กรุงรัตนโกสินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก รัตนโกสินทร์)
ThaiHistory Placide CarteDuRoyaumeDeSiam.png
ThaiHistory SiamPlacide.jpg
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียง ประมาณ 2500 ก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ประมาณ 2000 ก่อน พ.ศ.
ยุคอาณาจักร
สุวรรณภูมิ
ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3-5
สุวรรณโคมคำ
พศว. 4-5
ทวารวดี-นครชัยศรี
ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 5-15
โยนกนาคพันธุ์
638-1088
คันธุลี
994-1202
  เวียงปรึกษา
1090-1181
ศรีวิชัย
1202-1758
  ละโว้
1191 -1470
หิรัญเงินยางฯ
1181 - 1805
  หริภุญชัย
1206-1835
 
สงครามสามนคร พ.ศ. 1467-1470
  สุพรรณภูมิ
ละโว้
ตามพรลิงค์
 
พริบพรี
นครศรีธรรมราช
  สุโขทัย
1792-1981
พะเยา
1190-2011
เชียงราย
1805-1835
ล้านนา
1835-2101
อยุธยา (1)
พ.ศ. 1893-2112  
  สค.ตะเบ็งชเวตี้  
  สค.ช้างเผือก
  เสียกรุงครั้งที่ 1
   พ.ศ. 2112
พิษณุโลก
2106-2112
ล้านนาของพม่า
2101-2317
กรุงศรีอยุธยา (2)
พ.ศ. 2112-2310
เสียกรุงครั้งที่ 2
สภาพจลาจล
กรุงธนบุรี
พ.ศ. 2310-2325
ล้านนาของสยาม
พ.ศ. 2317-2442
  นครเชียงใหม่
  เมืองแพร่
  แคว้นน่าน
กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน
  สงครามเก้าทัพ
  อานามสยามยุทธ
  การเสียดินแดน
  มณฑลเทศาภิบาล
  สงครามโลก: ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 2
 
ยุครัฐประชาชาติ
ประเทศไทย
  ปฏิวัติ พ.ศ. 2475
  เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ
สหรัฐไทยเดิม
พ.ศ. 2485-2489
 
จัดการ: แม่แบบ  พูดคุย  แก้ไข

กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ "กรุงเทพมหานคร" เป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับที่ตั้งของกรุงธนบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครขึ้น โดยทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325

ทั้งนี้ ได้พระราชทานนามของพระนครว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์"แปลว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตย์ของพระแก้วมรกต เป็นพระมหานครที่ไม่มีใครรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ไปด้วยแก้วเปราะน่ารื่นรมย์ยิ่ง พระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานของเทพผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษนุกรรมลงมาเนรมิตไว้ เรียกสั้นๆ ว่า "กรุงเทพฯ" "กรุงเทพมหานคร" หรือ "กรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งคำว่ากรุงเทพในตอนต้นชื่อนั้น สันนิษฐานว่ามากจากชื่อหน้าของ อยุธยา ว่า กรุงเทพ ทราราวดีศรีอยุธยา (ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยพระนามพระนครจาก "บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์")

สภาพภูมิประเทศของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น กรุงตั้งอยู่บริเวณแหลมยื่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านลงมาจากทางเหนือ ผ่านทางตะวันตกและใต้ก่อนที่จะมุ่งลงใต้สู่อ่าวไทย ทำให้กรุงดูคล้ายกับกรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้ขุดคูพระนครตั้งแต่บางลำภูไปถึงวัดเลียบ ทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีสภาพเป็นเกาะสองชั้น คือส่วนที่เป็นพระบรมมหาราชวังกับส่วนระหว่างคูเมืองธนบุรี(คลองคูเมืองเดิม)กับคูพระนครใหม่ ในขณะเดียวกันได้มีการสร้างพระบรมมหาราชวังแบบง่ายๆเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พอประกอบพิธีแล้วจึงรื้อของเก่าออกและก่ออิฐถือปูน ส่วนกำแพงพระนครนั้น นำอิฐจากกรุงศรีอยุธยามาใช้สร้าง

