เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ)
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เมื่อ พ.ศ. 2453
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เมื่อ พ.ศ. 2453
ข้อมูล
พระอิสริยยศ มหาอำมาตย์เอก พระอัยกาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ชายา ท้าววนิดาพิจาริณี
บุตร หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์
พล.ท.น.พ. หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์
หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เมื่อ พ.ศ. 2465
ภาพล้อเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6 ทรงวาดจากภาพต้นฉบับด้านบน

มหาอำมาตย์เอก พลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ หรือ หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ (นามเดิม หม่อมราชวงศ์กลาง) (24 มิถุนายน พ.ศ. 2409 [1] - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483) อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2452 – 2455) และกระทรวงคมนาคม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องคมนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระอัยกาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เคยเป็นข้าหลวงใหญ่ปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับแคว้นอินโดจีนตอนเหนือ (หลวงพระบาง) ของฝรั่งเศส ระหว่าง พ.ศ. 2447 - พ.ศ. 2450 [2]

หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต) [3] พระบิดาเรียกท่านว่า "กลาง" [4]

หม่อมราชวงศ์สท้าน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปศึกษาวิชาทหารบกที่เดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นเวลา 11 ปี เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ อายุ 27 ปี และเข้ารับราชการจนได้เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น "หม่อมชาติเดชอุดม" หม่อมราชินิกุล และเป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหาร [2]

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อ พ.ศ. 2453 [2] ในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงคมนาคม ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ โดยรวมกระทรวงเกษตราธิการ กับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม เป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ [5]

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ และท้าววนิดาพิจาริณี เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในระหว่าง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ไปปฏิบัติราชการ ตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา [6]

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสายปัญญา โดยเมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ สิ้นพระชนม์ ท่านเป็นต้นคิดในหมู่ทายาท ให้นำวังของพระบิดา มาก่อตั้งเป็นสถานศึกษาสำหรับสตรี โดยได้รับพระราชทานนามโรงเรียนจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2459

เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ด้วยไข้มาลาเรีย เบาหวาน และโรคหัวใจ [7] ศิริอายุรวม 74 ปี

[แก้] บุตร-ธิดา

หม่อมราชวงศ์สท้าน สมรสกับ ท่านผู้หญิงวงศานุประพัทธ์ นามเดิม นางสาวตาด สิงหเสนี (เป็นธิดา พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (เอม สิงหเสนี) กับคุณหญิงขลิบ) [8] มีบุตร-ธิดา 6 คน คือ

หม่อมราชวงศ์สท้านมีบุตร-ธิดากับ ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) นามเดิม บาง สุจริตกุล ได้แก่

บุตร-ธิดา ที่เกิดกับภรรยาอื่นๆ ได้แก่ [8]

  • หม่อมหลวงชื่น สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงทัยเกษม สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงกมล สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงสารภี สนิทวงศ์ (ท่านผู้หญิงสารภี มิ่งเมือง) เกิดจาก อุบะ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  • หม่อมหลวงสงบ (จู๊ด) สนิทวงศ์ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ หนังสือ "ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์)" โดยข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ระบุว่าเกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2409
  2. ^ 2.0 2.1 2.2 เอนก นาวิกมูล. ลิ้นชักภาพเก่า ประมวลภาพ จากคอลัมน์เปิดกรุภาพเก่าในนิตยสารแพรวรายปักษ์ และคอลัมน์ลิ้นชักภาพเก่าในวิทยาจารย์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2550. 392 หน้า. ISBN 978-974-94365-2-3
  3. ^ http://web.schq.mi.th/~afed/today/jun/jun.html
  4. ^ ข้าราชการในกรมรถไฟ และกองทางกรมโยธาเทศบาล, ประวัตินายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) , พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส 29 มีนาคม พ.ศ. 2484
  5. ^ http://www.fisheries.go.th/DOF_THAI/Intro/History/history_dof.htm
  6. ^ http://www.sf.ac.th/honour/honour.htm
  7. ^ http://thainews.prd.go.th/rachinephp/queen4.html
  8. ^ 8.0 8.1 อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
Crystal Clear app Login Manager.png เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