สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Princess Chulabhorn.jpg
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระนามเต็ม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระอิสริยยศ เจ้าฟ้า
ฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
พระราชวงศ์ไทย
Emblem of the House of Chakri.svg

ศาสตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์เล็กใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิตสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีพระธิดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหา

[แก้] การศึกษา

ทรงได้รับรางวัลเรียนดีตลอดระยะเวลา ๔ ปีการศึกษา และทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาอินทรีย์เคมีด้วย

เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เมื่อทรงมีพระดำริถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจึงอนุมัติให้ทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้โดยไม่ต้องผ่านมหาบัณฑิตก่อน ทรงศึกษาด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นที่ยิ่ง ทั้งที่มีพระราชกิจในฐานะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ยังเสด็จพระดำเนินไปทรงพระอักษรร่วมกับพระสหายในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทรงงานในห้องแล็บด้วยพระองค์เองอย่างไม่ทรงท้อถอย แม้จะทรงแพ้สารเคมีก็ตาม โดยทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds" และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

[แก้] พระกรณียกิจ

[แก้] สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข และความเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เรื่องการ ขาดแคลนบุคคลากรด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขโดยเฉพาะ ความต้องการการสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย

ต่อมาทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตลอดไป

ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๘

และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง ประกอบกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ

นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ(Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ ในระดับเซลล์เมตาบอลิสม์ ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่างอื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ

นอกจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทยอีกด้วย

การเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ทรงมีภารกิจมากกว่าคนสามัญทั่วไป แต่พระองค์ก็ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆให้สำเร็จด้วยดี และที่สำคัญงานทั้งหมดของพระองค์ล้วนเป็นผลจากความมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษยชาติ ความรัก ความยกย่อง และความศรัทธาที่พสกนิกรมีต่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จึงเกิดขึ้นด้วยพระกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์ด้วย พระเมตตาธรรมและพระจริยาวัตร อันงดงามของพระองค์โดยแท้

[แก้] มูลนิธิ/โครงการในพระอุปถัมภ์

  • มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก
  • โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร
  • โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
  • สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

[แก้] พระเกียรติยศ

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้] ตำแหน่งทางวิชาการ

[แก้] พระยศทางทหาร

  • พ.ศ. ๒๕๒๒ ร้อยโทหญิง เรือโทหญิง เรืออากาศโทหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกัดกองพันทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษประจำกองทัพเรือ และนายทหารพิเศษประจำกองทัพอากาศ [8]
  • พ.ศ. ๒๕๒๔ ร้อยเอกหญิง เรือเอกหญิง เรืออากาศเอกหญิง[9]
  • พ.ศ. ๒๕๒๖ พันตรีหญิง นาวาตรีหญิง นาวาอากาศตรีหญิง[10]
  • พ.ศ. ๒๕๒๘ พันโทหญิง นาวาโทหญิง นาวาอากาศโทหญิง[11]
  • พ.ศ. ๒๕๒๙ ศาสตราจารย์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทางอากาศ[12]
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ พันเอกหญิง นาวาเอกหญิง นาวาอากาศเอกหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ และประจำกรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[13]
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ พลตรีหญิง พลเรือตรีหญิง พลอากาศตรีหญิง[14]และศาสตราจารย์พิเศษ ประจำกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม และนายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน (สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน)
  • พ.ศ. ๒๕๓๙ พลโทหญิง พลเรือโทหญิง พลอากาศโทหญิง[15]อาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ อาจารย์พิเศษ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองทัพอากาศ และอาจารย์พิเศษ ประจำกองการศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ
  • พ.ศ. ๒๕๔๒ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง[16]และรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์ กองทัพอากาศ[17]

[แก้] พระเกียรติคุณ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และทรงเป็นผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างดียิ่ง

[แก้] รางวัลในระดับนานาชาติ

  • พ.ศ. ๒๕๒๙ - เหรียญทองคำอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการ และการส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นบุคคลที่ ๓ ของโลกและเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลนี้

โดย The World Conservation Union ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นการยกย่องที่ทางทำคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดยการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อม ให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาแบบยั่งยืน

จากผลของการทรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในแวดวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ คณะกรรมการรางวัลฮอลแลนเดอร์ จึงมีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับประจำ ปี ค.ศ.๒๐๐๒

  • พ.ศ. ๒๕๔๗ - รางวัลสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก

โดยสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (IUCN The World Conservation Union) สวิตเซอร์แลนด์

โดย Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS) เป็นรางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยของสารเคมีแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศในภูมิภาค

เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลด้านวิทยาศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญและทำคุณประโยชน์อย่างสูงแก่วงการอินทรีย์เคมี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก Nagoya University เมือง Okinawa ประเทศญี่ปุ่น

  • พ.ศ. ๒๕๕๒ - รางวัล Windaus Medal ด้านอินทรีย์เคมี

โดย Georg-August-Universität Göttingen และสมาคมเคมีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในโอกาสการจัดสัมมนา "Adolf-Windaus-Genachtnis-Lecture" ประจำปี ๒๐๐๙ ในฐานที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นอกจากมีผลงานวิจัยและงานวิชาการในด้านอินทรีย์เคมี แล้วยังทรงพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าของสาขาวิชานี้อย่างมาก

  • พ.ศ. ๒๕๕๒ - รางวัล Ramazzini Award ด้านเวชศาสตร์อาชีวะและสิ่งแวดล้อม

โดย Collegium Ramazzini สาธารณรัฐอิตาลี โดยมอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติที่มีผลงานโดดเด่นทั้งด้านงานวิจัย วิชาการด้านเวชศาสตร์อาชีวะ และสิ่งแวดล้อม ที่มีผ่านมีผู้ได้รับรางวัลแล้ว ๓๒ คน ซึ่งในโอกาสนี้ทรงปาฐกถาให้หัวข้อ "Cancer Risk from Exposure to Air Polution"

[แก้] สถานที่ และพันธุ์สัตว์อันเนื่องด้วยพระนาม

[แก้] สถานที่

การแพทย์ และการสาธารณสุข
สถาบันการศึกษา

[แก้] พันธุ์สัตว์

[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระชนกชู
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
พระชนนีคำ
พระชนนี:
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมเจ้าอัปสรสมาน เทวกุล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมหลวงบัว กิติยากร
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท้าววนิดาพิจาริณี

[แก้] อ้างอิง

http://webboard.mthai.com/5/2006-05-10/232968.html

ภาษาอื่น