พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๕

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๕ เรียงตามพระประสูติการ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอม รวมทั้งหมด ๙๒ พระองค์ ๓๖ พระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา อีก ๕๖ พระองค์ไม่มี และพระองค์ยังทรงมีพระราชโอรส-ธิดา ทั้งหมดรวม ๗๗ พระองค์

เนื้อหา

[แก้] พระภรรยาเจ้า

แถวบน ซ้ายสุด พระวิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฎ
แถวกลาง ที่สามจากซ้าย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ถัดจากพระองค์ท่าน พระองค์ที่สี่นับจากทางขวา คือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
แถวนั่ง (ไม่ใช่แถวหมอบด้านหน้าสุด) ขวาสุด สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร เจ้านายสตรีองค์ที่ประทับบนพระเก้าอี้ยาว อีกพระองค์หนึ่ง สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระภรรยาเจ้าทั้งสิ้น ๙ พระองค์ โดยแบ่งออกเป็น ชั้นลูกหลวง ซึ่งหมายถึง ทรงเป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ ๕ พระองค์ ได้แก่

และทรงมีพระภรรยาเจ้า ชั้นหลานหลวง ซึ่งหมายถึง ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ อีก ๓ พระองค์ ได้แก่

นอกจากนี้ ยังทรงมีพระภรรยาเจ้าที่ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงใหม่อีก ๑ พระองค์ ได้แก่

โดยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้านั้น สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

[แก้] สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

[แก้] สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชอิสริยยศสุดท้ายเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ คือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ(รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามเรียกโดยลำลองว่า "แม่เล็ก") เมื่อรัชกาลที่ ๖ เสวยราชย์แล้วจึงทรงเฉลิมพระนามาภิไธยพระราชชนนีเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ มีพระราชโอรส-ธิดา ทั้งหมด ๘ พระองค์ และตกพระครรภ์อีก หลายพระองค์ ได้แก่

[แก้] สมเด็จพระบรมราชเทวี

[แก้] สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่รู้จักกันในนาม พระนางเรือล่ม (รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามเรียกโดยลำลองว่า "แม่ใหญ่")

[แก้] สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชอิสริยยศสุดท้ายในรัชกาลที่ ๕ คือ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี(รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามเรียกโดยลำลองว่า "แม่กลาง") ในรัชกาลที่ ๗ ทรงเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ในรัชกาลที่ ๘ ทรงเฉลิมพระนามาภิไธยพระอัยยิกา (ย่า) เป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ มีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๘ พระองค์เช่นเดียวกัน ดังนี้

[แก้] สมเด็จพระอัครราชเทวี

สมเด็จพระอัครราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่เพียง พระองค์เดียว คือ

[แก้] สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี มีพระนามเดิมว่า " พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี " เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าคุณจอมมารดาสำลีพระราชอิสริยยศสุดท้ายเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ คือ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเป็น " สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี "

สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีฯ มีพระราชโอรส-ธิดา รวม ๒ พระองค์ ได้แก่

[แก้] พระอรรคชายา

ฐานันดรศักดิ์ พระอรรคชายา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีอยู่ทั้งหมด ๓ พระองค์ ซึ่งทรงเป็นพี่น้องร่วมพระอุทรเดียวกัน ดังนี้

[แก้] พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา

พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา (หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์) ชาววังเอ่ยพระนามว่า พระอรรคชายาพระองค์ใหญ่ พระธิดาของพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กับ เจ้าจอมมารดาจีน (หม่อมจีน) มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว

[แก้] พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์

พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์) ชาววังเอ่ยพระนามว่า พระอรรคชายาพระองค์กลาง มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว เช่นเดียวกัน

[แก้] พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระราชอิสริยยศสุดท้ายเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ คือ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ (หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์) ในรัชกาลที่ ๗ ทรงได้รับเฉลิมพระนามเป็น พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ชาววังเอ่ยพระนามว่า พระอรรคชายาพระองค์เล็ก

มีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๔ พระองค์

หมายเหตุ พระอิสริยยศ " พระอรรคชายา " มีความหมายเดียวกับคำว่า " พระอัครชายา " เพียงแต่คำว่า พระอรรคชายา เป็นภาษาที่เขียนแบบโบราณ

[แก้] พระราชชายา

ฐานันดรศักดิ์ไทย พระราชชายานั้น มีอยู่เพียงพระองค์เดียว คือ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เป็นพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ไทย ที่ทรงดำรงฐานันดรนี้

