สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก IEEE)

สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers) หรือ IEEE (อ่านว่า "ไอ-ทริปเปิล-อี") เป็นสถาบันวิชาชีพ (professional organization) ระดับนานาชาติที่ไม่หวังผลกำไร ทำหน้าที่ดูแลเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดย IEEE เป็นสถาบันวิชาชีพที่มีสมาชิกมากที่สุดในโลก (มากกว่า 360,000 คนใน 175 ประเทศ)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติโดยย่อของ IEEE

สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (IEEE) หรือ The Institute of Electrical and Electronics Engineers ที่มีศูนย์อำนวยการใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาการใหม่ๆ ด้านอิเล็กทรอนิกส์ IEEE (The Institute of Electrical and Electronics Engineers) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1963 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการรวมตัวของ 2 สถาบัน คือ AIEE และ TRE ซึ่งดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาศาสตร์ด้านการโทรคมนาคม ระบบแสง ไฟฟ้ากำลัง และอื่นๆมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884 IEEE เป็นสถาบันที่กำกับดูแลมาตรฐานทางไฟฟ้า เป็นผู้นำในการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ ผลงานวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เน้นไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ระบบวัดคุม และอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเรื่อง Hi-Tech ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง IEEE มีสมาชิกเป็นวิศวกร นักวิจัย ที่มีความรู้ ความสามารถจากทั่วโลก โดยสมาชิกจะแบ่งกลุ่มศึกษาเรื่องตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของแต่ละบุคคล IEEE จึงมีกลุ่มศึกษาเรื่องเฉพาะด้าน หลายสิบกลุ่ม ทุกกลุ่มมีบทบาทในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ทั้งจัดประชุมวิชาการประจำปี จัดประชุมวิชาเฉพาะเรื่อง กำหนดมาตรฐานทางไฟฟ้า คิดค้นนวัตกรรมและเขียนรายการเผยแพร่ในรูปวารสารวิชาการ องค์ความรู้ทั้งหมดได้ถูกรวบรวมเพื่อจัดเก็บอย่างมีระบบ และสามารถค้นคืน เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว นับเป็นสถาบันชั้นแนวหน้าของโลกด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างแท้จริง


สถาบัน IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers,USA) ซึ่งเป็นสถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ ได้ประกาศให้ รศ. ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครเป็น IEEE Fellow ในสาขา Circuits and Systems and Engineering Education. ในฐานะผู้มีผลงานวิจัย และวิชาการดีเด่นระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากมายแก่วงการวิศวกรไฟฟ้าของโลก โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 นี้ ซึ่งนับแต่มีการมอบรางวัลนี้ " ท่านอธิการบดีเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียว " ที่ได้รางวัลดังกล่าว...

"Congratulations on being elected fellow of the IEEE 2006"





[แก้] ผลงานที่สำคัญ

  • IEEE 802 - LAN/MAN
    • IEEE 802.3 - Ethernet
    • IEEE 802.11 - WiFi
    • IEEE 802.16 - WiMax เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6-4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
    • IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น อุปกรณ์พีดีเอ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6-4.8 กิโลเมตร มีระบบช่วยที่ช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม
  • IEEE 1003 - POSIX
  • IEEE 1076 - VHDL
  • IEEE 1394 - FireWire

[แก้] อ้างอิง

  • KSC Newsletter ฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. 2007

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น