จังหวัดราชบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดราชบุรี
ตราประจำจังหวัดราชบุรี ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดราชบุรี
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่
ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน
เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ราชบุรี
ชื่ออักษรโรมัน Ratchaburi
ผู้ว่าราชการ นายสุเทพ โกมลภมร
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-70
สีประจำกลุ่มจังหวัด เทา-ฟ้า ███
ต้นไม้ประจำจังหวัด โมกมัน
ดอกไม้ประจำจังหวัด กัลปพฤกษ์
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 5,196.462 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 43)
ประชากร 835,231 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 29)
ความหนาแน่น 160.73 ตร.กม.
(อันดับที่ 22)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดราชบุรี ถนนอำเภอ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000
โทรศัพท์ (+66) 0 3233 7890, 0 3232 7659
เว็บไซต์ จังหวัดราชบุรี
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดราชบุรี

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดในประเทศไทย ทิศเหนือติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม และทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม่า

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ราชบุรี ดินแดนวัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่กลองและสายหมอกแห่งขุนเขาตะนาวศรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตกที่มีภูมิประเทศหลากหลาย จากพื้นที่ที่ราบต่ำ ลุ่มแม่น้ำแม่กลองอันอุดม แหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้เศรษฐกิจนานาชนิด สู่พื้นที่สูงทิวเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวทางทิศตะวันตกจรดชายแดนไทย-พม่า

จากตำนานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ราชบุรีเป็นหัวเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมากแห่งหนึ่งของแคว้นสุวรรณภูมิมาตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียได้เผยแพร่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแถบนี้ เมื่อราวปี พ.ศ. 218 โดยแคว้นสุวรรณภูมินี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครปฐมหรือที่สมัยนั้นเรียกกันว่า "ทวารวดี” ราชบุรียังเป็นแหล่งพบปะของพ่อค้าวาณิชแต่ครั้งโบราณ ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดต่อกับพม่า ราชบุรีจึงเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่สุดแห่งหนึ่ง

[แก้] ภูมิประเทศ

  • 1.พื้นที่ภูเขาสูง อยู่บริเวณชายแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศพม่า และด้านใต้ติดกับจังหวัดเพชรบุรี มีสภาพเป็นเทือกเขาสูง อุดมไปด้วยป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าไผ่ ในระดับความสูง ตั้งแต่ 200 เมตร ถึง 1,400 เมตร ในเขตอำเภอสวนผึ้ง กิ่งอำเภอบ้านคา และอำเภอปากท่อด้านตะวันตก
  • 2.พื้นที่ราบสูง ได้แก่บริเวณถัดจากเทือกเขามาทางด้านตะวันออก กลางของพื้นที่จังหวัดป็นที่ราบสูงและที่เนินลอนลาด มีแม่น้ำภาชี และลำห้วยสาขา เป็นสายน้ำหลัก สภาพเนื้อดิน เป็นดินปนทรายมีการชะล้างพังทลายของหน้าดินค่อนข้างสูงถึงปานกลาง อยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง กิ่งอำเภอบ้านคา อำเภอจอมบึง และด้านตะวันตกของอำเภอปากท่อ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านโป่ง
  • 3.ที่ราบลุ่ม ได้แก่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง และด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัด เนื้อดินเป็นดินร่วนและดินร่วนปนดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประทานแม่กลอง ที่เป็นระบบชลประทานขนาดใหญ่มากด้วย
  • 4.ที่ราบลุ่มต่ำ ได้แก่ตอนปลายของแม่น้ำแม่กลองที่ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลกลางเพียง 1-2 เมตร ดินจะมีความสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำสวนผักผลไม้

[แก้] ภูมิอากาศ

จังหวัดราชบุรีตั้งอยู่ในเขตที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่การที่มีเทือกเขาตะนาวศรีบังไว้อยู่ ทำให้เป็นที่อบฝน คือ อำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา และอำเภอจอมบึง ฝนส่วนใหญ่จะถูกพัดเลยไปตกในแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัดอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13-38 องศาเซลเซียส แต่ในฤดูหนาวบริเวณเชิงเขาหรือหุบเขาในพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านคาจะมีสภาพอากาศหนาวมาก เฉลี่ย 8-15 องศาเซลเซียส

[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 104 ตำบล 935 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองราชบุรี
  2. อำเภอจอมบึง
  3. อำเภอสวนผึ้ง
  4. อำเภอดำเนินสะดวก
  5. อำเภอบ้านโป่ง
  1. อำเภอบางแพ
  2. อำเภอโพธาราม
  3. อำเภอปากท่อ
  4. อำเภอวัดเพลง
  5. อำเภอบ้านคา
 แผนที่

[แก้] ตราประจำจังหวัด

 

ความหมายของตราประจำจังหวัด เครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 อย่างคือ

ทั้งนี้ก็เพราะชื่อจังหวัดราชบุรีแปลว่า เมืองของพระราชา

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกกัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: โมกมัน (Wrightia tomentosa)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี


[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียงในจังหวัดราชบุรี

[แก้] เศรษฐกิจ

จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจค่อนข้างใหญ่ในภาคตะวันตกของไทย ในปี 2551 ราชบุรีมีผลผลิตจังหวัดมากถึง 120,000 ล้านบาท มากเป็นอันดับ 10 ของประเทศและอันดับ 1 ของภาคตะวันตก มีรายได้ต่อหัวสูงถึง 130,000 บาทต่อคน จังหวัดราชบุรีมีการลงทุนทางอุตสาหกรรมถึง 1,100 โครงการ มีทุนมากกว่า 100,000 ล้านบาท เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค มีธุรกิจการค้าประเภทสินค้าเกษตร โดยมีศูนย์กลางตลาดผักผลไม้ ควบคู่กับการเลี้ยงปศุสัตว์ ดังนั้นโครงสร้างทางเศรษฐกิจจะขึ้นอยู่กับการทำการเกษตรเป็นสำคัญ จุดศูนย์กลางที่สำคัญของธุรกิจต่าง ๆ จะกระจายอยู่ในอำเภอบ้านโป่งและอำเภอเมือง นอกจากนั้นยังมีตลาดสดและตลาดนัดในท้องที่ต่าง ๆ อีกด้วย ตลาดกลางสินค้าการเกษตรของราชบุรี นับว่าใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ราชบุรีเป็น 1 ใน 14 จังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางของประเทศด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์โดยสาร อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมแก๊สธรรมชาติ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยมีศูนย์กลางอยู่ทีอำเภอบ้านโป่ง

[แก้] อุทยานแห่งชาติทางบก

[แก้] แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

[แก้] การศึกษา

[แก้] ห้างสรรพสินค้า

  1. โรบินสัน เมธาวลัย - ราชบุรี
  2. บิ๊กซี - บ้านโป่ง - ราชบุรี
  3. เทสโก้ โลตัส/ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ - บ้านโป่ง
  4. เทสโก้ โลตัส - ราชบุรี
  5. ตลาดโลตัส - บ้านโป่ง - โพธาราม - ดำเนินสะดวก
  6. เทสโก้โลตัสExpress - จอมบึง - หนองโพ (โพธาราม) - สวนผึ้ง
  7. รอยัล ปาร์ค ราชบุรี
  8. TMK Supermarket บ้านโป่ง
  9. แกรนด์พลาซ่า บ้านโป่ง
  10. Global House- ราชบุรี

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°32′N 99°49′E / 13.54°N 99.82°E / 13.54; 99.82