พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตราสัญลักษณ์
พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑
ชื่อ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑
วันและเวลา ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
สถานที่ Flag of ไทย กรุงเทพมหานคร, พระนครศรีอยุธยา
ผู้จัด รัฐบาลไทย
โอกาส การเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ในรัชกาลที่ ๙ เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในประวัติศาสตร์ชาติไทย นับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ถึงวันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ เป็นเวลา ๔๒ ปี ๒๓ วัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมี หมายกำหนดการจัดงาน พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ระหว่างวันที่ ๒, ๓ และ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ รวมทั้งสิ้น ๓ วัน

พระราชพิธีนี้ รัฐบาล สมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และ ประชาชนชาวไทย ร่วมกันจัดขึ้น ดังปรากฏเป็นเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้

เนื้อหา

[แก้] วันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อทรงบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปปางประจำรัชกาล สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี ที่หอพระราชกรมานุสร และ พระพุทธรูปปางประจำรัชกาล สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่หอพระราชพงศานุสร

[แก้] วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในการพระราชพิธีสมโภชสิริราชสมบัติ รัชมังคลาภิเษก

[แก้] วันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่ง ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

[แก้] ตราสัญลักษณ์

ดูรายละเอียดที่ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก

[แก้] ของที่ระลึก

[แก้] ราชมังคลากีฬาสถาน

ดูรายละเอียดที่ ราชมังคลากีฬาสถาน

[แก้] โรงเรียนรัชมังคลาภิเษก

รัฐบาลจัดตั้งโรงเรียนระดับสามัญศึกษาเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมหามงคลนี้ มีดังนี้

[แก้] ดูเพิ่ม