พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตราสัญลักษณ์
พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙
ชื่อ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙
วันและเวลา ๑๐, ๑๒, ๑๔, ๒๓ มิถุนายน และ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙
สถานที่ Flag of ไทย กรุงเทพมหานคร
ผู้จัด รัฐบาลไทย
โอกาส การเฉลิมฉลองในวโรกาสครบรอบปีที่ ๕๐ แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีกาญจนาภิเษก (อังกฤษ: Golden Jubilee) เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระมหากษัตริย์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ตามคติสากล

สำหรับในประเทศไทยจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยพระองค์ทรงครองราชสมบัติ เป็นปีที่ ๕๐ ใน พุทธศักราช ๒๕๓๘ และครบรอบ ๕๐ ปีเต็มในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙ ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ครองราชสมบัติเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีหมายกำหนดการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ระหว่างวันที่ ๘-๑๐,๑๒,๑๔ และ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ รวมทั้งสิ้น ๖ วัน

พระราชพิธีนี้ รัฐบาล สมัย นายบรรหาร ศิลปอาชา และ ประชาชนชาวไทย เป็นผู้ร่วมกันจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ

เนื้อหา

[แก้] กำหนดการพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

[แก้] วันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๙ เวลา ๑๖.๓๐ น.

พระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

[แก้] วันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ เวลา ๑๐.๐๐ น.

พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า และเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งกาญจนาภิเษก มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

[แก้] วันจันทร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๙ เวลา ๑๖.๓๐ น.

พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงสถาปนาสมณศักดิ์พระสงฆ์ ๕๙ รูป ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

[แก้] วันพุธที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๓๙ เวลา ๑๗.๐๐ น.

คณะทูตานุทูตเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

[แก้] วันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๙ เวลา ๑๙.๓๐ น.

งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระพรชัยมงคล ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

[แก้] วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๙ เวลา ๑๕.๐๐ น.

พิธีสวนสนามแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทย ณ บริเวณถนนราชดำเนิน จากท้องสนามหลวง ถึงลานพระราชวังดุสิต

[แก้] วันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ เวลา ๑๕.๓๐ น.

พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารควัดอรุณราชวราราม

[แก้] ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙

[แก้] ของที่ระลึก

[แก้] เหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ

สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ 50 ปี วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดชื่องานว่า “งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี” และชื่อ พระราชพิธีว่า “พระราชพิธีกาญจนาภิเษก” มี 2 ชนิด คือ เหรียญทองคำ และเหรียญเงินกะไหล่ทอง แบ่งเป็นบุรุษและสตรี

ธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา500บาทและ50บาท จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ตราไปรษณียากรที่ระลึก จัดทำโดย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มหาชน


แถบแพรย่อ

[แก้] ถนนกาญจนาภิเษก

ดูบทความหลักที่ ถนนกาญจนาภิเษก

[แก้] เวทีไท

ดูบทความหลักที่ เวทีไท

[แก้] โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย

รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทขอพระราชทาน จัดตั้งโรงเรียนพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมหามงคลนี้ โดยจัดตั้งโรงเรียนระดับสามัญศึกษา ขึ้น จำนวน ๙ โรง ทั่วพระราชอาณาจักร แต่ละโรงได้รับนามราชทานว่า "โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย" ประกอบกับชื่อจังหวัดอันเป็นที่ตั้ง ดังนี้

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Scale of justice.svg พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