พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช.jpg
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พระนามเต็ม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พระอิสริยยศ พระองค์เจ้า
ฐานันดรศักดิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี

จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาทับทิม โดยทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลุ่มแรกที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อกลับมาประเทศไทยทรงเข้ารับราชการในกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมในตำแหน่งต่าง ๆ และทรงเป็นจอมพลพระองค์แรกของกองทัพบกสยาม พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล "จิรประวัติ"

เนื้อหา

[แก้] พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาทับทิม (ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)) เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๙ ในพระบรมมหาราชวัง

กิติยากร-รพีพัฒน์-จิรประวัติ-ประวิตร.jpg

พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ทรงสำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ทรงเป็นพระราชโอรสกลุ่มแรก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ พร้อมกัน ๔ พระองค์ คือ

พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ทรงศึกษาวิชาทหาร ที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๓๗ ได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายร้อยตรีแห่งกองทัพบกประเทศเดนมาร์ก จากนั้นทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนชั้นสูงสำหรับนายทหารทั่วไป เมื่อทรงสอบวิชาทหารปืนใหญ่ได้แล้ว ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ จึงออกไปฝึกราชการอยู่ในกรมทหารปืนใหญ่สนามของประเทศเดนมาร์ก

เสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เข้ารับราชการในกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ, ปลัดกองทัพบก, เสนาธิการทหารบก และเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ทรงเป็นจอมพลพระองค์แรกของ กองทัพบกสยาม

ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้ทรงปรึกษากับ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เสนาธิการทหารบก ถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีเครื่องบินไว้ใช้ป้องกันประเทศ เหมือนอย่างอารยประเทศ และริเริ่มจัดตั้งกองบินทหารบก ซึ่งในเวลาต่อมาได้พัฒนาเป็น กองทัพอากาศไทย

จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๖สิริพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งกองทัพบกไทย"

[แก้] พระโอรส-ธิดา

ตราประจำราชสกุลจิระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงได้รับพระราชทานวังมหานาคจากสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงให้เป็นที่ประทับของพระองค์และเจ้าจอมมารดาสึบมา ทรงเป็นต้นราชสกุล จิรประวัติ ณ อยุธยา [1] ทรงอภิเษกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี โสณกุล (๒๕ ธันวาคม ๒๔๒๖ - ๑๑ ธันวาคม ๒๔๔๕) เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๑

  • หม่อมเจ้าหญิงวิมลปัทมราช จิรประวัติ (๑๗ พฤษภาคม ๒๔๔๒ - ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘)
  • หม่อมเจ้าหญิงนิวาศสวัสดี จิรประวัติ (๑๖ กรกฎาคม ๒๔๔๓ - ๒๘ มีนาคม ๒๕๑๙)
  • หม่อมเจ้าชายประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ (๘ พฤศจิกายน ๒๔๔๔ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๓)
  • หม่อมเจ้าหญิง ไม่ปรากฏพระนาม

ภายหลังที่ชายาองค์แรกทรงสิ้นชีพิตักษัย ได้ทรงเสกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์ โสณกุล ซึ่งเป็นพระขนิษฐาร่วมพระบิดา-มารดาเดียวกันกับหม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี (๑๔ เมษายน ๒๔๓๑ - ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๓) เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗

  • หม่อมเจ้าชายนิทัศนาธร จิรประวัติ (๙ มกราคม ๒๔๔๙ - ๓ มีนาคม ๒๕๐๖) เสกสมรสกับ หม่อมอนุวงศ์ กุญชร ณ อยุธยา
    • หม่อมราชวงศ์วัฒนาธร จิรประวัติ สมรสกับ รจนา ไรซ์
      • หม่อมหลวงวราธร จิรประวัติ
      • หม่อมหลวงหญิงภัทธราธร จิรประวัติ
      • หม่อมหลวงจิรธร จิรประวัติ
      • หม่อมหลวงหญิงรจนาธร จิรประวัติ
      • หม่อมหลวงหญิงวิฏราธร จิรประวัติ
  • หม่อมเจ้าชายขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ (๑๖ ตุลาคม ๒๔๕๕ - ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๔) เสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงกุลปราโมทย์ สวัสดิกุล
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสุรภี จิรประวัติ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์วุฒิสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์
      • หม่อมหลวงหญิงเสาวรส สวัสดิวัตน์
      • หม่อมหลวงหญิงกุลยา สวัสดิวัตน์ [2]

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[3]

[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช
กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช

พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย
พระชนนี:
เจ้าจอมมารดาทับทิม
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระยาอัพภันตริกามาตย์
(ดิศ โรจนดิศ)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ขรัวยายอิ่ม
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i215.html
  2. ^ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  3. ^ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช จากเว็บไซต์กองทัพบก
  1. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม,พระประวัติและงานสำคัญ ของ จอมพลกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช, พระนคร, โรงพิมพ์แพร่การช่าง, 2514.
  2. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๗ (เก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติและ หอวชิราวุธานุสรณ์)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สมัยก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สมัยถัดไป
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า
กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
2leftarrow.png ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
(8 สิงหาคม พ.ศ. 2444 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453)
2rightarrow.png เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต
(หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
2leftarrow.png เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456)
2rightarrow.png เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต
(หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล)