สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Akihito 090710-1600b.jpg
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต
พระอิสริยยศ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
ราชวงศ์ ราชวงศ์ญี่ปุ่น
ระยะครองราชย์ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ
พระราชวงศ์ญี่ปุ่น
Imperial Seal of Japan.svg

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ



เจ้าฟ้าชายมิกะซะ
เจ้าฟ้าหญิงมิกะซะ

    


สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโต (ญี่ปุ่น: 明仁 Akihito ?) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น และเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 125 ตั้งแต่โบราณกาลของญี่ปุ่น ในปัจจุบันนี้พระองค์ทรงเป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในโลกที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิ

ในญี่ปุ่น การเอ่ยถึงพระจักรพรรดิ จะเรียกพระนามของพระองค์โดยตรงไม่ได้ เช่นเดียวกับในประเทศไทย แต่จะเอ่ยถึงพระองค์ว่า เทนโน เฮคะ (ญี่ปุ่น: 天皇陛下 tennō heika ?) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิ และรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตจะเรียกว่า ยุคเฮเซ (ญี่ปุ่น: 平成 Heisei ?) หลังจากที่สิ้นยุคของพระองค์แล้ว เราก็อาจจะขนานพระนามพระองค์ว่า จักรพรรดิเฮเซ

เนื้อหา

[แก้] พระราชประวัติ

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต พระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2476พระราชวังอิมพีเรียล กรุงโตเกียว พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอลำดับที่ 5 ใน 7 พระองค์ ของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต (จักรพรรดิโชวะ) และสมเด็จพระจักรพรรดินีนางาโกะ (จักรพรรดินีโคจุน) แต่ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์โต พระองค์ทรงดำรงพระยศเดิมเป็น เจ้าชายสึงุ (ญี่ปุ่น: 継宮 Tsugu-no-miya ?)

อนึ่ง สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์นี้ทรงเป็นพระญาติของ เจ้าหญิงบังจา (เกาหลี: 방자) มกุฎราชกุมารีองค์สุดท้ายของราชวงศ์เกาหลี

ตามลำดับการสืบสันตติวงศ์ของญี่ปุ่น พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทอันดับ 1 ของราชบังลังก์เบญจมาศตั้งแต่ประสูติ และทรงเข้าพระราชพิธีแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร (ญี่ปุ่น: 立太子の礼 Rittaishi-no-rei ?) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494

ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2502 มกุฎราชกุมารอากิฮิโตทรงอภิเษกสมรสกับนางสาวมิชิโกะ โชดะ การอภิเษกสมรสครั้งนี้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้ญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นการอภิเษกของสตรีสามัญชนครั้งแรกกับราชวงศ์ญี่ปุ่น ทำให้นางสาวโชดะกลายเป็น มกุฎราชกุมารีมิชิโกะ

ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าชายอากิฮิโต มกุฎราชกุมาร ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 125 ของญี่ปุ่นต่อทันที ตามโบราณราชประเพณี และมีการมอบของสามสิ่งในพระราชพิธีนั้น

ในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เข้าพระราชพิธีอภิเษกเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าหญิงมิชิโกะ มกุฎราชกุมารี ขึ้นเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ

[แก้] พระราชโอรสและพระราชธิดา

สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 3 พระองค์ ได้แก่

[แก้] พระอัจฉริยภาพทางด้านมีนวิทยา

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต และ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย ทรงฉายพระรูปร่วมกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี (ประทับยืนอยู่ทางซ้ายสุดของรูป)

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำผู้หนึ่ง ทรงศึกษาวิชามีนวิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย Gakushuin กรุงโตเกียว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร ได้ทรงเสด็จมายังประเทศไทย และทรงทูลเกล้าถวายปลานิลจำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งการทดลองเลี้ยงนับว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง จนปัจจุบัน ปลานิลกลายเป็นหนึ่งในปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย โดยก่อนหน้านั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถทรงนำ เจ้าชายอากิฮิโต มกุฎราชกุมารญี่ปุ่น และเจ้าหญิงมิชิโกะ พระชายา (พระอิสริยยศขณะนั้น) ได้เสด็จทอดพระเนตรกิจการ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2507

นอกจากนี้แล้ว ยังทรงค้นพบปลาในตระกูลปลาบู่ทะเลชนิดใหม่ ต่อมาได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Exyrias akihito ซึ่งชื่อสายพันธุ์ของปลาชนิดนี้ได้ถูกตั้งตามพระนามของพระองค์ด้วย

[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของ สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
พระชนก:
สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
พระสนมยะนะงิวะระ นะรุโกะ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าชายคุโจ มิชิทะกะ แห่งตระกูลฟูจิวาระ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
คุณหญิงอิกุโกะ โนะมะ
พระชนนี:
สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าชายคุนิโยะชิ คุนิ
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าชายอะซะฮิโกะ คุนิ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
คุณหญิงมะกิโกะ อิซุเมะ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าหญิงชิมะสุ ชิกะโกะ แห่งซัตสึมะ
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าชายชิมะสุ ทะดะโยะชิ
ไดเมียวคนที่ 29 และคนสุดท้ายแห่งซัตสึมะ, โอซุมิ และเฮียวกะ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
คุณหญิงซุมะโกะ ฮิโระ

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ สมัยถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ 2leftarrow.png จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น (ยุคใหม่)
(พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน)
2rightarrow.png -