับ อาจจะทับศัพท์ไปก่อนก็ได้ครับ ผมเองหาไม่เจอที่ฟังเสียงเลยไม่แน่ใจว่าควรเป็นแบบไหนครับ --Jutiphan | พูดคุย - 17:51, 21 มกราคม 2007 (UTC)

ถ้า meso-/μεσο- เป็นพรีฟิกจากภาษากรีก ควรอ่านเมโส (อ้างอิงจาก เมโสโปเตเมีย) เป็นภาษากรีก แปลว่า กลาง ระหว่างกลาง เช่น เมโสโซอิก เป็นต้น (ล) --ผู้ใช้:ธัญกิจ (ซะเมิญอาโปดาจอะปาทูบิก อิซเซ่คาไอวอซเซอร์ ) 09:10, 24 มีนาคม 2007 (UTC)

พรีฟิกซ์ไม่ได้อ่านเหมือนกันทุกคำนะ --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 15:49, 23 มีนาคม 2007 (UTC)

[แก้] Babel

ชื่อหอคอยในคัมภีร์คริสต์ + ชื่อภาพยนตร์ ครับ ไม่รู้ว่าจะทับศัพท์ตามสำเนียงไหนดี สำเนียงอเมริกันเป็น แบเบิล (a จาก อา เป็น แอ) ตอนนี้ที่ใช้อยู่คือ บาเบล ในหน้า วิกิพีเดีย:บาเบล --Manop | พูดคุย - Wikipe-tan tab.png 18:58, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ไม่ว่าจะปางไหนผมก็เคยได้ยินแต่บาเบลมาตลอดนะ--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 19:02, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ท่าจะไม่ได้ดูออสการ์ (2007) เมื่อคืน :) เข้าชิงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมครับแต่พลาด --Manop | พูดคุย - Wikipe-tan tab.png 19:10, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
หลังจากเปิด Encarta Dictionary ได้เรียนรู้ว่า มีสองคำคือ babel และ Babel (ชื่อเฉพาะ) โดยชื่อเฉพาะออกเสียงไม่เหมือนกับ babel โดย babel จะออกเสียงประมาณ บาเบิล ในขณะนี้ Babel จะออกเสียงประมาณ เบเบิล --Jutiphan | พูดคุย - 20:13, 26 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
แล้วคัมภีร์คริสต์ฉบับภาษาไทยใช้ยังไงครับ (เสิร์ชเจอข่าวนี้ น่าสนใจดีครับ [1]) kinkkuananas 07:45, 27 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)


[แก้] Rogers

Rogers ชื่อคนครับ ว่าจะทับศัพท์แบบไหน เผื่อจะเพิ่มเติมในหน้า ตัวอย่างรายการคำทับศัพท์ชื่อบุคคล

  1. โรเจอร์
  2. โรเจอส์
  3. โรเจอร์ส์
  4. โรเจอรส์
  5. โรเจิรส์
  6. โรเจอร์ส
  7. โรเจอรส์

--Manop | พูดคุย - Wikipe-tan tab.png 21:06, 14 เมษายน 2007 (UTC)

กระผมว่าควรใช้แบบนี้ "โรเจอร์ส" ใส่ทัณฑฆาตแค่ตัวแรก และคงรูปสระเออเพราะไม่มีตัวสะกด --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 03:02, 4 พฤษภาคม 2007 (UTC)

[แก้] principal

/ˈprɪnsəpəl/

principal ครับ ใช้ว่าอะไรดีครับ -- Dr.Garden

  1. ปริ้นซิปัล
  2. พรินซิปัล
  3. ปริ้นซิป้อล

ฯลฯ

ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะเป็น
  1. พรินซิพอล
  2. พรินซิเพิล

ตามสำเนียงอเมริกันนะครับ แต่ไม่แน่ใจว่าคำนี้สะกดแบบไหนดีสุด --Manop | พูดคุย 14:13, 27 มิถุนายน 2551 (ICT)

ตามแบบไทยแท้ก็ ปรินซิปาล เห็นจะได้ครับ ส่วนตัวเองไม่สนับสนุนการใช้ เพิล ... ผมชอบอังกฤษบริเตนมากกว่า --Piazzadiscussioni 17:10, 19 กรกฎาคม 2551 (ICT)

พรินซิพัล แต่ถ้าใกล้เคียงก็เอา พรินซิเพิล ได้ --octahedron80 21:19, 31 ธันวาคม 2552 (ICT)

ผมอยากทราบว่าคำนี้เอาไปทำอะไรเหรอครับจะได้พิจรณาได้ถูก--ThoraninC 07:12, 14 เมษายน 2553 (ICT)

