คณะรัฐศาสตร์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก คณะรัฐศาสตร์)

คณะรัฐศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ กล่าวคือ ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา อธิบายภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ที่เกิดขึ้น

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

การศึกษาในสาขารัฐศาสตร์นั้น เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงจัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน" ขึ้น เพื่อฝึกหัดนักเรียนให้รับการศึกษาเพื่อเข้ารับราชการตามกระทรวงต่าง ๆ ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสถาปนา "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ขึ้น โดย "คณะรัฐประศาสนศาสตร์" เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" และโอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และในที่สุดก็กลับมาจัดตั้งใหม่อีกครังในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2491 หลังจากนั้น สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ก็ได้เปิดสอนในหลายมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้

[แก้] สาขาวิชารัฐศาสตร์

  • สาขาการเมืองการปกครอง ศึกษาเกี่ยวกับหลักทฤษฎีการเมือง ระบบการเมือง พฤติกรรมทางการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ การปกครอง ของประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญ
  • สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (การระหว่างประเทศ) ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศของกลุ่มต่าง ๆ องค์การและกฎหมายระหว่างประเทศ
  • สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (บริหารรัฐกิจ) ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารองค์การของรัฐ การวางแผนและการดำเนินนโยบายการบริหารต่าง ๆ เช่น การบริหารงานบุคคล การบริหารองค์การ การบริหารงานคลัง และงบประมาณ การวางแผนและบริหารโครงการวางแผนกำลังคน นโยบายสาธารณะ และการบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
  • สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างและการจัดระเบียบแต่ละสังคมที่แตกต่างกันตามลักษณะของวัฒนธรรม
  • สาขาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย (อาชญวิทยา) ศึกษาโดยการใช้องค์ความรู้หลายๆแขนงด้วยกัน เช่น นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา ฯลฯ เพื่อใช้สำหรับวิเคราะห์และกำหนดนโยบายทางสังคมที่เกี่ยวกับการบริหารในระบบงานยุติธรรม ได้แก่ องค์กรตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และคุมประพฤติ วิชาที่เรียนเน้นหนักไปในเรื่องหลักการบริหาร การบังคับใช้กฎหมายอาญาการแก้ปัญหาการกระทำผิดในสังคม ตลอดทั้งการบริหารเพื่อความปลอดภัยในองค์กรเอกชน

[แก้] สัญลักษณ์

ชาวรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มีสัญลักษณ์ ได้แก่ สิงห์ หรือ ราชสีห์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ได้รับยกย่องให้เป็น "ราชาแห่งสัตว์ป่า" รวมทั้ง ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ และกำลัง จึงถูกนำไปเปรียบเทียบกับผู้มีอำนาจราชศักดิ์ โดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นกระทรวงที่ชาวรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์เข้ารับราชการเป็นส่วนใหญ่ได้ใช้ตรารูปราชสีห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำกระทรวงด้วย ดังนั้น จึงได้นำเอารูปสัญลักษณ์สิงห์ หรือ ราชสีห์ มาเป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชารัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร์[3]

ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ได้แก่

[แก้] กิจกรรมร่วม

งานสิงห์สัมพันธ์ ประกอบไปด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยบูรพา กิจกรรมที่ดำเนินการ เช่น กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมแข่งขันกีฬา กิจกรรมแสตนเชียร และเชียรลีดเดอร์ และกิจกรรมงานราตรีชาวสิงห์ โดยเจ้าภาพครั้งที่ผ่านมา ได้แก่

  • ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ครั้งที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
  • ครั้งที่ 7 กำลังจะมีขึ้นที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม