คอเลสเตอรอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก โคเลสเตอรอล)
คอเลสเตอรอล
Cholesterol.svg
Cholesterol-3d.png
ชื่อตาม IUPAC (3β)-​cholest-​5-​en-​3-​ol
ชื่ออื่น (10R,​13R)-​10,​13-​dimethyl-​17-​(6-​methylheptan-​2-​yl)-​2,​3,​4,​7,​8,​9,​11,​12,​14,​15,​16,​17-​dodecahydro-​1H-​cyclopenta​[a]phenanthren-​3-​ol
ตัวระบุ
เลขทะเบียน CAS [57-88-5][CAS]
PubChem 5997
SMILES
ChemSpider ID 5775
คุณสมบัติ
สูตรเคมี C27H46O
มวลต่อหนึ่งโมล 386.654[1]
ลักษณะทางกายภาพ white crystalline powder [2]
จุดหลอมเหลว

148–150 °C [2]

จุดเดือด

360 °C (decomposes)

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 0.095 mg/L (30 °C)
หากมิได้ระบุเป็นอย่างอื่น ข้อมูลที่ให้ไว้นี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
แหล่งอ้างอิงของกล่องข้อมูล

คอเลสเตอรอล (อังกฤษ: Cholesterol) เป็นทั้งสาร สเตอรอยด์(steroid) ลิพิด(lipid) และ แอลกอฮอล์ พบใน ผนังเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง (spinal cord) สมอง และ ผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย แตที่รู้จักกันดีคือ มันเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด (cardiovascular disease) และภาวะ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง

ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป้นเป็นวิตามิน D เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ

การรับประทานกรดไขมันที่จำเป็นโดยเฉพาะกรดไลโนเลอิกในปริมาณที่พอเพียงและเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง บวกกับการออกกำลังกาย จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดอุดตัน สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและอัมพาต

เนื้อหา

[แก้] ประวัติของชื่อ

คำว่า คอเลสเตอรอล มาจากคำในภาษากรีก chole-หมายถึง น้ำดี (bile) และ stereos หมายถึงของแข็ง (solid) เนื่องจากนักวิจัยตรวจพบ คอเลสเตอรอลในสภาพเป็นของแข็งที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี(gallstone)

[แก้] สรีรวิทยา

[แก้] การสังเคราะห์และการนำเข้าสู่ร่างกาย

กระบวนการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลใน HMG-CoA reductase pathway

คอเลสเตอรอลมีสารตั้งต้นการสังเคราะห์มาจากอะซิทิล โคเอ (acetyl CoA) โดยผ่าน เอชเอ็มจี-โคเอ รีดักเทส พาทเวย์ (HMG-CoA reductase pathway) การผลิตคอเลสเตอรอลทั้งหมดในร่างกายประมาณ 20-25 % (ซึ่งผลิตได้วันละ 1 กรัม ) เกิดขึ้นใน ตับ ส่วนอื่นของร่างกายที่ผลิตมากรองลงไปได้แก่

ในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 150 ปอนด์ (68 กก) จะมีคอเลสเตอรอลในร่างกายทั้งหมดประมาณ 35 กรัม เกิดจากร่างกายผลิตขึ้นประมาณ 1 กรัม ได้จากอาหารที่กินเข้าไปประมาณ 200-300 มก.

[แก้] คุณสมบัติ

คอเลสเตอรอลละลายในน้ำได้น้อยมากเพราะโมเลกุลของมันมีส่วนที่เป็นไขมันอยู่มาก ดังนั้นการเคลื่อนย้ายของมันในกระแสเลือดจึงต้องเกาะตัวไปกับ ไลโปโปรตีน (lipoprotein) ไลโปโปรตีนขนาดใหญ่ที่สุดที่ทำหน้าที่ขนคอเลสเตอรอลและไขมันอื่นๆเช่น ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) จากลำไส้เล็กไปยังตับชื่อ ไคโลไมครอน (chylomicron) ในตับอนุภาค ไคโลไมครอน จะจับตัวกับ ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล แล้วเปลี่ยนเป็นไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein-LDL) แล้วจะเคลื่อนย้ายไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย ส่วนไลโปโปรตีน-ความหนาแน่นสูง (High density lipoprotein-HDL) จะทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลจากเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายกลับมาที่ตับ เพื่อกำจัด

ตามลักษณะการขนส่งเช่นเดียวกันนี้ คอเลสเตอรอลก็ถูกแบ่งออก 2 ชนิดคือ

  • แอลดีแอล คอเลสเตอรอล (LDL cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลว
  • เอชดีแอล คอเลสเตอรอล (HDL cholesterol) เป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ แม่แบบ:PubChem
  2. ^ 2.0 2.1 Safety (MSDS) data for cholesterol. สืบค้นวันที่ 2007-10-20


เภสัชกรรมเภสัชวิทยาสแตติน (แก้)
ซิมวาสแตติน · เซอวิวาสแตติน · · ปราวาสแตติน · ฟลูวาสแตติน · · โรสุวาสแตติน · โลวาสแตติน · อะโทวาสแตติน