[แก้] count, counter

  1. เคาต์
  2. เคานต์
  3. +ไม้โท
  1. เคาเตอร์
  2. เคานเตอร์
  3. เคาเทอร์
  4. เคานเทอร์
  5. +ไม้โท

--ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 02:36, 11 กรกฎาคม 2551 (ICT)

[แก้] Lewisham

/ˈluəʃəm/

  1. ลุยสชัม
  2. หลุยสชัม
  3. เลวิชแฮม

แจงว่าเค้าอ่าน Loui s sham กันจริง ๆ เวลาอ่านเร็ว ๆ --Piazzadiscussioni 17:26, 19 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ลุยเชิม ตามสัทอักษร --octahedron80 21:21, 31 ธันวาคม 2552 (ICT)

[แก้] command

  1. คอมแมนด์
  2. คอมมานด์

เท่าที่ทราบคือคำนี้สามารถอ่านได้สองแบบ ควรที่จะเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง --Octra Dagostino 07:11, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)

แล้วใช้คำไทยว่า คำสั่ง ไม่ได้หรือครับ ? --ตะโร่งโต้ง 16:34, 13 มีนาคม 2552 (ICT)

กรณีที่ต้องใช้คำทับศัพท์ในชื่อเฉพาะจะแปลว่าคำสั่งได้ไงละครับ เช่นชื่อหนัง ชื่อเกม --octahedron80 21:17, 31 ธันวาคม 2552 (ICT)

EA GAMES ประเทศไทย ได้ให้คำนี้ว่า คอมมานด์ ใน ซีรี่ส์เกมส์ คอมมานด์ แอนด์ คอนเคอร์ และเกมส์อื่นก็ได้ให้คำว่าคอมมานด์เช่นกัน --ThoraninC 07:01, 14 เมษายน 2553 (ICT)

[แก้] prompt

  1. พรอมปต์
  2. พรอมป์
  3. พรอมต์
  4. +ไม้ไต่คู้

จะได้ใช้ควบคู่กันเป็น command prompt --Octra Dagostino 07:11, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)

[แก้] Frankfurt

ผมมีข้อสงสัยว่า หลักในการทับศัพท์ชื่อเมือง และชื่อบุคคล ที่เป็นภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ควรจะยึดการออกเสียงของภาษาใดเป็นหลักดี จึงได้ยกกรณีของ Frankfurt เป็นกรณีศึกษาครับ สำหรับเมือง Frankfurt ในประเทศเยอรมนี นั้น ถูกออกเสียงในภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมันแตกต่างกัน และในเยอรมนีเอง ต่างแคว้นกัน ก็ออกเสียงแตกต่างกัน ดังจะพบว่า ในบทความหน้า แฟรงก์เฟิร์ต ได้ใช้คำที่แตกต่างกัน 3 คำดังนี้

  • แฟรงก์เฟิร์ต สำหรับเมืองที่ตั้งอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
  • ฟรังค์ฟูร์ท สำหรับเมือง Frankfurt ในเยอรมนี ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน ซึ่งในภาษาอังกฤษ ก็ยังคงเรียกชื่อเมืองนี้ว่า แฟรงก์เฟิร์ต
  • ฟรังค์ฟวร์ท สำหรับเมืองเล็ก ๆ ชายแดนตะวันออกของเยอรมนี ที่ใช้ชื่อเดียวกันนี้

ที่สงสัยมาก ก็เนื่องจากการเขียนบทความที่เกี่ยวกับเยอรมนี โดยส่วนใหญ่พบว่าได้แปลมาจากบทความภาษาอังกฤษ ซึ่งจะมีศัพท์หลายคำที่ได้แปลงรูปไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีศัพท์หลายคำ ก็ได้พยายามที่จะคงเสียงแบบเยอรมัน ซึ่งสำเนียงที่ใช้ เท่าที่ผมลองสะกดดู ก็มีความแตกต่างกันบ้างตามสำเนียงของแต่ละแคว้น นอกจากนี้ ยังมีชื่อบุคคล ก็เข้าข่ายในลักษณะเดียวกันเช่นกัน ไม่ทราบว่ามีข้อแนะนำอย่างไรดีครับ ณ ปัจจุบันนี้ ผมก็ใช้วิธีว่า ถ้ามีคนเขียนไว้ก่อนหน้า (ถ้าหาเจอ) ก็จะพยายามใช้ตามของเขาไป แต่หากมีแนวคิดหลาย ๆ แนวช่วยกัน น่าจดีครับ --Zince 22:43, 24 มิถุนายน 2552 (ICT)

[แก้] รายการคำศัพท์ที่พิจารณาไปแล้ว

[แก้] ดูเพิ่ม