กรุงรัตนโกสินทร์ถือว่ามีชัยภูมิชั้นเยี่ยมในการป้องกันศึกในสมัยนั้น คือพม่า ด้วยเนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาขวางทางตะวันตก นอกจากนี้กรุงธนบุรีเดิมก็สามารถดัดแปลงเป็นค่ายรับศึกได้ แต่เหตุการณ์ที่พม่าเข้าเหยียบชานพระนครก็ไม่เคยเกิดขึ้นสักครั้ง เป็นที่สังเกตว่า การสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นั้นเป็นการลงหลักปักฐานของคนไทยอย่างเป็นทางการหลังกรุงแตก เพราะมีการสร้างปราสาทราชมณเฑียรอย่างงดงามต่างจากสมัยธนบุรี ทั้งๆที่ขณะนั้นเกิดสงครามกับพม่าครั้งใหญ่

กรุงรัตนโกสินทร์แล้วเสร็จจริงๆในปี พ.ศ. 2327 มีการสมโภชพระนครครั้งใหญ่ มีการลอกองค์ประกอบของกรุงศรีอยุธยามามากมาย เช่นวัดสุทัศน์แทนวัดพนัญเชิญ มีพระบรมมหาราชวังอยู่ริมน้ำ เป็นต้น แต่กรุงรัตนโกสินทร์ถูกสร้างต่อมาจนสมบูรณ์หมดจริงๆ ในช่วงรัชกาลที่ 3 และรัชกาลต่อมาจึงขยายพระนคร

การขยายพระนครนั้นเริ่มในสมัยรัชกาลที่4 เมื่อมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้น พร้อมสร้างป้อมแต่ไม่มีกำแพง นอกจากนี้ยังมีการตัดถนนเจริญกรุงและพระรามสี่หรือสมัยนั้นเรียกถนนตรง ทำให้ความเจริญออกไปพร้อมกับถนน สรุปได้ว่าในรัชกาลที่ 4 เมืองได้ขยายออกไปทางตะวันออก ในรัชกาลที่ 5 ความเจริญได้ตามถนนราชดำเนินไปทางเหนือพร้อมกับการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้น กำแพงเมืองต่างๆเริ่มถูกรื้อเนื่องจากความเจริญและศึกต่างๆเริ่มไม่มีแล้ว

หลังจาก ร.ศ.112 ที่ฝรั่งเศสยกเรือรบมาถึงบางรัก ก็เป็นแค่ไม่กี่ครั้งที่ข้าศึกต่างชาติเข้าถึงชานพระนครได้ ความเจริญได้ตามไปพร้อมกับวังเจ้านายต่างๆนอกพระนคร ทุ่งต่างๆกลายเป็นเมือง และในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เกิดสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก เป็นสะพานข้ามทางรถไฟชื่อสะพานพระรามหก จนถึงรัชกาลที่ 7 ฝั่งกรุงธนบุรีกับพระนครได้ถูกเชื่อมโดยสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ)ทำให้ประชาชนเกิดความสะดวกขึ้นมามาก หลังจากนั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในรัชกาลที่ 8 พระนครถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตรบ่อยครั้ง แต่พระบรมมหาราชวังปลอดภัยเนื่องจากทางเสรีไทยได้ระบุพิกัดพระบรมมหาราชวังมิให้มีการยิงระเบิด เมื่อสิ้นสงครามแล้วพระนครเริ่มพัฒนาแบบไม่หยุด เกิดการรวมจังหวัดต่างๆเข้าเป็นกรุงเทพมหานคร และได้เป็นเขตปกครองพิเศษหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

  • www.bangkokmuseum.org
ประวัติศาสตร์ กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ กรุงรัตนโกสินทร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์
ภาษาอื่น