เทศบาลตำบลปรุใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทศบาลตำบลปรุใหญ่
Cquote1.png ยิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมเต็มใจให้บริการ ประสานให้เกิดสุข ช่วยขจัดทุกข์แก่ประชาชน Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย ตำบลปรุใหญ่
ชื่อภาษาอังกฤษ Township of Pru Yai
นายกเทศมนตรี ร้อยตำรวจเอกคมกริช อินทรักษา
ข้อมูลสถิติ
รหัสทางภูมิศาสตร์ 3099
ประชากร 10,000 คน (พ.ศ. 2551)
พื้นที่ 16.63 ตร.กม.
ความหนาแน่น 740 คน/ตร.กม.
สำนักงาน
ที่ตั้ง เทศบาลตำบลปรุใหญ่ เลขที่ 237 หมู่ที่ 1 ตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ (+66) 0 4421 3262, 0 4435 2286
โทรสาร (+66) 0 4435 2287
เว็บไซต์ http://www.pruyai.com

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ตำบลปรุใหญ่เป็นตำบลหนึ่งในตำบลของอำเภอเมืองนครราชสีมาซึ่งแต่เดิมนั้นมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ในเวลาต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2526 เทศบาลเมืองนครราชสีมา (ในสมัยนั้น) ได้ขยายเขตเทศบาลเข้ามาในพื้นที่ตำบลหนองจะบกและตำบลปรุใหญ่ทำให้จำนวนหมู่บ้านลดลงจาก 17 หมู่บ้านเหลือเพียง 7 หมู่บ้านและยังแบ่งพื้นที่ตำบลปรุใหญ่ออกจากกันเป็น 2 ส่วน คือพื้นที่ส่วนทิศเหนือประกอบด้วยหมู่ 1, 2, 3 และ 6 และพื้นที่ส่วนทิศใต้ มี 3 หมู่บ้านคือ หมู่ 4, 5 และ 7

กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะสภาตำบลปรุใหญ่ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปรุใหญ่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2539 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง และกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2539 และประชุมคณะกรรมการเมื่อ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2539

ปัจจุบันได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลปรุใหญ่เป็นเทศบาลตำบลปรุใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 [1]

[แก้] ข้อมูลพื้นฐาน

[แก้] ที่ตั้ง อาณาเขต ประชากร

เทศบาลตำบลปรุใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 237 หมู่ 1 ตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา ประมาณ 12 กิโลเมตร มีพื้นที่ 16.63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 10,393.75 ไร่ ประกอบไปด้วยหมู่บ้านจำนวน 7 หมู่บ้าน และมีประชากรทั้งสิ้น 10,000 คน โดยแบ่งพื้นที่ เป็น 2 ส่วนดังนี้

[แก้] ส่วนที่ 1

ประกอบด้วยหมู่ 1, 2, 3 และ 6 สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติไหลผ่านคือ ลำปรุ ลำบริบูรณ์ ลำตะกุด และคลองตาเมืองซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นไหลผ่าน และเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญต่อการดำรงชีพของราษฎร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

    • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสีมุม ตำบลพลกรัง และตำบลพุดซา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองจะบก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เลียบคลองชลประทานฝั่งเหนือ โรงเรียนสุรนารีวิทยา 2
    • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบ้านใหม่ และ ตำบลสีมุม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

[แก้] ส่วนที่ 2

ประกอบด้วยหมู่ 4 5 และ 7 ลักษณะเป็นพื้นที่ราบเรียบมีสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ และมีป่าไม้คือสวนรุกขชาติปรุใหญ่ อยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้

    • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสุรนารี และ เทศบาลนครนครราชสีมา
    • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองจะบก และ เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองจะบก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสุรนารี และตำบลหนองจะบก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

[แก้] การคมนาคม

มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2(ถนนมิตรภาพสายเลี่ยงเมือง) เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมระหว่างตำบลกับภายนอก และมีถนนเชื่อมหมู่บ้าน ในการคมนาคมขนส่งภายในตำบล

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นเทศบาลตำบลปรุใหญ่

[แก้] ข้อมูลเพิ่มเติม