จังหวัดพังงา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายอื่นของ พังงา ดูที่ พังงา (แก้ความกำกวม)
จังหวัดพังงา
ตราประจำจังหวัดพังงา ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดพังงา
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ
ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้
จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย พังงา
ชื่ออักษรโรมัน Phang-nga
ผู้ว่าราชการ นายเยี่ยมสุริยา พาลุสุข
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2551)
ISO 3166-2 TH-82
ต้นไม้ประจำจังหวัด เทพทาโร
ดอกไม้ประจำจังหวัด จำปูน
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 4,170.895 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 53)
ประชากร 251,657 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 71)
ความหนาแน่น 60.34 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 68)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดพังงา ถนนเพชรเกษม ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา 82000
โทรศัพท์ (+66) 0 7641 2134
โทรสาร (+66) 0 7641 2140
เว็บไซต์ จังหวัดพังงา
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดพังงา

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย

เนื้อหา

[แก้] สภาพทางภูมิศาสตร์

จังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนและป่าดงดิบคิดเป็นร้อยละ 57 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยทางด้านทิศเหนือมีพื้นที่ติดกับจังหวัดระนอง ทางด้านทิศใต้มีพื้นที่ติดกับจังหวัดภูเก็ตและทะเลอันดามัน ทางด้านทิศตะวันออกมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่ ส่วนทางด้านทิศตะวันตกจะมีพื้นที่ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 314 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองพังงา
  2. อำเภอเกาะยาว
  3. อำเภอกะปง
  4. อำเภอตะกั่วทุ่ง
  5. อำเภอตะกั่วป่า
  6. อำเภอคุระบุรี
  7. อำเภอทับปุด
  8. อำเภอท้ายเหมือง

 Amphoe Phang Nga.png

[แก้] สถานศึกษา

อุดมศึกษา
การศึกษาพิเศษ
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพังงา
โรงเรียน

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้] อุทยานแห่งชาติศรีพังงา

อุทยานแห่งชาติศรีพังงา อยู่ในเขตอำเภอคุระบุรีและอำเภอตะกั่วป่า ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขานมสาว เนื้อที่ 153,800 ไร่ เป็นประเภทป่าดิบชื้น พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ไม้ยาง ตะเคียนทอง ปาล์ม กระพ้อหนู ยังสามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา เก้ง นกเงือก ประกาศเป็นอุทยานเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2531 ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ

น้ำตกตำหนัง เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผา สูง 63 เมตร มีน้ำตลอดทั้งปี ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระยะทาง 2 กิโลเมตร น้ำตกโตนต้นเตย เป็นน้ำตกที่ตกจากหน้าผา สูง 45 เมตร ตามทางเดินจะผ่านจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองเห็นป่าเขาที่สมบูรณ์ของอุทยาน

[แก้] อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี (ที่ทำการอุทยานตั้งอยู่ที่ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า สิมิลัน เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า "เก้า" หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือมาใต้ คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลันได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา และปลาไหลมอเรย์ (moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ

[แก้] อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาเมืองภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน อยู่ติดกับชายแดนไทย–พม่า มีพื้นที่ประมาณ 84,375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี (เกาะสต๊อก) และ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือกองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย

หมู่เกาะสุรินทร์เป็นหมู่เกาะที่วางตัวอยู่ในกลุ่มอ่าวขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นที่บังคลื่นลมได้ดีทั้งสองฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน จึงเป็นแหล่งกำเนิดแนวปะการังน้ำตื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านของชาวเลเลกลุ่มสุดท้ายที่ยังดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมมากที่สุด คือ มอแกน หรือ “ยิบซีแห่งท้องทะเล” ประมาณ 200 คน ปัจจุบันได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่เกาะสุรินทร์ใต้ ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว และบางส่วนทำงานเป็นลูกจ้างของอุทยานฯ

[แก้] อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมอยู่มาก เป็นป่าชายเลนกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีเนื้อที่ป่าโดยรวมทั้งจังหวัด 190,265 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18.17 ของเนื้อที่ป่าชายเลนทั้งประเทศ (พ.ศ. 2539) เขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงานับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่งจนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และบริเวณพื้นน้ำในทะเลอันดามัน ซึ่งมีพื้นที่ร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 42 เกาะ เช่น เกาะเขาเต่า เกาะพระอาตเฒ่า เกาะโบยน้อย เกาะโบยใหญ่ เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เกาะปันหยี เขาพิงกัน เป็นต้น

[แก้] อุทยานอื่น ๆ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 8°27′N 98°32′E / 8.45°N 98.53°E / 8.45; 98.53


BlankMap Thailand icon.png จังหวัดพังงา เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ จังหวัดพังงา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย