บลูส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บลูส์
แนวเพลงแม่แบบ: ดนตรีโฟล์ก แอฟริกัน อเมริกัน , เวิร์กซองส์, โฟล์ก, คันทรี
แหล่งกำเนิดแนวเพลง: ปลายศตวรรษที่ 19 ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา
เครื่องดนตรี: กีตาร์ - เปียโน - ฮาร์โมนิกา - กีตาร์เบส - กลอง - แซกโซโฟน - เสียงร้อง - ทรัมเป็ต - ทรอมโบน
กระแสความนิยม: ได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 20 ในอเมริกา
แนวเพลงที่ได้รับอิทธิพล: แจ๊ซ, อาร์แอนด์บี, ร็อกแอนด์โรล
แนวเพลงย่อย
คลาสสิกฟีเมลบลูส์ - คันทรีบลูส์ - เดลตาบลูส์ - แจ๊ซบลูส์ - จัมป์บลูส์ - เปียโนบลูส์ - บูกี้-วูกี้
แนวเพลงผสม
บลูส์ร็อก - โซลบลูส์ - แจ๊ซบลูส์
แนวเพลงในประเทศต่าง ๆ
แอฟริกันบลูส์ - แอตแลนตาบลูส์ - บริติชบลูส์ - แคนาเดียนบลูส์ - ชิคาโกบลูส์ - ดีทรอยต์บลูส์ - อีสต์โคสต์บลูส์ - แคนซัสซิตีบลูส์ - ลุยเซียนาบลูส์ - เมมฟิสบลูส์ - นิวออร์ลีนบลูส์ - พีด์มอนต์บลูส์ - เซนต์หลุยส์บลูส์ - สแวมป์บลูส์ - เท็กซัสบลูส์ - เวสต์โคสต์บลูส์

บลูส์ (Blues) ซึ่งเป็นดนตรีที่คงรูปแบบเดิม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเพื่อการเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลงด้วยการร้อง หรือสวดอ้อนวอนในทางศาสนาที่ เป็นท่วงทำนองที่น่าเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์ของการร้องและท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่ไม่มีคุณภาพจากความแร้นแค้น และความรู้ในด้านทฤษฎีดนตรีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้มีเสียงหรือคอร์ดความเพี้ยนซึ่งต่อมาก็ได้สร้างความแปลกหู จนเป็นลักษณะและเอกลักษณ์เฉพาะ

ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันไดเสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี

ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น

ศิลปินบลูส์ที่น่าสนใจมีด้วยกันในหลายยุค เช่น BB.king ("You Know I Love You," "Woke Up This Morning," "Please Love Me,"), Muddy Waters, Buddy Guy, Stevie Ray Vaughan, Eric Clapton, John Lee Hooker,Jimi Hendrix

ที่มาของคำว่า บลูส์ ในภาษาอังกฤษ blues หมายถึง อาการโศกเศร้า ในประโยคเช่น I feel blues.

Crystal kcmmidi.png บลูส์ เป็นบทความเกี่ยวกับ เพลง ดนตรี หรือ เครื่องดนตรี  ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ บลูส์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดนตรี