ประเทศเยอรมนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี)
Bundesrepublik Deutschland
บุนเดสเรพูบลิค ดอยท์ชลันด์
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ธงชาติเยอรมนี ตราแผ่นดินของเยอรมนี
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญEinigkeit und Recht und Freiheit
ความสามัคคี ความถูกต้อง และเสรีภาพ
เพลงชาติ"Das Lied der Deutschen" บทที่ 3
ที่ตั้งของเยอรมนี
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เบอร์ลิน

52°31′N 13°24′E

ภาษาทางการ ภาษาเยอรมัน
รัฐบาล สหพันธ์สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี ฮอร์สท เคอแลร์
 -  นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล
การสร้างชาติ
 -  จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พ.ศ. 1386 (สนธิสัญญาแวร์เดิง
 -  จักรวรรดิเยอรมัน 18 มกราคม พ.ศ. 2424 
 -  สหพันธ์สาธารณรัฐ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 
 -  รวมประเทศ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 
เข้าร่วม EU 25 มีนาคม พ.ศ. 2496 (เยอรมนีตะวันตก)
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 357,050 กม.² (ลำดับที่ 61)
 -  พื้นน้ำ (%) 2.416
ประชากร
 -  2550 ประมาณ 82,217,800 (อันดับที่ 14)
 -  2543 สำรวจ N/A 
 -  ความหนาแน่น 230/กม.² (อันดับที่ 36)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 2.52 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 5)
 -  ต่อประชากร 30,579 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 17)
HDI (2546) 0.930 (สูง) (อันดับที่ 20)
สกุลเงิน ยูโร (€) 2 (EUR)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  ฤดูร้อน (DST) CEST (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต .de
รหัสโทรศัพท์ +49
1ภาษาเดนมาร์ก ภาษาเยอรมันล่าง ภาษาซอร์เบีย ภาษาโรมานี และภาษาฟริเชีย ได้รับการยอมรับและคุ้มครองอย่างเป็นทางการในฐานะภาษาชนกลุ่มน้อย โดยกฎบัตรยุโรปว่าด้วยภาษาระดับภูมิภาคหรือภาษาชนกลุ่มน้อย (European Charter for Regional or Minority Languages: ECRML)
2ก่อนปี พ.ศ. 2542: ดอยท์เชอมาร์ค

ประเทศเยอรมนี หรือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นประเทศในทวีปยุโรป พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงคือเบอร์ลิน

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วน เป็นประเทศเยอรมนีตะวันตกและประเทศเยอรมนีตะวันออก ก่อนจะกลับมารวมประเทศกันอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของเยอรมนีเริ่มต้นตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน ซึ่งช่วงนั้นยังเป็นแคว้นหนึ่งของโรมัน ต่อมาได้แยกตัวเป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)เมื่อนโปเลียนโจมตีจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ล่มสลายกลายเป็นแคว้นเล็กๆมากมายต่อมาพระเจ้าฟรีดริชที่2ทรงรวมปรัสเซียเข้ากับแคว้นทางตอนเหนือและจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "เยอรมนี" โดยพระเจ้าไกเซอร์แห่งปรัสเซีย จึงใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน

[แก้] การเมืองการปกครอง

อาคารรัฐสภาของเยอรมนี

เยอรมนีปกครองในรูปแบบสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ระบบการปกครองของเยอรมนีมีพื้นฐานจากเอกสารรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2492 ซึ่งเรียกว่า Grundgesetz (กฎหมายหลัก) การเรียกกฎหมายนี้ว่า Grundgesetz แทนที่จะเป็น Verfassung (รัฐธรรมนูญ) เป็นความตั้งใจที่ว่าจะถูกแทนที่โดยรัฐธรรมนูญเมื่อเยอรมนีได้รวมเป็นรัฐเดียว การแก้ไขกฎหมายหลักจะต้องใช้เสียงมากกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งสองสภา มาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพื้นฐาน การแยกอำนาจ โครงสร้างสหพันธ์ และสิทธิในการต่อต้านความพยายามล้มล้างรัฐธรรมนูญนั้นคงอยู่ตลอดกาล ไม่สามารถแก้ไขได้ ชื่อ Grundgesetz ยังคงใช้หลังการรวมประเทศเยอรมนี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (เยอรมัน: Bundeskanzler; อังกฤษ: Chancellor) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร คนปัจจุบันคืออังเกลา แมร์เคิล อำนาจนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วย Bundestag ซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และ Bundesrat เป็นสภาตัวแทนรัฐสิบหกรัฐของสหพันธ์ ตำแหน่งประธานาธิบดี (Bundespräsident) เป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ได้รับเลือกจากที่ประชุมสหพันธ์ (Bundesversammlung) ซึ่งประกอบสมาชิกของ Bundestag และตัวแทนของแต่รัฐต่างๆ ในจำนวนเท่ากัน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสหพันธ์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือฮอร์สท เคอแลร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ระบบพรรคการเมืองของเยอรมนีมีเพียงสองพรรคการเมืองหลักคือสหภาพคริสเตียนเดโมแครต และพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี โดยจนถึงปัจจุบันนายกรัฐมนตรีมาจากเพียงสองพรรคนี้ อย่างไรก็ตาม ก็มีพรรคที่เล็กกว่าซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างพรรคประชาธิปไตยเสรีและกลุ่มพันธมิตร 90/กรีน ซึ่งมักเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลผสม

