ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผนที่ภาคเหนือ กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยราชบัณฑิตยสถาน
แผนที่ภาคเหนือ กำหนดตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ดอยทางภาคเหนือ

ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ มีเขตแดนทางตอนเหนือติดกับชายแดนพม่าและลาว ทางตะวันออกจรดชายแดนลาวและภาคอีสาน ทางตะวันตกจรดพม่า และทางใต้ติดกับภาคกลาง

เนื้อหา

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ภูมิประเทศของภาคเหนือเต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน โดยเฉพาะบริเวณตอนเหนือสุด เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และน่าน โดยมีจุดสูงสุดของภาค (และของประเทศ) อยู่ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ทางตอนเหนือของภาคนั้นจะมีภาษาไทยที่มีสำเนียงเป็นของตนเองเรียกว่า คำเมือง

จังหวัดในภาคเหนือ แบ่งตามความคุ้นเคยของชาวไทย และตามราชบัณฑิตยสถาน [1] จะประกอบไปด้วย 9 จังหวัด ได้แก่

  1. เชียงราย (โยนกเชียงแสน)
  2. เชียงใหม่ (นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่)
  3. น่าน (นันทบุรีศรีนครน่าน)
  4. พะเยา (ภูกามยาว)
  5. แพร่ (เวียงโกศัย)
  6. แม่ฮ่องสอน (พุกาม)
  7. ลำปาง (เขลางค์นคร)
  8. ลำพูน (หริภุญชัย)
  9. อุตรดิตถ์ (สวางคบุรี)

นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว ยังมีหน่วยงานที่จัดแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยที่สำคัญอีกหน่วยงานหนึ่งคือ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคเหนือประกอบด้วย 17 จังหวัดได้แก่ [1]

  1. เชียงราย
  2. เชียงใหม่
  3. น่าน
  4. พะเยา
  5. แพร่
  6. แม่ฮ่องสอน
  7. ลำปาง
  8. ลำพูน
  9. อุตรดิตถ์
  10. ตาก
  11. พิษณุโลก
  12. สุโขทัย
  13. เพชรบูรณ์
  14. พิจิตร
  15. กำแพงเพชร
  16. นครสวรรค์
  17. อุทัยธานี

[แก้] จากหลักฐานทางโบราณคดี

ภาคเหนือตอนบนในอดีต ได้มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น สาม อาณาจักร ดังนี้คือ

ภาคเหนือตอนล่างในอดีต ได้มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น สอง อาณาจักร ดังนี้

[แก้] ภาคเหนือตอนบน

ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และ อุตรดิตถ์

[แก้] ภาคเหนือตอนล่าง

ได้แก่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และกำแพงเพชร

  • ภาคเหนือตอนล่างมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครสวรรค์เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง(ภาคกลางตอนบน)และเป็นชุมทางของคมนาคมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นถนน รถไฟ หรือทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าข้าวกำนันทรง ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย

[แก้] ความเชื่อและพิธีกรรม

  • ความเชื่อ
  1. ความเชื่อในเรื่องพระพุทธศาสนา
  2. ความเชื่อเรื่องการเกิด
  3. ความเชื่อเรื่องการแก่
  4. ความเชื่อเรื่องการตาย
  5. ความเชื่อเรื่องการขนทรายเข้าวัด
  6. ความเชื่อเรื่องการทานก๋วยสลากฯ
  7. ความเชื่อเรื่องตุง และการถวายโคมไฟ
  8. ความเชื่อเรื่องโชคลาภ
  9. ความเชื่อการให้ทาน
  10. ความเชื่อเรื่องการปล่อยโคมลอย
  • พิธีกรรม
  1. พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
  2. พิธีกรรมการสู่ขวัญ
  3. พิธีกรรมการขอฝน
  4. พิธีกรรมเมื่อมีการเกิด
  5. พิธีกรรมเมื่อถึงวัยชรา
  6. พิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย

[แก้] เทือกเขาที่สำคัญของภาคเหนือ

[แก้] เทศบาลนครในภาคเหนือ

[แก้] รายชื่อเมืองใหญ่ของภาคเหนือโดยดูจำนวนประชากรในเขตเทศบาล

ข้อมูลจากรายชื่อเมืองใหญ่ของประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1378 ราชบัณฑิตยสถาน

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น