ประเทศโครเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Republika Hrvatska
เรพูบลีคา เฮอร์วัตสคา
สาธารณรัฐโครเอเชีย
ธงชาติโครเอเชีย ตราแผ่นดินของโครเอเชีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติLijepa naša domovino
ที่ตั้งของโครเอเชีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ซาเกร็บ

45°48′N 16°0′E

ภาษาทางการ ภาษาโครเอเชีย1
รัฐบาล สาธารณรัฐ
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
สเตียพัน เมซิช
ยาดรันกา โคซอร์
ได้รับเอกราช
  วันที่ จาก ยูโกสลาเวีย
25 มิถุนายน พ.ศ. 2534 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 56,542 กม.² (ลำดับที่ 124)
 -  พื้นน้ำ (%) 0.01
ประชากร
 -  ก.ค. 2547 ประมาณ 4,496,869 (อันดับที่ 117)
 -  2544 สำรวจ 4,437,460 
 -  ความหนาแน่น 83/กม.² (อันดับที่ 116)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 55.638 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 72)
 -  ต่อประชากร 12,364 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 56)
HDI (2546) 0.841 (สูง) (อันดับที่ 45)
สกุลเงิน คูนา  (HRK)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  ฤดูร้อน (DST) CEST (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต .hr
รหัสโทรศัพท์ +385
1ใช้ภาษาอิตาลีในเทศมณฑลอิสเตรียด้วย

ประเทศโครเอเชีย หรือ สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia) เป็นประเทศรูปเสี้ยววงเดือนในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต

เนื้อหา

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

โครเอเชียแบ่งออกเป็น 20 เทศมณฑล (counties - županija) กับ 1 เขตเมืองหลวง* จัดกลุ่มรายชื่อโดยแบ่งตามภูมิภาคทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์:

ภูมิภาคเซนทรัลโครเอเชีย (Central Croatia)
1. ซาเกร็บ (Zagreb)
2. คราพีนา-ซากอเรีย (Krapina-Zagorje)
3. ซีซาค-มอสลาวีนา (Sisak-Moslavina)
4. คาร์โลวัตส์ (Karlovac)
5. วาราชดีน (Varaždin)
6. คอพรีฟนีตซา-ครีเชฟต์ซี (Koprivnica-Križevci)
7. บีเยลอวาร์-บีลอกอรา (Bjelovar-Bilogora)
8. เมดจีมูเรีย (Međimurje)
9. ซาเกร็บ* (Zagreb)

ภูมิภาคอิสเตรีย นอร์เทิร์นซีโคสต์ และเมาน์เทนัสโครเอเชีย (Istria, Northern seacoast and Mountainous Croatia)
10. พรีมอเรีย-กอร์สกีคอตาร์ (Primorje-Gorski Kotar)
11. ลีคา-เซนย์ (Lika-Senj)
12. อิสเตรีย (Istria)

ภูมิภาคสลาโวเนีย (Slavonia)
13. วีรอวีตีตซา-พอดราวีนา (Virovitica-Podravina)
14. พอเชกา-สลาโวเนีย (Požega-Slavonia)
15. บรอด-พอซาวีนา (Brod-Posavina)
16. โอซีเยก-บารานยา (Osijek-Baranja)
17. ซีร์เมีย (Vukovar-Syrmia)

ภูมิภาคดัลเมเชีย (Dalmatia)
18. ซาดาร์ (Zadar)
19. ชีเบนิค-คนีน (Šibenik-Knin)
20. สปลิต-ดัลเมเชีย (Split-Dalmatia)
21. ดูบรอฟนิก-เนเรตวา (Dubrovnik-Neretva)

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

โครเอเชียตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคยุโรปกลาง ภูมิภาคยุโรปใต้ และภูมิภาคยุโรปตะวันออก รูปร่างของประเทศคล้ายกับพระจันทร์เสี้ยวหรือเกือกม้า ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ได้แก่ สโลวีเนีย ฮังการี เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และอิตาลี (อีกฟากหนึ่งของทะเลเอเดรียติก) โดยแผ่นดินใหญ่ของโครเอเชียถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนไม่ติดต่อกันโดยชายฝั่งทะเลสั้น ๆ ของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา รอบ ๆ เมืองเนอุม (Neum)

ภูมิประเทศของโครเอเชียมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

  • ที่ราบ ทะเลสาบ และเนินเขา ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (ภูมิภาคเซนทรัลโครเอเชียและสลาโวเนีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบแพนโนเนีย)
  • ภูเขาที่มีป่าไม้หนาแน่นในภูมิภาคลีคาและกอร์สกีคอตาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดินาริกแอลป์
  • ชายฝั่งทะเลเอเดรียติกที่เต็มไปด้วยโขดหิน (ภูมิภาคอิสเตรีย นอร์เทิร์นซีโคสต์ และดัลเมเชีย)

[แก้] เศรษฐกิจ

สินค้าส่งออก อุปกรณ์ขนส่ง สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อาหาร เชื้อเพลิง

[แก้] ประชากร

4.49 ล้านคน (พ.ศ. 2550)

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น