ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทีมชาติออสเตรเลีย
Shirt badge/Association crest
ฉายา Socceroos
สมาคม สมาพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลีย
หัวหน้าผู้ฝึกสอน Flag of ออสเตรเลีย เกรแฮม อาร์โนลด์
ติดทีมชาติสูงสุด อเล็กซ์ โทบิน (87)
ทำประตูสูงสุด ดาเมียน โมรี (29)
รหัสฟีฟ่า AUS
สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
Flag of นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 3 - 1 ออสเตรเลีย Flag of ออสเตรเลีย
(Dunedin นิวซีแลนด์; 17 มิถุนายน 2465)
ชนะสูงสุด
Flag of ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 31 - 0 อเมริกันซามัว Flag of อเมริกันซามัว
(Coffs Harbour, ออสเตรเลีย; 11 เมษายน 2544)
ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก
แพ้สูงสุด
Flag of ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 0 - 8 แอฟริกาใต้ Flag of สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
(แอดิเลด ออสเตรเลีย; 17 กันยายน 2498)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม 2 (ครั้งแรกเมื่อ 1974)
ผลงานดีที่สุด รอบ 2 ใน 2006
โอเอฟซีเนชันส์คัพ และ
เอเชียนคัพ (ตั้งแต่ 2007)
เข้าร่วม OFC: 6 (เข้าครั้งแรก OFC: 1980)
AFC: 0 (ครั้งแรกเมื่อ AFC: 2007)
ผลงานดีที่สุด OFC: ชนะเลิศ 4 ครั้ง
1980, 1996, 2000, 2004
AFC: รอบก่อนรองชนะเลิศ (2007)

ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศออสเตรเลีย ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลีย ทีมชาติออสเตรเลียมีชื่อเล่นอย่างเป็นทางการคือ ซอกเกอร์รูส์ (Socceroos) หรือ จากชื่อเต็มว่า แควนตัสซอกเกอร์รูส์ โดยสายการบินแควนตัสเป็นผู้สนับสนุนหลักของทีมชาติ ทีมชาติออสเตรเลียในอดีตได้ร่วมเล่นในการแข่งขันของ สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย จนกระทั่งในปี 2549 ได้ย้ายมาร่วมเล่นกับทีมอื่นในทวีปเอเชีย ภายใต้ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย

ผลงานของทีมชาติออสเตรเลียนั้น ได้ร่วมเล่นในฟุตบอลโลก 2 ครั้งใน ฟุตบอลโลก 1974 และ ฟุตบอลโลก 2006 สำหรับในระดับภูมิภาคนั้น ได้ชนะการแข่งขันโอเอฟซีเนชันส์คัพ 4 ครั้ง ก่อนที่จะย้ายมาเล่นกับทีมอื่นในเอเชีย และในปี 2550 เข้าร่วมการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2007

เนื้อหา

[แก้] ผลงาน

[แก้] ฟุตบอลโลก

  • 1930-1962 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1966-1970 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1974 - รอบแรก
  • 1978-2002 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2006 - รอบสอง

[แก้] คอนเฟเดอเรชันคัพ

  • 1992, 1995 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1997 - รองชนะเลิศ
  • 1999 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2001 - อันดับสาม
  • 2003 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2005 - รอบแรก

[แก้] โอเอฟซีเนชันส์คัพ

  • ชนะเลิศ - 1980, 1996, 2000, 2004
  • อันดับสอง - 1998, 2002
  • ไม่ได้เข้าร่วม - 1973

[แก้] เอเชียนคัพ

  • 2007 - รอบก่อนรองชนะเลิศ

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น