[แก้] พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ

สำหรับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี ซึ่งเป็นพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวงอีกพระองค์นั้น หลังจากพระองค์มีพระประสูติการสมเด็จเจ้าฟ้าชายแต่สิ้นพระชนม์เมื่อแรกประสูติ ทำให้พระองค์เสียพระทัยมากจนประชวรและไม่ได้รับราชการในตำแหน่งพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกตราบจนสิ้นพระชนม์

[แก้] เจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม

แถวบน : เจ้าจอมแก้ว เจ้าจอมเอื้อน เจ้าจอมเอี่ยม
แถวล่าง : เจ้าจอมแส พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมมารดาอ่อน พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา

เจ้าจอม คือ พระภรรยาที่เป็นบุคคลสามัญชน เจ้าจอมนั้นมักเป็นธิดาของขุนนางหรือคหบดีผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวแด่พระมหากษัตริย์ เช่น เจ้าจอมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น หลายท่านเป็นบุคคลในราชินิกุล บุนนาค ซึ่งมีสมาชิกในสกุลรับราชการเป็นขุนนางผู้ใหญ่หลายท่านในยุครัชกาลที่ ๓-๕

[แก้] เจ้าจอมมารดา

[แก้] เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ)

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค) เป็นธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) และท่านผู้หญิงอิ่ม (ต้นสกุลมาแต่เชื้อจีน) เจ้าจอมมารดาแพ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 และการที่ท่านชื่อแพนั้นเพราะท่านเกิดในแพ จึงได้ชื่อว่าแพ เช่นเดียวกันพี่สาวของท่านคนหนึ่ง เกิดที่ฉางข้าว จึงชื่อว่า ฉาง เจ้าจอมมารดาแพ หรือ พระประยุรวงศ์ ถึงพิราลัยเมื่ออายุ 90 ปีหย่อน 4 เดือน (วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2486) ได้รัยพระราชทานโกศ ประกอบลองกุดั่นน้อยเป็นเกียรติยศเสมอศักดิ์สมเด็จเจ้าพระยา

[แก้] เจ้าจอมมารดาจันทร์

เป็นธิดาพระยาราชสัมภารากร (เทศ) และท่านอ่ำ

[แก้] เจ้าจอมมารดาชุ่ม

เจ้าจอมมารดาชุ่ม ไกรฤกษ์

[แก้] เจ้าจอมมารดาแช่ม

[แก้] เจ้าจอมมารดาโหมด

[แก้] เจ้าจอมมารดาตลับ

[แก้] เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่

เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่ ทรงเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" มีพระราชโอรสพระองค์เดียว

[แก้] เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร

[แก้] เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ

เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ เป็นเจ้าจอมคนแรกในพระพุทธเจ้าหลวง มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว

[แก้] เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์

เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์ มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ

[แก้] เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์

เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ

[แก้] เจ้าจอมมารดาทับทิม

เจ้าจอมมารดาทับทิม มีพระราชโอรส-ธิดา ทั้งหมด ๓ พระองค์

[แก้] เจ้าจอมมารดาเรือน

[แก้] เจ้าจอมมารดาพร้อม

[แก้] เจ้าจอมมารดาวง

[แก้] เจ้าจอมมารดาวาด

เจ้าจอมมารดาวาด มีพระราชโอรสพระองค์เดียว

[แก้] เจ้าจอมมารดาเลื่อน

เจ้าจอมมารดาเลื่อน มีพระธิดา 1 พระองค์ และพระโอรส 1 พระองค์

[แก้] เจ้าจอมมารดาแส

เจ้าจอมมารดาแส โรจนดิศ

[แก้] เจ้าจอมมารดาแสง

เจ้าจอมมารดาแสง

[แก้] เจ้าจอมมารดาสุด

เจ้าจอมมารดาสุด กุสุมลจันทร์ มีพระราชธิดาพระองค์เดียว

[แก้] เจ้าจอมมารดามรกฎ

[แก้] เจ้าจอมมารดาเหม

[แก้] เจ้าจอมมารดาอ่วม

[แก้] เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค

เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค มีพระราชธิดา ๒ พระองค์ และที่ทรงแท้งอีก ๒ พระองค์

[แก้] เจ้าจอม

[แก้] เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค

[แก้] เจ้าจอมเอิบ บุนนาค

[แก้] เจ้าจอมอาบ บุนนาค

[แก้] เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค

[แก้] เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์

[แก้] เจ้าจอมกลีบ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

[แก้] เจ้าจอมลิ้นจี่ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

[แก้] เจ้าจอมฟักเหลือง เทพหัสดิน ณ อยุธยา

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม