อำเภอพนัสนิคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอพนัสนิคม
แผนที่จังหวัดชลบุรี เน้นอำเภอพนัสนิคม
Cquote1.png พระพนัสบดีคู่บ้าน จักสานคู่เมือง ลือเลื่องบุญกลางบ้าน ตำนานพระรถ-เมรี ศักดิ์ศรีเมืองสะอาด เก่งกาจการทายโจ๊ก Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอพนัสนิคม
อักษรโรมัน Amphoe Phanat Nikhom
จังหวัด ชลบุรี
รหัสทางภูมิศาสตร์ 2006
รหัสไปรษณีย์ 20140, 20240
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 448.259 ตร.กม.
ประชากร 118,936 คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น 265.32 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอพนัสนิคม ถนนเมืองเก่า ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 20140
พิกัด 13°27′6″N, 101°10′36″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 3846 1122, 0 3847 3789
หมายเลขโทรสาร 0 3846 1122, 0 3847 3789

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอพนัสนิคม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดชลบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอพนัสนิคมตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตรตามเส้นทางถนนสุขประยูร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

[แก้] ประวัติศาสตร์

พนัสนิคมเป็นเมืองโบราณซึ่งเคยรุ่งเรืองเมื่อสมัยประมาณ 1,000 ปีมาแล้ว หรือสมัยที่ขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรสุวรรณภูมิ จากหลักฐานต่าง ๆ น่าเชื่อถือว่าเมืองที่รุ่งเรืองดังกล่าวชื่อ "เมืองพระรถ"

พนัสนิคมตั้งขึ้นเป็นเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2440 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคและจัดระเบียบการปกครองใหม่เป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จึงโปรดเกล้าฯให้เมืองพนัสนิคม เมืองบางละมุง และเมืองบางปลาสร้อยรวมกัน และเมืองพนัสนิคมจึงเป็นอำเภอของชลบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2447 ตั้งแต่นั้นมา

โดยอาณาเขตอำเภอพนัสนิคมเดิมนั้นต่อมาได้แยกออกไปเป็นอำเภอใหม่ในจังหวัดชลบุรี ดังนี้

  • ตำบลคลองพลู เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม ก่อนที่จะโอนมาขึ้นกับอำเภอบ้านบึงเมื่อ พ.ศ. 2418 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอหนองใหญ่ในเวลาต่อมา
  • ตำบลบ่อทอง เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอบ่อทอง เมื่อ พ.ศ. 2528
  • ตำบลเกาะจันทร์ และตำบลท่าบุญมี เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเกาะจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2550

กล่าวคืออำเภอพนัสนิคมแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองพนัสนิคม จนถึง พ.ศ. 2447 ได้รวมเมืองพนัสนิคม เมืองบางละมุง และเมืองปลาสร้อย เป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เหล่าท้าวพญาและเหล่าครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งภูมิลำเนาขึ้นเรียกว่าหมู่บ้านแดนป่าพระรศ ต่อมาได้ยกฐานะกลายเป็นเมืองพนัสนิคมในเวลาต่อมา

"พนัสนิคม" ซึ่งเป็นชื่อของอำเภอที่เรียกใช้ในทางราชการทุกวันนี้ ชาวบ้านมักเรียกไปอีกอย่างหนึ่งว่า "เมืองเก่า" การที่เรียกเช่นนี้ เพราะว่าที่ตั้งอำเภอพนัสนิคมนี้เคยเป็นเมืองมาแต่ก่อนในอดีต ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากเรื่อยมาซึ่งจะนำประวัติศาสตร์การตั้งเมืองพนัสนิคมดังต่อไปนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2367 ได้ทรงจัดการปกครองบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2368 จึงได้โปรดยกตำบล บ้าน ขึ้นเป็นเมือง รวม 27 เมือง ในจำนวนนี้ ได้ยกหมู่บ้านแดนป่าพระรศขึ้นเป็นเมืองเรียกว่าเมืองพนัสนิคม เมืองเหล่านี้โดยจัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ ขณะนั้นเจ้าอนุสุริยวงษ์หรือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5 หรือเรียกสั้นๆว่าเจ้าอนุวงศ์ เจ้าประเทศราชครองกรุงเวียงจันทน์ ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ซึ่งเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม มาแต่ครั้งสมัยกรุงธนบุรี โดยใน พ.ศ. 2321ได้มีพระราชสาส์นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานครอบครัวชาวเวียงจันทน์ซึ่งสยามได้กวาดต้อนเป็นเชลยมาแต่ครั้งเมื่อตีกรุงเวียงจันทน์ได้ในครั้งแรกและได้ตั้งครัวเรือนทำมาหากินอยู่ที่เมืองสระบุรีอย่างหนึ่ง กับขอละครผู้หญิงของสยามในราชสำนักสยามอย่างหนึ่ง แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดประทานให้ จึงเป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์ทรงโกรธ

โดยพอดี เฮนรี เบอร์นี ราชทูตอังกฤษได้เข้ามาติดต่อกับราชสำนักสยาม ในกรณีขอให้สยามช่วยรบพม่าเพราะขณะนั้นอังกฤษกับพม่ากำลังมีเรื่องกัน แต่สยามยังมิได้ตัดสินใจแต่อย่างใดเรื่องการบ้านการเมืองระหว่างสยามกับอังกฤษในตอนนี้ คงจะเป็นเรื่องที่ยุ่งแก่ราชอาณาจักรสยาม เจ้าอนุวงศ์ทรงเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น ก็ทรงเข้าใจว่าอังกฤษจะยกทัพมาตีกรุงเทพฯ ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงได้คิดตั้งแข็งเมืองทันที เมื่อได้ตั้งแข็งเมืองแล้วยังทรงไม่เป็นที่พอพระทัย เจ้าอนุวงศ์ทรงได้แต่งให้เจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ยกทัพมาตามแควป่าสักจนถึงเมืองสระบุรี เพื่อกวาดต้อนชาวเวียงจันทน์เดิมที่สระบุรีกลับไป ส่วนเจ้าอนุวงศ์ทรงยกมาอีกทัพหนึ่งทางนครราชสีมา ในการยกทัพลงมานี้เจ้าอนุวงศ์ทรงใช้คำลวงเมืองต่างๆที่ผ่านมาว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงรับสั่งให้ยกทัพมาเพื่อช่วยป้องกันราชอาณาจักรสยามเพราะรบกับอังกฤษ การติดต่อระหว่างหัวเมืองต่างๆกับกรุงเทพฯในขณะนั้นติดต่อกันได้ยาก บรรดาเจ้าเมืองต่างๆจึงพากันหลงเชื่อถ้อยคำไม่มีผู้ใดขัดขวาง การเดินทัพของเจ้าอนุวงศ์จึงมาได้โดยง่าย เจ้าอนุวงศ์ได้ยกทัพมาตั้งอยู่ในนครราชสีมา กรมการเมืองก็จัดการรับรอง

พฤติการณ์ที่เจ้าอนุวงศ์ทรงคิดกบฎแข็งเมืองต่อราชอาณาจักรสยามครั้งนี้ ได้เป็นที่ไม่พอใจของท้าวพญาและชาวเวียงจันทน์ด้วยกันเอง ได้แก่พระอินทอาษาหรือท้าวทุม ชาวเวียงจันทน์ ไม่เข้าด้วยกับพวกเจ้าอนุวงศ์จึงได้รวบรวมท้าวพญาและเหล่าครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ พากันเดินทางจากกรุงเวียงจันทน์เข้ามาสู่ราชอาณาจักรสยามจนถึงกรุงเทพฯ เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดรับไว้และจัดให้ออกไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่ชายเมืองระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทราต่อกัน

พระอินทอาษากับเหล่าท้าวพญาและครอบครัวชาวลาวกรุงเวียงจันทน์ เมื่อได้รับพระราชทานที่ทางทำมาหากินเช่นนั้น ก็พากันขมักเขม้นสร้างที่ดินซึ่งขณะนั้นเป็นป่าอยู่ทั่วๆไป ได้ประกอบการทำมาหากินโดยซื่อสัตย์สุจริต จนตั้งหลักฐานเป็นหมู่บ้านใหญ่มีผู้คนอยู่กันเป็นปึกแผ่นแน่นหนาและเรียกชื่อในขณะนั้นว่าบ้านแดนป่าพระรศตามนิยายเก่าเรื่องพระรถ-เมรี

