มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ตรามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.gif
“ ราชมงคลสร้างคนสู่งานเชี่ยวชาญเทคโนโลยี
ราชมงคลทั้งเก้าแห่ง ”

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Tawan-ok) เน้นการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านช่างอุตสาหกรรม การก่อสร้าง เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม การเกษตร การบริหารจัดการ และทักษะด้านธุรกิจ สามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ

เนื้อหา

[แก้] วิทยาเขต

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ประกอบด้วย 4 วิทยาเขต คือ

[แก้] รายนามอธิการบดี

[แก้] สถานที่ตั้ง วิทยาเขต


[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

  • ตราประจำมหาวิทยาลัย พระมหาพิชัยมงกุฎ ตราประจำมหาวิทยาลัยนั้นเป็นรูปดวงตราวงกลมภายในมีพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ล้อมรอบด้วยดอกบัว 8 กลีบ ซึ่งสื่อความหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จ มรรค 8 และความสดชื่น เบิกบานอันก่อให้เกิดปัญญา ด้านบนดวงตรานั้นมีพระมหาพิชัยมงกุฎที่มีตัวเลข ๙ ซึ่งหมายถึง รัชกาลที่ 9 ครอบอยู่ ด้านล่างดวงตรานั้นเขียนชื่อสถาบัน ทั้งนี้ตราของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ล้วนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง บรรดาคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่าราชมงคลทุกรุ่น ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
  • ดอกไม้ประจำสถาบัน คือ ดอกพะยอม เป็นดอกไม้ที่มีสีขาวนวลบ่งบอกถึงความสุภาพอ่อนโยน มีสัมมาคารวะ กลิ่นหอมไกลของดอกพะยอม สื่อถึงความรู้ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรมของบัณฑิตซึ่งเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ น้ำเงินเทอร์ควอยส์ สีน้ำเงินเป็นสีจำพระมหากษัติริย์



[แก้] พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ผู้บุกเบิกสถาบันฯ อย่างแท้จริง ได้กล่าวถึงการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสถาบันไว้ว่า

Cquote1.svg

ล้นเกล้าฯ พระปิยมหาราช ปลดปล่อยทาสให้เป็นไทยฉันใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงปลดปล่อยนักเรียนอาชีวศึกษาจากที่ถูกสังคมมองว่าเป็นเป็นนักเรียนชั้นสองให้เป็นไทฉันนั้น

Cquote2.svg
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาทแก่บัณฑิตในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

นับจากปีแรกที่ได้เริ่มสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2518 และได้ดำเนินการเรียนการสอนผ่านพ้นอุปสรรคปัญหามานานานับประการเรื่อยมา จนกระทั่งมาถึงวันแห่งความสำเร็จวันแห่งภาคภูมิใจที่รอคอยก็มาถึง อีกหกปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพระมหากรุณาธิการอย่างสูงสูด เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษารุ่นแรก

การที่บัณฑิตที่มาจากนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นสอง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุด มีโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตรกับพระหัตถ์พระองค์เอง ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร นำความปลื้มปิติยินดีมาสู่เหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา ผู้ปกครองบัณฑิต เป็นล้นพ้น และอีกสามครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531 เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสถาบันให้ใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นครั้งแรกด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ. 2533 รวมแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ด้วยพระองค์เองถึง 4 ครั้ง และตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ก็ได้ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแด่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ในวันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานพระราโชวาทแก่บัณฑิตความตอนหนึ่งว่า พระราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิต วันที่ 15 ธันวาคม 2552

Cquote1.svg

ขอให้ทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง ในอันที่จะใช้สื่อเทคโนโลยีให้เหมาะสม และให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์เป็นความเจริญแก่ตนเองและส่วนรวมพร้อมทุกส่วน

Cquote2.svg


[แก้] คณะทั้งหมดในมหาวิทยาลัย

[แก้] ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต

ศิษย์เก่าและบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสามารถประกอบอาชีพทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน โดยสามารถหางานทำได้มากที่สุดใน 9 ราชมงคลด้วยกันในปี พ.ศ. 2548[ต้องการอ้างอิง]

มีการสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตเมื่อปี 2548 โดยสำรวจหลังจากจบแล้วเป็นเวลา 6 เดือน ปรากฏว่า บัณฑิตที่มีงานทำแล้วเรียงจากมากไปน้อยคือ

  1. ราชมงคลกรุงเทพ (82.86%)
  2. ราชมงคลรัตนโกสินทร์ (82.83%)
  3. ราชมงคลพระนคร (81.07%)
  4. ราชมงคลสุวรรณภูมิ (79.13%)
  5. ราชมงคลอีสาน (77.76%)
  6. ราชมงคลตะวันออก (77.67%)*
  7. ราชมงคลธัญบุรี (77.44%)
  8. ราชมงคลล้านนา (77.10%)
  9. ราชมงคลศรีวิชัย (68.12%)


นับเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ (การสำรวจการมีงานทำในระยะเวลา6เดือนหลังจากจบ)

  1. ราชมงคลกรุงเทพ 89.12 %
  2. ราชมงคลตะวันออก 87.16% *
  3. ราชมงคลรัตนโกสินทร์ 86.36%
  4. ราชมงคลอีสาน 80.51%
  5. ราชมงคลธัญบุรี 78%
  6. ราชมงคลศรีวิชัย 77.42%
  7. ราชมงคลล้านนา 71.87%
  8. ราชมงคลพระนคร 66.67%

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
คณะ

เกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สัตวแพทยศาสตร์บริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศศิลปศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยีสังคมวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีการบิน

ตรามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.gif
วิทยาเขต

บางพระ (สำนักอธิการบดี)จักรพงษภูวนารถจันทบุรีอุเทนถวาย


School.svg มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็นบทความเกี่ยวกับ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