พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Princess Saom.jpg
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
พระนามเต็ม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
พระอิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระวรราชาทินัดดามาตุ
ฐานันดรศักดิ์ พระองค์เจ้า
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
พระราชวงศ์ไทย
Emblem of the House of Chakri.svg

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (Her Royal Highness Princess Soamsavali) พระนามเดิม หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร ประสูติเมื่อวันเสาร์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500โรงพยาบาลกายส์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นธิดาคนโตของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล) ทรงมีพระขนิษฐาคือ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (จิราธิวัฒน์) [1]

เนื้อหา

[แก้] พระประวัติ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระนามเดิม หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร ประสูติเมื่อวันเสาร์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500โรงพยาบาลกายส์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นธิดาคนโตของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับ ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล) พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาคือ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (จิราธิวัฒน์)

หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนจิตรลดา ต่อมาเมื่อหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ ย้ายมาเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2510 ก็ได้ทรงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ด้วย โดยได้ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประกอบพิธีหมั้น ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต [2]

วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วังสระปทุม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร[3] ในการนี้ได้เสด็จออก ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และสีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ปราสาท เพื่อรับการถวายพระพรชัยมงคล

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ทรงพระประสูติกาลพระธิดา คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา [4]

โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศเฉลิมพระนาม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534[5] โดยสร้อยพระนาม "พระวรราชาทินัดดามาตุ" หมายถึง "พระมารดาของพระราชนัดดาพระองค์แรกแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐ"

[แก้] พระอิสริยยศ

[แก้] พระกรณียกิจ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจด้านต่างๆ แบ่งเบาพระราชภาระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในการเสด็จแทนพระองค์ไปทรงประกอบพระกรณียกิจต่างๆ จนลุล่วงด้วยดี สมกับที่ทรงวางพระราชหฤทัยตลอดมา

[แก้] โครงการ/มูลนิธิในพระอุปถัมภ์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงมีความสนพระทัยในด้านสังคมสงเคราะห์ และการสาธารณสุข ทรงรับโครงการต่าง ๆ ของสภากาชาดไทย ไว้ในพระอุปถัมภ์หลายโครงการ และทรงจัดตั้งมูลนิธิและโครงการส่วนพระองค์อีกหลายโครงการ อาทิ

  • มูลนิธิศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
  • มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก
  • มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของศาลเยาวชนและครอบครัว
  • มูลนิธิบ้านบางแค
  • มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย
  • มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก ของศาลเยาวชนและครอบครัว
  • โครงการช่วยลดการติดเอสด์จากแม่สู่ลูก สภากาชาดไทย
  • โครงการคืนชีวิตให้พ่อแม่เพื่อลูกน้อยที่ติดเอดส์
  • กองทุนยาพระวรราชาทินัดดามาตุ สำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์ สภากาชาดไทย
  • กองทุนนมสำหรับเด็กในโครงการช่วยลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก
  • กองทุนโรคมะเร็งในเด็ก ในพระอุปถัมภ์
  • สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี

[แก้] เครื่องอิสริยาภรณ์

[แก้] พรรณพืช และสถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม

"อักษรพระนาม สส"
  • กล้วยไม้โสมสวลี

มีลักษณะลำต้นขนาด กะทัดรัด สูง 40-50 เซนติเมตร ดอกมีสีม่วงครามอ่อน มีลายเส้นสีขาวอ่อนๆ แฝงอยู่ในกลีบ เมื่อดอกเริ่มบานใหม่ๆจะมีสีเข้ม แต่เมื่อบานเต็มที่สีม่วงของดอกจะสว่างขึ้น ส่วน คอดอกเป็นสีขาว ก้านช่อของดอกไม่ยาวมาก ปลูกเลี้ยงง่าย หากหน่อสุดแล้ว จะออกดอกตลอดทั้งปี จึงเหมาะนำไปทำเป็นกล้วยไม้ประดับชนิดตั้งแสดงทั้งต้นและดอก




[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระชนก:
หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล
กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
หม่อมหลวงบัว กิติยากร
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์
(หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
ท้าววนิดาพิจาริณี
(บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)
พระชนนี:
ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร
กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
นางยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

[แก้] อ้างอิง


Crystal Clear app Login Manager.png พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น