วิตามินซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Ascorbic acid structure.png
L-ascorbic-acid-3D-balls.png
วิตามินซี
ชื่อสารเคมีในระบบ IUPAC
2-oxo-L-threo-hexono-1,4- lactone-2,3-enediol
or
(R)-3,4-dihydroxy-5-((S)- 1,2-dihydroxyethyl)furan-2(5H)-one
การจัดระบบ/ฐานข้อมูล
เลขทะเบียน CAS 50-81-7
รหัส ATC A11G
PubChem 5785
ข้อมูลทางเคมี
สูตรเคมี C6H8O6 
น้ำหนักโมเลกุล 176.14 กรัมต่อโมล
ชื่อพ้อง L-ascorbate
ข้อมูลทางกายภาพ
จุดหลอมเหลว 190–192 °C สลายตัว'
ข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์
ชีวปริมาณออกฤทธิ์ รวเร็ว & สมบูรณ์
การจับกับโปรตีน น้อยมาก
เมแทบอลิซึม  ?
ครึ่งชีวิตของการกำจัด 30 นาที
การขับถ่าย ไต
ข้อคำนึงในการรักษา
ลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์

A

สถานะตามกฎหมาย

มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป

ช่องทางการรับยา ปาก
Pharmaklog.png สารานุกรมเภสัชกรรม

วิตามินซี (อังกฤษ: vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (อังกฤษ: L-ascorbic acid) หรือ แอล-แอสคอร์เบต (อังกฤษ: L-ascorbate) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้

เนื้อหา

[แก้] ประโยชน์

  • เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
  • ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
  • ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
  • ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation)
  • ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตายในกรณีเด็กอ่อน (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome)
  • ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  • ช่วยคลายเครียด
  • การฉีดด้วยวิตามินซีปริมาณสูง อาจช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็งได้ โดยวิตามินอาจเข้าทำปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ มะเร็ง ให้กลายเป็นกรดขึ้น ทำให้เนื้อร้ายชะงักและน้ำหนักลดไปได้ [1]

[แก้] แหล่งวิตามินซี

แหล่งวิตามินซีมีมากในผักตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก

ความร้อนทำลายวิตามินซีได้ง่ายจึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซีเพียงข้อเสียอ

บางข้อมูลแนะนำว่าขนาดที่เหมาะสมมากที่สุดต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ คือ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
อะเซโรลาเชอรี่ น้ำหนัก 100 กรัม 1600 มิลิกรัม
ฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 230 มิลลิกรัม
สับปะรด 1 ชิ้นใหญ่(โดยเฉลี่ย) 20-30 มิลลิกรัม
กะหล่ำดอก น้ำหนัก 100 กรัม 49 มิลลิกรัม
บรอกโคลี น้ำหนัก 100 กรัม 84 มิลลิกรัม
น้ำมะนาว 1 แก้ว(100 กรัม) 34 มิลลิกรัม
มันฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 21.3 มิลลิกรัม
กะหล่ำปลี น้ำหนัก 100 กรัม 49 มิลลิกรัม
กล้วยชนิดต่างๆ 1 ลูก(โดยเฉลี่ย) 8.5 มิลลิกรัม
พริกหวาน 1 เม็ด(โดยเฉลี่ย) 100-120 มิลลิกรัม
ผักโขม น้ำหนัก 100 กรัม 76.5 มิลลิกรัม
สตรอว์เบอร์รี่ น้ำหนัก 100 กรัม 77 มิลลิกรัม
มะเขือเทศ น้ำหนัก 100 กรัม 21.3 มิลลิกรัม
มะละกอ น้ำหนัก 100 กรัม 60 มิลลิกรัม

[แก้] อันตรายจากการขาดวิตามินซี

  • ผู้ที่ขาดวิตามินซีมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือดออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก
  • แผลหายช้า เนื่องจากวิตามินซีทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้ากว่าปกติ
  • เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย คุณสมบัติของวิตามินซี คือ เป็นตัวต่อต้านสารก่อมะเร็งและช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินซีจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลงและทำให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย
  • เป็นโรคลักปิดลักเปิด ในกรณีของเด็กหรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดได้ หากร่างกายขาดวิตามินซีมากเกินปกติอาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจางและมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้

[แก้] อันตรายจากการได้รับวิตามินซีมากเกินไป

  • เกาต์ เนื่องจากวิตามินซีมีหน้าที่ในการช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย การรับวิตามินซีในปริมาณมากจะทำให้เกิดปัญหาการสะสมธาตุเหล็กตามกระดูกข้อต่อต่างๆ มากขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ในที่สุด
  • นิ่วในไต การได้รับวิตามินซีมากเกินไปอาจไปรบกวนการดูดซึมของทองแดงและซีลีเนียม ซึ่งส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดนิวในไต หากได้รับวิตามินซีเกินวันละ 10,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้

[แก้] อ้างอิง

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2550
  1. ^ วิตามินซีบี้เซลล์มะเร็งได้ ทำให้เนื้อร้ายเหี่ยวหดลดตัวเล็กลง
Myoglobin.png วิตามินซี เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวเคมี อินทรีย์เคมี และชีวโมเลกุล ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ วิตามินซี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