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เยอรมนีแบ่งการปกครองในระบบสหพันธรัฐ มีทั้งหมด 16 รัฐ โดยแต่ละรัฐ (หรือในภาษาท้องถิ่น Bundesland) จะมีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของตัวเองและจะมีกระทรวงการปกครองบริหารสูงสุดกระทรวงจะดูแลรัฐทุกรัฐของเยอรมนี

Karte Deutsche Bundesländer (nummeriert).svg
สภาพไร่นาของหมู่บ้านในเมืองเดรสเดน
รัฐ เมืองเอก พื้นที่ (ตร. กิโลเมตร) ประชากร
1. บาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก
Baden-Württemberg
สตุทท์การ์ท (Stuttgart) 35,752 10,717,000
2. บาเยิร์น (บาวาเรีย)
เยอรมัน :Bayern
อังกฤษ :Bavaria
มิวนิก
เยอรมัน :München
อังกฤษ :Munich
70,549 12,444,000
3. เบอร์ลิน (นครรัฐ)
Berlin
เบอร์ลิน 892 3,400,000
4. บรานเดนบวร์ก
Brandenburg
พอทสดัม (Potsdam) 29,477 2,568,000
5. เบรเมน (นครรัฐ)
Bremen
เบรเมน 404 663,000
6. ฮัมบูร์ก (นครรัฐ)
Hamburg
ฮัมบูร์ก 755 1,735,000
7. เฮสส์
เยอรมัน :Hessen; อังกฤษ :Hesse
วีส์บาเดน (Wiesbaden) 21,115 6,098,000
8. เมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น
เยอรมัน :Mecklenburg-Vorpommern
อังกฤษ :Mecklenburg-Western Pomerania
ชเวริน (Schwerin) 23,174 1,720,000
9. นีเดอร์ซัคเซ่น
เยอรมัน :Niedersachsen
อังกฤษ :Lower Saxony
ฮันโนเวอร์
เยอรมัน :Hannover
อังกฤษ :Hanover
47,618 8,001,000
10. นอร์ดไรน์-เวสต์ฟาเลน
เยอรมัน :Nordrhein-Westfalen
อังกฤษ :North Rhine-Westphalia
ดึสเซิลดอร์ฟ (Düsseldorf) 34,043 18,075,000
11. ไรน์ลันด์-พฟาลซ์
เยอรมัน :Rheinland-Pfalz
อังกฤษ :Rhineland-Palatinate
ไมนซ์ (Mainz) 19,847 4,061,000
12. ซาร์ลันด์
Saarland
ซาร์บรืกเคิน (Saarbrücken) 2,569 1,056,000
13. ซัคเซ่น (แซกโซนี)
เยอรมัน :Sachsen; อังกฤษ :Saxony
เดรสเดน (Dresden) 18,416 4,296,000
14. ซัคเซ่น-อันฮัลต์
เยอรมัน :Sachsen-Anhalt
อังกฤษ :Saxony-Anhalt
มักเดบวร์ก (Magdeburg) 20,445 2,494,000
15. ชเลสวิก-โฮลชไตน์
Schleswig-Holstein
คีล (Kiel) 15,763 2,829,000
16. ทูริงเง่น
เยอรมัน :Thüringen; อังกฤษ :Thuringia
แอร์ฟวร์ท (Erfurt) 16,172 2,355,000

[แก้] ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ประเทศเยอรมนีกับประเทศฝรั่งเศส มีบทบาทเป็นผู้นำของสหภาพยุโรป และกำลังมุ่งหน้าสู่การรวมการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศสมาชิก มาขึ้นกับสหภาพยุโรปมากขึ้น

หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีพยายามไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการทหารของประเทศอื่นมากนัก พฤติกรรมนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ. 2542 เมื่อเยอรมนีตัดสินใจส่งทหารเข้าร่วมสงครามโคโซโว เยอรมนีและฝรั่งเศสยังเป็นประเทศหลักที่คัดค้านการรุกรานประเทศอิรักของสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2546

ปัจจุบัน เยอรมนีกำลังพยายามเข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น อินเดีย และบราซิล

[แก้] เศรษฐกิจ

ประเทศเยอรมนีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นอันดับสามของโลกถัดจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เยอรมนียังเป็นประเทศที่มีการส่งออกเป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญคืออัตราการจ้างงาน

ประเทศเยอรมนีได้ก่อตั้งบริษัทชื่อดังหลายสาขา เช่น เมอร์เซเดส-เบนซ์ บีเอ็มดับเบิ้ลยู เอาดี้ มายบัค ซีเมนส์ เป็นต้น นอกจากนี้เยอรมนียังมีตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ตเป็นตลาดหลักทรัพย์ในแฟรงค์เฟิร์ตเป็นตลาดที่ใหญ่อันดับที่แปดของเยอรมนีและเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

คุณสามารถหาข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ ประเทศเยอรมนี ได้โดยค้นหาจากโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย:
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-Snorky.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย

ภาษาอื่น