สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
ข้อมูล
วันประสูติ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
วันสิ้นพระชนม์ 7 มีนาคม พ.ศ. 2494
พระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
พระบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดา เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์
หม่อม หม่อมเอลิซาเบธ รังสิต ณ อยุธยา
(สกุลเดิม ชาร์นแบร์เกอร์)
บุตร หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต

หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต
หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต

ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระนามเดิม พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ - ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔) พระราชโอรสองค์ที่ ๕๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ดำรงพระชนม์ชีพอยู่เป็นพระองค์สุดท้าย

เนื้อหา

[แก้] พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระราชโอรสองค์ที่ ๕๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ (ธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ [1] วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ หลังให้ประสูติกาลพระราชโอรสได้ ๑๒ วัน เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์เนื่องก็ถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ มาพระราชทานสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ด้วยพระองค์เอง พร้อมกับตรัสว่า [2]

Cquote1.svg

ให้มาเป็นลูกแม่กลาง

Cquote2.svg

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ไว้อุปการะพร้อมทั้งพระเชษฐภคินี คือ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท โดยทรงเลี้ยงดูพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งทรงมีพระชนมายุใกล้เคียงกับเจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช เหมือนกับพระราชโอรสที่ประทานกำเนิดด้วยพระองค์เอง

พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เสด็จไปศึกษาชั้นมัธยม ณ เมืองฮัสเบอรสตัด ประเทศเยอรมนี ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ จากนั้นทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์กโดยทรงพระประสงค์ที่จะศึกษาวิชาแพทย์ แต่ในระยะแรกทรงศึกษาวิชากฎหมาย ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาจึงทรงเปลี่ยนไปเรียนวิชาการศึกษา และยังทรงเข้าเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์บางอย่างเป็นส่วนพระองค์กับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นด้วย

พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทรงสำเร็จการศึกษา เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระองค์เจ้าต่างกรมที่ "กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร"[3] เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ทรงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการพยาบาลผดุงครรภ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังนิยมใช้การแพทย์แผนโบราณ คลอดบุตรโดยหมอตำแยกันอยู่ ทรงส่งเสริมให้ข้าราชบริพารในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เข้าเรียนต่อหลักสูตรของศิริราชพยาบาล ให้สนใจศึกษาวิชาแพทย์และพยาบาลแผนปัจจุบันให้มากขึ้น ทรงปลูกฝังความนิยมในการเรียนแพทย์ให้เป็นที่แพร่หลาย จัดการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ให้มีมาตรฐาน นอกจากนี้พระองค์ท่านยังเป็นผู้โน้มน้าวสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์

พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๘๖ ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ในกบฏพระยาทรงสุรเดช ทำให้พระองค์ถูกคุมขังที่เรือนจำบางขวางและตะรุเตา รวมทั้งถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์[4] แต่ได้มีการประกาศสถาปนาพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ตามเดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ในสมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี[5]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ที่วังถนนวิทยุ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ด้วยพระโรคหืดและโรคพระหทัยวาย เป็นราชโอรสองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระชนม์ยืนที่สุด พระชนมายุ๖๕ ปี ๔ เดือน

ตราประจำพระองค์ และตราประจำราชสกุลรังสิต

[แก้] พระอิสริยยศ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรณคุณสรณาภิรักษ ประยูรศักดิธรรมิกนาถบพิตร สิงหนาม ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ ตามอย่างธรรมเนียมพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวง

  • พ.ศ. ๒๔๙๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร [7] เมื่อสิ้นพระชนม์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมเป็น

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรณคุณสรณาภิรักษ ประยูรศักดิธรรมิกนาถบพิตร



[แก้] การสมรส

กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หม่อมเอลิซาเบท และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่วังถนนวิทยุ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงสมรสกับ หม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชาร์นแบร์เกอร์) (Elisabeth Scharnberger) สตรีชาวเยอรมัน ณ ที่ทำการอำเภอเวสตมินสเตอร กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงเป็นต้นราชสกุล รังสิต ทรงมีโอรส ๒ พระองค์และธิดา ๑ พระองค์ ได้แก่[8] [9]

  • หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต ประสูติเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รัชนี (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) และมีหม่อม คือ พิทักษ์ แสงฤทธิ์
  • หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ เสกสมรสกับ อามีเลีย มอนตอลติ และ นาลินี สุขนิล
    • หม่อมราชวงศ์พงษ์สนิธ รังสิต สมรสกับ สมใจ เลิศสุวรรณ
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจารุวรรณ รังสิต สมรสกับ อเล็กซานเดอร์ ซูรซก
      • อเล็กซานเดอร์ คิม ซูรซก
    • หม่อมราชวงศ์สายสนิธ รังสิต สมรสกับ ปิยะลักษณ์ เป้าเปรมบุตร
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวลัยลักษณ์ รังสิต
  • หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต (ในปัจจุบันคือ ท่านผู้หญิงจารุลักษณ์กัลยาณี บูรณะนนท์) ประสูติเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ภายหลังได้กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อทำการสมรส[10] กับนายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์
    • จามิกร บูรณะนนท์ สมรสกับ เจน แอนโดรส
      • กัลยาณี แคทรีน บูรณะนนท์
      • ชัยยา คริสโตเฟอร์ บูรณะนนท์
    • ฉันทกะ บูรณะนนท์ สมรสกับ ซิลเวีย ซีสนิส
      • ฉันทกะ บูรณะนนท์ Jr.

[แก้] พระกรณียกิจ

กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงจัดตั้งวิชาแพทย์ปรุงยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัย ตามที่กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงปรารภเกี่ยวกับการขาดแคลนแพทย์ปรุงยาในกองทัพ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงได้รับการเชิดชูเฉลิมพระเกียรติ์เป็น พระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมน้อย
พระชนนี:
เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมเขียน
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. ISBN 974-222-648-2
  2. ^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์. เลาะวัง. กรุงเทพฯ : โชคชัยเทเวศร์ (1988), 2535. 416 หน้า. ISBN 974-420-045-6
  3. ^ 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม, เล่ม ๓๑, ตอน ๐ง, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗, หน้า ๑๘๓๕
  4. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดยศฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์และบรรดาศักดิ์, เล่ม ๕๖, ตอน ๐ ง, ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ,หน้า ๒๖๑๗
  5. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา กลับดำรงฐานะและฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ตามเดิม, เล่ม ๖๑, ตอน ๕๙ ก, ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๗, หน้า ๘๔๘
  6. ^ ราชกิจจานุเบกษา, การสถาปนาพระราชวงศ์, เล่ม ๖๗, ตอน ๖๙, ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓, หน้า ๔๙๐
  7. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร, เล่ม ๖๙, ตอน ๗ ก, ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕, หน้า ๗๗
  8. ^ HRH Prince RANGSIT PRAYURASAKDI
  9. ^ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  10. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต), เล่ม ๖๒, ตอน ๓๙ ง, ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘, หน้า ๑๑๑๓
  11. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งอภิรัฐมนตรี, เล่ม ๖๔, ตอน ๕๔ ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐, หน้า ๖๘๘
  12. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานองคมนตรี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมขุนชัยนาทนเรนทร), เล่ม ๖๗, ตอน ๑๘ ก, ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓, หน้า ๓๙๘
  13. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมพระชัยนาทนเรนทร), เล่ม ๖๗, ตอน ๓๒ ก, ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓, หน้า ๖๔๔

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น