วัฏจักรกรดซิตริก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพรวมของวัฏจักรกรดซิตริก

วัฏจักรกรดซิตริกหรือวัฏจักรเครบส์เป็นวัฏจักรกลางในการผลิต ATP รวมทั้ง NADH + H+ และ FADH2 ที่จะเข้าสู่ปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชั่นเพื่อสร้าง ATP ต่อไป การย่อยสลายสารอาหารใดๆให้สมบูรณ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำต้องเข้าวัฏจักรนี้เสมอ

[แก้] ขั้นตอนของวัฏจักรเครบส์

  • การผลิตอะเซติลโคเอ โดยเปลี่ยนไพรูเวตไปเป็นอะเซติลโคเอ ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมเลกุล
  • ปฏิกิริยาการออกซิเดชั่นของอะเซติลโคเอในวัฏจักรเครบส์ เกิดขึ้น 8 ขั้นตอนดังนี้
    • การสร้างซิเตรต (citrate) โดยการรวมตัวของอะเซติลโคเอ (คาร์บอน 2 ตัว) กับออกซาโลอะซีเตต (oxaloacetate) (คาร์บอน 4 ตัว)
    • การสร้าง ไอโซซิเตรต (isocitrate) โดยเปลี่ยนซิเตรตไปเป็นอะโคนิเตต (aconitate) จากนั้นจึงเปลี่ยนต่อไปเป็นไอโซซิเตรต
    • เปลี่ยนไอโซซิเตรตเป็นอัลฟา-คีโตกลูตาเรต (α-ketoglutarate) (คาร์บอน 5 ตัว) ได้ NADH + H+ 1 โมเลกุลและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัว
    • เปลี่ยนอัลฟา-คีโตกลูตาเรตเป็นซักซินิลโคเอ (succinyl –CoA) (คาร์บอน 4 ตัว) และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัว และ NADH + H+ 1 ตัว
    • เปลี่ยนซักซินิลโคเอไปเป็นซักซิเนต (succinate) ได้ GTP 1 โมเลกุล
    • เปลี่ยนซักซิเนตไปเป็นฟูมาเรต (fumarate) ได้ FADH2 1 โมเลกุล
    • เปลี่ยนฟูมาเรตเป็นมาเลต (malate)
    • เปลี่ยนมาเลตไปเป็นออกซาโลอะซีเตต ได้ NADH + H+ 1 โมเลกุล

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Blue morpho butterfly.jpg วัฏจักรกรดซิตริก เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีววิทยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ วัฏจักรกรดซิตริก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