เมื่อมีผู้คนพลเมืองมากขึ้นเพื่อสะดวกแก่การปกครอง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ยกหมู่บ้านแดนป่าพระรศ ขึ้นเป็นเมืองเรียกว่า "เมืองพนัสนิคม" เป็นชื่อฟังเพราะเหมาะสม และมีความหมาย ที่ได้ความอยู่ในตัว คือ "พนัส" แปลว่าป่า นิคมแปลว่าหมู่บ้านใหญ่หรือตำบล เมื่อรวมความตามศัพท์ พนัสนิคม ก็แปลได้ใจความว่า หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่มีภูมิประเทศเป็นป่า ในเรื่องการปกครองเมื่อได้ยกแดนป่าพระรศซึ่งพระอินทอาษาได้พาพรรคพวกมาตั้งภูมิลำเนาแล้ว โปรดเกล้าให้ตั้งพระอินทอาษาเป็นผู้ปกครองเมือง เรียกกันในสมัยนั้นว่าผู้สำเร็จราชการเมืองพนัสนิคม และให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองโดยการสืบสายสกุล เมืองพนัสนิคมได้มีผู้สำเร็จราชการสืบสายสกุลกันมาได้ 4 ชั่วอายุ คือ

  • 1) พระอินทอาษา หรือท้าวทุม ผู้สำเร็จราชการเมืองพนัสนิคมคนแรก และต้นตระกูลทุมมานนท์ ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว นามสกุลพระราชทานที่ ๑๔๐๕ "ทุมมานนท์" {Dummananda เขียนแบบโรมัน)
  • 2) ท้าวทุมมานนท์ ได้รับพระราชทานพระบรรดาศักดิ์เป็นพระอินทราษา
  • 3) หลวงภักดีสงคราม (ผิว ทุมมานนท์)
  • 4) ท้าวบุญจันทร์ ทุมมานนท์

พนัสนิคมได้ตั้งเป็นเมืองตลอดมาจนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2447 ได้ทรงปรับปรุงการปกครองประเทศใหม่ ทรงโปรดให้เมืองพนัสนิคมเป็นอำเภอพนัสนิคมขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดชลบุรี โดยรวมระยะเวลาที่พนัสนิคมได้ตั้งเป็นเมืองมีเจ้าเมืองประมาณ 80 ปี

ตำแหน่งนายอำเภอพนัสนิคมคนแรกคือ หลวงสัจจพันธ์คีรี ศรีรัตนไพรวัน เจฏิยาสัน คามวาสี นพ-คูหาพนมโขลน นามเดิมว่า บัว ไม่ทราบนามสกุล ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ร.ศ.123 (ตรงกับ พ.ศ. 2447) และได้มีการย้ายสับเปลี่ยนจนถึงปัจจุบันนี้

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอพนัสนิคมแบ่งออกเป็น 20 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งย่อยออกเป็นหมู่บ้านรวม 185 หมู่บ้าน

1. ตำบลพนัสนิคม (Phanat Nikhom) 11. ตำบลท่าข้าม (Tha Kham)
2. ตำบลหน้าพระธาตุ (Na Phra That) 12. ตำบลหนองปรือ (Nong Prue)
3. ตำบลวัดหลวง (Wat Luang) 13. ตำบลหนองขยาด (Nong Khayat)
4. ตำบลบ้านเซิด (Ban Soet) 14. ตำบลทุ่งขวาง (Thung Khwang)
5. ตำบลนาเริก (Na Roek) 15. ตำบลหนองเหียง (Nong Hiang)
6. ตำบลหมอนนาง (Mon Nang) 16. ตำบลนาวังหิน (Na Wang Hin)
7. ตำบลสระสี่เหลี่ยม (Sa Si Liam) 17. ตำบลบ้านช้าง (Ban Chang)
8. ตำบลวัดโบสถ์ (Wat Bot) 18. ตำบลโคกเพลาะ (Khok Phlo)
9. ตำบลกุฎโง้ง (Kut Ngong) 19. ตำบลไร่หลักทอง (Rai Lak Thong)
10. ตำบลหัวถนน (Hua Thanon) 20. ตำบลนามะตูม (Na Matum)

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอพนัสนิคมประกอบด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองพนัสนิคม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพนัสนิคมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหมอนนาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหมอนนางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าพระธาตุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเซิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเซิดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเริกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระสี่เหลี่ยมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุฎโง้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุฎโง้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวถนนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขยาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขยาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งขวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเหียงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาวังหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาวังหินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพลาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเพลาะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไร่หลักทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไร่หลักทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนามะตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนามะตูมทั้งตำบล

[แก้] พระพุทธรูปประจำเมือง

[แก้] ประเพณีท้องถิ่น

[แก้] สถานที่สำคัญ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และแหล่งโบราณคดี

[แก้] สถานศึกษา

[แก้] ตำนานเมืองพระรถ

  • วรรณคดีและตำนานพระรถ-เมรี

[แก้] นามสกุลพระราชทานที่เกี่ยวข้องกับอำเภอพนัสนิคม

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น